ดูคลื่น ในอ่าวไทย อันดามัน สี่วันล่วงหน้า (อัพเดตรายวัน)


ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา ตอน Virtual Wave 3D

สวัสดีครับ

      วันนี้ขอเสนอ ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา ตอน Virtual Wave 3D โปรแกรม VirtualWave3D เป็นโปรแกรมแสดงผลคลื่นสามมิติในอ่าวไทยและอันดามัน โดยผ่านการคำนวณด้วย WAM Model ซึ่งกรมอุตุจะรันโมเดลคลื่นทุกวันและใช้โปรแกรม VirtualWave3D แสดงผลทุกวัน โดยตัวโปรแกรมแสดงผลได้รับพัฒนาร่วมกัน ระหว่าง สมพร ช่วยอารีย์ มอ.ปัตตานี กับ ดร. วัฒนา กันบัว จากกรมอุตุนิยมวิทยา

      การแสดงผลอาจจะเป็นประโยชน์กับชาวประมงในการออกเรือ ตลอดจนนักท่องเที่ยว ท่านจะสังเกตเห็นว่า หากท่านเห็นคลื่นเป็นสีแดงแล้วเห็นตัวเลขที่บาร์ซ้ายมือสูงๆ นั่นคือ จะมีคลื่นลมแรงในทะเล หากมีพายุเข้าในอ่าวไทยท่านจะเห็นการเคลื่อนที่ของพายุ

      โปรแกรม VirtualWave3D ถูกพัฒนาและเขียนโปรแกรมด้วย Delphi ผสมกับการใช้ไลบรารี่ OpenGL (Open Graphic Library) ในการวาดภาพสามมิติ

      ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมพัฒนา http://www.marine.tmd.go.th 

 (สำหรับภาพเคลื่อนไหวด้านล่างนี้หากมันมาช้า กรุณารอจนข้อมูลโหลดมาจนหมดแล้วภาพเคลื่อนไหวจะต่อเนื่องครับ)

  • SWH = Significant Wave Height  มีหน่วยเป็น เมตร
  • ลูกศรสีแดงในทะเล นั่นคือทิศทางคลื่นครับ
    ตำแหน่งที่ธงชาติไทยปักอยู่นั่นคือ เป็นตำแหน่งที่แสดงที่บาร์ด้านบน เพื่อจะบอกว่าตอนนี้ ธงปักอยู่ที่ ลองกิจูด ละติจูดใด และจะมีขีดแสดงว่าคลื่นสูงที่ตำแหน่งนั้นในเวลาต่างๆ โดยดูได้ที่บาร์ด้านซ้ายมือจะมีขีดตัวชี้วิ่งขึ้นลงครับ

ข้อมูลในหน้านี้จะเปลี่ยนและถูกอัพเดตทุกวันครับ ท่านสามารถเข้ามาดูได้ หรือไปดูที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้เช่นกันครับ  หากมีประเด็นใดสงสัยท่านสามารถฝากข้อความไว้ได้นะครับ

ด้วยความเคารพ

สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 81833เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2007 07:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

             เป็นความรู้ใหม่ เห็นว่าข้อมูลนี้เป็นประโยชน มีคุณค่ามาก ภาคใต้เราจดทะเลทั่งสองฝั่ง ทำอย่างไรข้อมูลนี้จะเชื่อมต่อให้ อบต.เทศบาล อบจ.หรือจังหวัด อำเภอ ขึ้นจอให้ประชาชนได้ดูกันสดๆตามชุมชนต่างๆ ถ้ามีงบนะครับ

         ขอบคุณที่สร้างนวัตกรรมนี้มาเป็นประโยชน์กับมนุษยชาติ

สวัสดีครับ ครูนงที่เคารพ

  • หากมีจอที่ต้องการแสดงเพื่อเตือนภัย ก็สามารถต่อออกหน้าจอได้ครับ จะมีประโยชน์ในการเตือนภัยครับ โดยอาจจะแสดงไปดึงภาพมาแสดงได้ด้วยตรงเลยนะครับมีภาพอยู่หลายมุมมองนะครับ ที่ผมแสดงในที่นี่มีเพียงมุมมองเดียวครับ
  • มุมมองจากทิศตะวันออกเฉียงใต้http://www.marine.tmd.go.th/dev-wave01.html  และ http://www.marine.tmd.go.th/dev-wave02.html
  • มุมมองจากตะวันตกเฉียงเหนือ http://www.marine.tmd.go.th/dev-wave03.html และ http://www.marine.tmd.go.th/dev-wave04.html
  • มุมมองจากด้านบนครับ http://www.marine.tmd.go.th/dev-wave05.html
  • สำหรับข้อมูลภาพอื่นๆ ก็ไปดูได้ที่ www.marine.tmd.go.th ซึ่งก็จะมีการอัพเดตทุกวันนะครับ
  • ข้อมูลมีเยอะครับ เพียงแต่การแสดงผลที่ทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายและเร็วเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนทั่วไปครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการติดตั้งการออกจอ ก็สอบถามได้นะครับ แต่รบกวนบอกเครื่องไม้เครื่องมือที่มีมาด้วยนะครับ ผมว่าบริเวณตำบล หากมีคนประกาศข่าวหรือรายงานข่าวตอนเช้า ก็สามารถดูคลื่นแล้วรายงานให้ชาวบ้านฟังก็ได้ครับ ให้ทราบโดยทั่วกัน
  • อันนี้ตัวอย่างพายุนะครับ http://www.iwr.uni-heidelberg.de/groups/ngg/People/schuai/Somporn.NET/virtualwave/muifah.html ด้านล่างมีลิงก์ให้คลิกนะครับ ที่เคยเข้ามาโจมตีในอ่าวไทยนะครับ แฟ้มอาจจะใหญ่หน่อยครับ เพราะภาพ animation

ขอบคุณมากครับ

เม้ง

แนะเพิ่มเติมนะครับ

  • หากมีหน้าจอตามที่ต่างๆ อยู่แล้วนะครับ ที่มีการใช้โฆษณา โดยเอาภาพนี้ผ่านคอมแล้วแปลงไปยังหน้าจอตามจุดต่างๆได้ครับ
  • สำหรับหอกระจายข่าวก็สามารถทำได้ครับ หรือตามแหล่งชุมชนต่างๆ ที่เสี่ยงภัยนะครับ ไว้ผมจะเอาอีกตัวมาเสนอในโอกาสต่อไปครับ ในการดูเมฆด้วยครับ ดูทั้งในทะเลและในอากาศครับผม
  • ขอให้สนุกในการทำงานนะครับ
ขอบคุณครับ
   ตื่นเต้น + ดีใจ ความรู้ใดๆจะมีคุณค่าอะไรถ้าไม่ได้นำมาบูรณาการเพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ แก้ปัญหาที่เรากำลังเผชิญกันอยู่
   ขอให้งานก้าวหน้าและ มีความสำเร็จยิ่งๆขึ้นครับ

ขอบคุณครับ อาจารย์แฮนดี้

    เห็นด้วยครับ กับการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ครับ เป็นการดึงให้หอคอยลงมาต่ำลงครับ ขอบคุณมากครับ สำหรับคำอวยพรดีๆครับ และร่วมพัฒนาด้วยกันครับ

รู้สึกว่าน่าจะมีคนเอาไปใช้ประโยชน์จริงจังได้นะคะ เห็นด้วยกับครูนงที่จะช่วยประชาสัมพันธ์นะคะ

ขอบคุณคุณเม้งที่นำมาบอกเล่าค่ะ ยอดเยี่ยมมาก เก่งหลายอย่างจริงๆค่ะ ทึ่งจัง

  • P
    ขอบคุณพี่โอ๋มากครับผม ปกติจะมีความสำคัญมากตอนที่พายุเข้าครับ กรณีที่ปกติไม่มีไรเกิดขึ้นก็ไม่เป็นไรครับ สำหรับไว้เป็นแนวโน้มในการเตือนภัยล่วงหน้าครับ
  • อย่างในเยอรมันส่วนที่เป็นพายุก็เช่นกันครับ มาเป็นข่าวเอาตอนที่พายุเข้านะครับ หนังสือพิมพ์เค้าเลยเอาไปลงสองฉบับครับ
  • ผมได้เก่งนะครับ ลองผิดลองถูกไปครับผม เพราะลองกับคอมพิวเตอร์ไม่เป็นไรครับ เพียงแต่หากเรารอบคอบมากขึ้น งานเราก็จะลู่เข้าสิ่งที่ต้องการเร็วขึ้นครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ

เยี่ยมจริงๆค่ะ พี่สงสัยว่าเราจะสามารถใช้ลักษณะนี้ในการมองดูการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆเช่น ฉลามได้ไหมคะ input น่าจะต้องเป็นอะไร เพราะเห็นภาพแล้วชวนให้คิดว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ยามฝั่งสามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวของฉลามได้จากจอ ทางออสเตรเลียซึ่งมีปัญหากับการจับตาดูชายหาดที่คนเล่นน้ำ เพื่อให้ปลอดภัยจากฉลาม คงจะมีประโยชน์มากนะคะ มีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บเพราะช่วยไม่ทัน ดูไม่ทันเยอะทีเดียว

 

  • อันนี้ผมไม่แน่ใจนะคับ ว่ามีเครืองมือใดๆ บ้าง แต่ผมคิดว่ามีแน่ๆ เช่นพวก โซน่าอะไรซักอย่างที่ติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ แล้วเป็นการสแกนนะครับ รับข้อมูลเข้าสู่การประมวลนะครับ ผมมีตัวอย่างงานด้านอื่นๆ อยู่เหมือนกันครับ ลองเข้าไปคลิกๆ ต่อๆ ไปได้ที่ www.somporn.net นะครับ พี่อาจจะเห็นรากต้นไม้ที่หมุนๆ อยู่ครับ อันนั้นใช้ ซีทีสแกนครับ ดูการโตของรากต้นไม้แบบไม่ทำลาย
  • พอเราศึกษาไประดับเราจะทราบว่าปัญหาแต่ตัวที่มี เราจะประยุกต์ใช้แล้วแก้ไขอย่างไรครับ ในภาพรวมแล้วใครมีส่วนเกี่ยวข้องบ้างครับ
  • มีไรหลายอย่างที่น่าสนใจในเมืองไทย เช่น สร้างเครื่องมือตรวจสอบผลไม้ก่อนการส่งออกแบบไม่ทำลาย เช่นทุเรียนมังคุด อะไรต่ออะไรเพียบครับ
  • มีโครงการเกิดขึ้นเต็มสมองครับ แต่ต้องหาคนสานต่อช่วยกันทำครับ
  • กะว่ากลับไป ก็ต้องไปขอความร่วมมือหลายๆ ที่หาดใหญ่ด้วยครับ ผมก็สนใจเรื่องการแพทย์อยู่ครับ เช่น การตรวจหาก้อนหินปูนในภาพเอกซเรย์ หรืออะไรก็แล้วแต่ครับ คือเอาความรู้ทาง image processing, visualization, simulation, modeling ไปร่วมด้วยครับพี่
  • ในทางเคมีที่พี่ทำอยู่ก็เช่นกัน ประยุกต์ได้หลายๆ อย่างครับผม บ้านเราต้องการสาขาทางด้านวิทยาการวิจัยเชิงบูรณาการครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ มีอะไรมาเขียนฝากไว้นะครับ ยินดีทุกๆ ความเห็นครับ มีประโยชน์ทั้งสิ้นครับ
  • อีกอันที่เร่งด่วนมาตอนนี้คือ การกัดเซาะชายฝั่งครับ
  • ปัญหาการเร่งปลูกป่า ป้องกันน้ำท่วมฉับพลันครับ
  • การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในพื้นที่ในประเทศไทย
  • ศึกษาเพื่อเข้าใจธรรมชาตินะครับ ไม่ใช่เอาชนะแต่เข้าใจเพื่ออยู่ร่วมกันและรู้แนวทางการป้องกันหากมีภัยด่วน
  • ประกาศเตือนภัย
    "เรื่อง พายุดีเปรสชั่นในอ่าวไทย"

    ฉบับที่ 9 (135 / 2550) ลงวันที่ 01 พฤษภาคม 2550
         เมื่อ เวลา 13.00 น. วันนี้ (1 พฤษภาคม 2550) พายุดีเปรสชั่นในอ่าวไทยตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดชุมพร ประมาณ 50 กิโลเมตร หรือ ที่ละติจูด 10.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 99.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกอย่างช้า ๆ คาดว่าจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณพื้นที่ตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และตอนบนของจังหวัดชุมพรในเวลาประมาณ 20.00 น. คืนวันนี้ และจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามันตอนบนในระยะต่อไปลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออก มีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และ พังงา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดที่กล่าวมาระมัดระวังอันตรายจากภัยธรรมชาติดังกล่าวในระยะ 1-3 วันนี้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 1-3 พฤษภาคม 2550 นี้ไว้ด้วย
  • ที่มา : www.tmd.go.th
อยากให้คุณเม้ง ช่วยอธิบายอย่างง่าย ๆ เกี่ยวกับ Significant Wave Height  ว่ามันคือความสูงคลื่นแบบไหนครับ

สวัสดีครับคุณเอก

   ขอบคุณมากครับ ลองอ่านในลิงก์นี้นะครับ

http://weather.nakhonthai.net/webboard/index.php?PHPSESSID=103333e9521ccc1a278c090477ac4413&topic=16.0

และ

http://www.marine.tmd.go.th/WMO702.pdf

ต่อมาขอตอบ...แบบให้เข้าใจง่ายๆ นะครับ

ความสูงคลื่นแบบนัยสำคัญ เป็นตัววัดความสูงคลื่นทางสถิตินะครับ ที่จะหาความสูงคลื่นเพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มคลื่นในพื้นที่ที่สนใจนะครับ

วิธีการคำนวณคือ..

  1. นำความสูงคลื่นที่มีทั้งหมดในพื้นที่ มาเรียงกันจากน้อยไปมากครับ
  2. ให้แบ่งช่วงของข้อมูลออกเป็นสามส่วนหลังจากแบ่ง
  3. แล้วส่วนที่เป็นช่วงสูงสุดในสามช่วงนั้น เอาค่าทั้งหมดในช่วงนั้น มาหาค่าเฉลี่ยครับ
  4. ค่าที่ได้คือ ความสูงคลื่นแบบนัยสำคัญครับ 

ปล. ผมเองก็ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทาง อุตุนะครับ ต้องศึกษาเพิ่มเติมด้วยนะครับ 

ขอบคุณมากๆ นะครับ

เม้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท