มังกรต่างถิ่นฤาจะสู้งูดินได้


ผู้บริหารที่ตกรุ่น มักจะมีนิสัยเผด็จการ นิยมสร้างจัดหาวัตถุ ทำตัวยิ่งใหญ่ และมุ่งสร้างสถิตินิยม

        ผมได้ฟังอดีตผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการท่านหนึ่ง วิพากษ์การบริหารงานในกระทรวงศึกษาธิการว่า ข้าราชการประจำต้องวิ่งตามนโยบายของรัฐมนตรีแต่ละยุคแต่ละสมัยมาโดยตลอด นักบริหารระดับสูงของกระทรวงจะเป็นตัวแทนรับลูกแล้วก็โยนลงไปสู่ระดับปฏิบัติ ซึ่งถนนทุกสายก็วิ่งไปที่สถานศึกษาที่เป็นหน่วยปฏิบัติท้ายสุด ที่ไม่รู้จะโยนต่อให้ใคร ก็ต้องโยนให้ครูในโรงเรียนนั่นแหละ ครูก็เลยต้องทิ้งห้องสอนมาทำงานสนองนโยบาย (ก็เลยไม่ได้เรื่องทั้งสองอย่าง) ถ้าผู้บริหารโรงเรียนบางคนจัดกระบวนทัพไม่เป็นก็จะทำแบบแยกส่วน เป็นเรื่องๆไป เพื่อโชว์ให้รอดตัวว่า “ฉันได้สนองนโยบายแล้วนะ”
           ในยุคนี้แม้จะมีเวลาบริหารสั้นเพียง 1 ปี ก็มีนโยบายออกมาหลายเรื่อง เรื่องเด่นๆที่วิจารณ์กันมากคือ เรื่อง
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ” และหลังสุดก็คือ “การปราบแป๊ะเจี๊ยะการฝากเด็ก”
          อดีตผู้บริหารฯท่านนี้ใช้คำกล่าวที่คมลึกว่า “มังกรต่างถิ่นฤาจะสู้งูดินได้ โดยท่านขยายความว่า ข้าราชการประจำ(งูดิน)อยู่กับพื้นที่ รู้สภาพทุกอย่าง พอคนนอกเข้ามา(มังกร)ประกาศนโยบายที่ไม่ดูสภาพบริบทให้ดี งูดินก็จะทำอย่างจำใจ (ให้ผ่านๆไป) พอพ้นยุคนี้ก็เลิกทำ
         ผมเคยเรียนกับท่าน
ศาสตราจารย์ ดร.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ท่านกล่าวว่า ปัญหาในการบริหารมี 3 อย่าง คือ ปัญหาเด่นชัด ปัญหาซ่อนเร้น และปัญหาอำพราง ปัญหา 2 ประการหลัง เป็นปัญหาที่ผู้บริหารต้องตรวจสอบให้ดี เพราะถ้ามองปัญหาไม่ชัด ก็จะเกิดความผิดพลาดในการบริหารอย่างมหันต์
         ท่านบอกเราอีกว่า ปัญหาทางการศึกษา ปัจจุบันมีประเด็นปัญหาที่ยากแก่การแก้ไขหลายเรื่อง เช่น การใช้คัมภีร์นิยม คือ
การสอนตามตำรา ไม่ส่งเสริมการคิดหรือบอนไซความคิดคน การพัฒนายังใช้วิธีการจุดพลุมากกว่าการซึมซับ (สร้างภาพ) ที่อันตรายมาก คือการมองสิ่งเดียวกัน แต่เห็นไม่เหมือนกัน และการมองด้วยตามากกว่าการมองด้วยสมอง พยายามชี้ให้เห็นของปลอมเป็นของจริง เป็นต้น
        
เพราะผู้บริหารที่ตกรุ่น มักจะมีนิสัยเผด็จการ นิยมสร้างจัดหาวัตถุ ทำตัวยิ่งใหญ่ และมุ่งสร้างสถิตินิยม

หมายเลขบันทึก: 81849เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2007 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีครับอาจารย์

อ่านบทความอาจารย์แล้วเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ผู้บริหารรับนโยบาลจากรัฐบาลกลางมา แล้วผู้บริหารก็ทำตามแบบไม่ลืมหูลืมตา ผู้บริหารบางคนนั้นไม่เคยเข้าใจถึงสภาพพื้นที่ ความเป็นอยู่อย่างอาจารย์บอกจริงๆครับ

อ่านแล้วนึกถึงเรื่องท่านมหาตมะคานธีครับ สมัยที่ท่านกลับจากแอฟริกาใต้ใหม่ๆ แล้วก่อนที่ท่านจะเข้าไปยุ่งกับการเมืองนั้นท่านได้นั่งรถไฟชั้นสาม ไปทั่วอินเดียเพื่อที่จะศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของคนอินเดีย ทำให้ท่านได้รู้เข้าใจคนอินเดียทุกภาค และเป็นที่รักของคนอินเดียทุกคน

ประเทศไทยนั้นต้องการทั้งนักการเมืองและข้าราชการแบบนี้มากๆ รักที่จะเรียนรู้ถึงคนที่อยู่ทุกภาค เพื่อที่จะหานโยบายที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและจุดแข็งของแต่ละท้องถิ่น

การศึกษาเป็นก้าวที่สำคัญครับ แต่การศึกษาเมืองไทยนั้นไม่ค่อยเน้นให้เด็กอยากรู้ (ไม่ต้องอยากเรียกก็ได้ครับ) ในเมื่อไม่เน้นให้เด็กอยากรู้แล้วจะทำให้เด็กอยากเรียนได้อย่างไรครับ

เมื่อก่อนนึกว่าเป็นครูจะสบาย  แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนความคิดโดยสิ้นเชิง  ราณีเห็นด้วยค่ะในการพัฒนาเด็กต้องให้เขาซึมซาบ  แต่พัฒนาผู้บริหารซิค่ะลำบากเพราะเขาไม่รู้หรอกค่ะว่าคนทำลำบากแค่ไหน ทำงานภาค ทำงานคณะ ช่วยโครงการนู้น นี้  พานักศึกษาไปดูงาน  ทำหลักสูตร(เพิ่งเสร็จ)  งานสอนก็ต้องให้ได้ดี  ไม่เคยขาดสอนเลยแม้แต่คาบเดียว  แต่คนนะค่ะ ทำทุกอย่างให้ดีทุกอย่างเป็นไปไม่ค่อยได้ ทุกวันนี้ก็ได้แต่บอกตัวเองว่าทำให้ดีที่สุด  จะได้ไม่มีใครมาว่าไล่หลังได้  แต่ก็ทำใจหลายต่อหลายครั่ง  บางครั้งก็รู้สึกท้อบ้าง เหนื่อยใจบ้าง  อยากลาออกหลาย ๆต่อหลายครั้ง แต่พอนึกถึงเด็กก็ใจเย็นลง  แต่ที่มาบอกไม่ใช่ว่าจะตัดพ้อนะค่ะ  คือปลงแล้วค่ะ  คงมีคนอื่นที่โดนมากกว่าเราเขายังทนได้  ราณีก็ต้องสู้ค่ะ  (แอบให้กำลังใจตัวเอง)

    ติดตามอ่านด้วยความเห็นร่วม และเป็นกำลังใจให้อาจารย์ สำเร็จประโยชน์จากการกระตุ้น บอกเตือนเพื่อนพ้องในวงการให้ ฉุกคิด และเริ่มต้น ปรับปรุง แก้ไข อะไรๆ ให้เข้าทาง เป็นเหตุเป็นผล และใช้ปัญญากันให้ได้มากขึ้นครับ
  • ตามมาอ่านทุกครั้งถึงแม้จะไม่ได้แสดงความคิดเห็นไว้ครับอาจารย์
  • คาดว่า การศึกษาไทย อ่อนแอเกินไปครับ
  • เอาอันนี้มาฝากเผื่ออาจารย์จะได้มีกำลังใจมากขึ้น
  • ที่นี่ครับ
  • ขอบคุณครับ
     สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงฯ พระองค์ใช้การเสด็จประพาสต้น เพื่อศึกษาสภาพความเป็นจริงของบ้านเมือง
     ผู้บริหารเรายังถนัดบริหารในแนวตั้ง(สั่ง)มากกว่าแนวราบ จึงมีคำพูดเรียกกันติดปากว่า "นาย" กันเต็มบ้านเต็มเมือง  วัฒนธรรม "KM" จึงเข้าถึงระบบราชการยากมากครับ
    ฝากบทกลอนของหลวงวิจิตรวาทการให้อาจารย์ราณี เพื่อเป็นกำลังใจครับ
     "สุขของฉันอยู่ที่งานหล่อเลี้ยงจิต
      สุขของฉันอยู่ที่คิดสมบัติบ้า(งาน)
      คิดทำโน่นทำนี่ทุกเวลา
      เมื่อเห็นงานก้าวหน้าก็สุขใจ
      งานยิ่งมีมากจริงยิ่งเป็นสุข
      งานยิ่งชุกมันสมองยิ่งผ่องใส
      เมื่องานทำได้เสร็จสำเร็จไป
      ก็สุขใจปลาบปลื้มลืมทุกข์ร้อน"

กราบขอบพระคุณอาจารย์ธเนศมากค่ะที่ให้กำลังใจ

การบริหารแนวราบเข้ามาสู่รูปแบบการบริหารสมัยใหม่ในยุคของผู้บริหารมืออาชีพ รุ่นใหม่ ซึ่งได้พบปะแลกเปลี่ยนด้านการบริหารสถานศึกษาที่ควรแปรเปลี่ยนปรับปรนเป็นการบริหารแนวราบตามหลักการสมัยใหม่   แต่กลับพบว่า...เพื่อนครูไม่พร้อมในการรับปฏิบัติเนื่องจากเคยชินและจากงานวิจัยหลายฉบับยังพบว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงการสอนแนวยุคการปฏิรูปเลย การสอนไม่ได้คำนึงถึงศักยภาพนักเรียน ไม่หลากหลายๆ ไม่เข้าใจหน้าที่ของครู มาตรา 22 มาตรา 30 ไม่รู้ไม่ชี้ ซึ่งส่วนหนึ่งท่านเองต้องยอมรับว่าจริงเนื่องจากระบบหน่วยเหนือเองยังเห็นโรงเรียนเป็นหน่วยสุดท้ายของผลลัพท์การปฏิบัติ ปัจจัยนำเข้ายังคงเดิม หน่วยเหนือปฏิบัติเดิมๆ แต่หวังผลสุดท้ายให้เป็นตามบริบทที่การปฏิรูปการศึกษาต้องการให้เกิดที่โรงเรียน พบว่า...ยากมาก ใครใคร่ทำ...ทำ ใครไม่อยากทำแล้วจะทำไม เคยพบบ้างหรือยังคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท