บทความอ่านเล่นเกี่ยวกับแบบจำลองระบบ (๒)


ปลูกอ้อยในคอมพิวเตอร์
 

ปลูกอ้อยในคอมพิวเตอร์

  “สวัสดีครับ” สงสัยกล่าวทักทายผู้ทรงคุณวุฒิในที่ประชุม น้ำเสียงแสดงความตื่นเต้น ความจริงเขาค่อนข้างจะคุ้นเคยกับห้องประชุมแห่งนี้ และคณะของผู้ทรงคุณวุฒิมาก แต่ด้วยเรื่องราวที่เขาจะเสนอในวันนี้เป็นวันที่พิเศษมากสำหรับเขา
 

ที่ประชุมนั่งเงียบ และดวงตาทุกคู่ก็เล็งมาที่สงสัย ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านรู้จักสงสัยดี ตั้งแต่เขาเป็นผู้ช่วยวิจัยในโครงการวิจัยของหัวหน้าของเขา และกำลังเอาใจช่วยเขาให้สามารถเสนองานอย่างราบรื่น ใบอ้อย ณ อู่ทอง เป็นหนึ่งในคณะผู้ทรงคุณวุฒิ และดีใจมากที่ได้เห็นโครงการวิจัยดังกล่าว
 

“อันดับแรก ผมขอขอบคุณท่าน ที่ให้เวลากับผมเพื่อเสนอรายละเอียดของโครงการวิจัยของผมและ คณะวิจัยครับ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ผมขอเริ่มเรื่องเลย หากท่านมีคำถามขอได้โปรดถามได้ตลอดเวลา ครับ” สงสัยกล่าวต่อ หลังจากที่ได้รวบรวมสติ และความมั่นใจ แต่เสียงยังสั่นเล็กน้อย
 

“การผลิตอ้อยของชาวไร่อ้อยไทยมีปัญหามากมาย ทั้งในระดับแปลงอ้อย ในระดับโรงงานน้ำตาล คณะกรรมการอ้อยน้ำตาลในพื้นที่และในระดับชาติ สมาคมชาวไร่อ้อย สมาคมโรงงานน้ำตาล ผู้บริโภค และผู้ส่งออก” สงสัยเปิดฉาก และกล่าวต่อ เตรียมเน้นประเด็นปัญหา
 

“ปัญหาที่ผมและคณะวิจัยของผมกำลังเสนอเพื่อขอทุนสนับสนุนการ วิจัย ได้แก่ปัญหาของปริมาณอ้อยอ้อยในแต่ละปี เนื่องจากเป็นคำถามหลักคำถามหนึ่งของวงการอ้อย-น้ำตาล และพบว่ายังไม่มีหน่วยไหนดำเนินการวิจัย หากสามารถดำเนินการได้จะทำให้เกิดผลดีต่อหลายฝ่าย” สงสัยกดปุ่มที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเลื่อนภาพไปยังภาพถัดไป
 

“ความที่คำถามนี้เป็นคำถามหลักของวงการ จึงมีหน่วยงานของทั้งภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยทำการออกตัวเลข ปริมาณอ้อยทุกปี ปีละหลาย หลายตัวเลข อาจมีความแตกต่างกันประมาณ ๕๐-๕๕ ล้านตันต่อปี ผมและคณะคิดว่าตัวเลขของปริมาณอ้อยมีสององค์ประกอบหลัก ได้แก่ ขนาดพื้นที่ และผลผลิตอ้อย” สงสัยเริ่มชักนำที่ประชุมให้คล้อยตามภาพในจอที่เขาแสดง

“องค์ประกอบแรก ได้แก่ ขนาดพื้นที่การปลูกอ้อย มีหน่วยเป็นไร่ต่อฤดูปลูก ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายหน่วยทำการสำรวจพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศเป็นงานประจำ และทำให้ประเทศเรามีตัวเลขพื้นที่ปลูกอ้อย พื้นที่เก็บเกี่ยวอ้อยรายจังหวัด และรายภูมิภาค ปัญหาคือ เราทราบเฉพาะตัวเลขขนาดของพื้นที่อ้อย แต่เราไม่ทราบว่าพื้นที่นั้นอยู่ที่ไหน มีดินเป็นอย่างไร มีความสูง-ต่ำต่างกันไหม”

“โครงการวิจัยที่เสนอนี้ จะพัฒนาวิธีการแปลภาพข้อมูลดาวเทียม และผลิตเป็นแผนที่แบบดิจิตอลเพื่อให้ได้ตัวเลขตำแหน่งและขนาด พื้นที่ปลูกอ้อยอย่างแม่นยำ รวดเร็ว เพื่อใช้ประกอบการประมาณการปริมาณอ้อยรายพื้นที่รายเดือน กับฐานข้อมูลชุดดิน ฐานข้อมูลภูมิอากาศเกษตร และฐานข้อมูลอื่น ครับ” สงสัยกล่าวสรุปองค์ประกอบแรกของงานวิจัย
 

สงสัยกดปุ่มที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเลื่อนภาพไปยังภาพถัดไป พร้อมกับกล่าวต่อ

 “องค์ประกอบที่สอง ของปริมาณอ้อยในแต่ละปี ได้แก่ ตัวเลขผลผลิตอ้อยของแต่ละพื้นที่ปลูกอ้อย ครับ ตัวเลขตัวนี้มีหน่วยเป็นตันต่อไร่ต่อฤดูปลูก ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายหน่วยทำการสำรวจพื้นที่ปลูกอ้อยและ ผลผลิตอ้อยทั่วประเทศเป็นงานประจำ และทำให้ประเทศเรามีตัวเลขผลผลิตอ้อยรายจังหวัด และรายภูมิภาค” สงสัยหยุดหายใจเล็กน้อย

“สิ่งที่วงการอ้อยและประเทศน่าจะมี คือ ทราบว่าผลผลิตนั้นมาจากพันธุ์อ้อยพันธุ์ไหน ปลูกเมื่อใด ใส่ปุ๋ยอะไร มีการให้น้ำชลประทานหรือไม่ และได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคและแมลงบ้างไหม? และ อื่น อื่น อีกมากครับ

โครงการวิจัยที่พวกเรากำลังเสนอนี้ จะวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการให้ได้ตัวเลขขนาดผลผลิตอ้อยของแต่ละพื้นที่ ปลูกอย่างแม่นยำ รวดเร็วโดยนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ของอ้อยพันธุ์ของไทยมาประกอบการประมาณตัวเลขผลผลิตอ้อย วิธีการนี้จะทำให้สามารถพัฒนาแบบจำลองอ้อยได้ และสามารถใช้ประกอบการประมาณการปริมาณอ้อยรายพื้นที่รายเดือน พร้อมทั้งช่วยในการประเมินทางเลือกในการผลิต หรือก้าวหน้า ถึงขั้นการกำหนดเขตการผลิตอ้อยตามความต้องการของตลาด กำหนดการผลิตตามความเฉพาะของท้องที่ได้”

สงสัยกล่าวสรุปองค์ประกอบที่สองของงานวิจัยของเขา พร้อม พร้อมกับหันไปดูว่าผู้ทรงคุณวุฒิยังฟังอยู่เหมือนตอนที่เขาเริ่มต้น การเสนอของเขาหรือไม่

เวลาผ่านไปเพียงหก หรือ เจ็ดนาทีหลังการเสนอ โดยที่ยังไม่มีคำถาม สงสัยขยับจะกล่าวต่อ

“องค์ประกอบที่สาม ของงานวิจัยนี้ เพื่อการประมาณตัวเลขปริมาณอ้อยในแต่ละปี ได้แก่ การพัฒนาโปรแกรมเชื่อมโยงแบบจำลองอ้อยและ ข้อมูลตำแหน่งแปลงอ้อยของแต่ละตำบล แต่ละอำเภอ และแต่ละจังหวัด เพื่อการคำนวณผลผลิตระดับต่าง ต่าง” สงสัยหยุดหายใจเล็กน้อย

“โปรแกรมเชื่อมโยงนี้ใช้หลักบูรณการระหว่างฐานข้อมูลที่ได้จาก งานวิจัยฐานข้อมูล และงานวิจัยแบบจำลองอ้อย เพื่อให้ ผู้ใช้งานโปรแกรมสามารถเลือกตำบล หรือ เลือกอำเภอ หรือ เลือกจังหวัดที่ต้องการจะประมาณผลผลิตอ้อย จากนั้นกำหนดวันปลูก กำหนดพันธุ์อ้อย กำหนดอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ต้องการ กำหนดว่าเป็นอ้อยตอ หรือ อ้อยปลูกใหม่ และสุดท้ายสั่งการให้แบบจำลองคำนวณผลผลิตอ้อย และ แสดงผลผลิตที่ได้จากแบบจำลองในแผนที่แปลงอ้อยตำแหน่งต่าง ต่าง โดยแม่นยำ” สงสัยกล่าวสรุปองค์ประกอบทั้งสาม

“โดยภาพรวม งานวิจัยที่โครงการนี้เสนอแบ่งเป็นสามส่วน ส่วนแรกเป็นส่วนของการพัฒนาวิธีการแปลภาพข้อมูล ดาวเทียมเพื่อทราบตำแหน่งและขนาดพื้นที่ปลูกอ้อยและ พัฒนาฐานข้อมูลเชิงพื้นที่เสริมการประมาณผลผลิต ส่วนสองเป็นส่วนของการพัฒนาและการทดสอบแบบจำลองอ้อย และส่วนที่สามเป็นส่วนของการพัฒนาโปรแกรมเชื่อมโยงงานใน สองส่วนแรกให้สะดวกต่อการใช้งานและมีภาษาไทยเป็นตัวกลาง ในการสื่อสาร พวกเราคิดว่าจะใช้เวลาทั้งหมดห้าปี และขอบคุณครับที่ท่านให้เวลาผม”

สงสัยกล่าวเมื่อเขามั่นใจว่าได้พูดในสิ่งที่จำเป็นและเป็นการให้ข้อมูล ต่อคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการ
 

“โครงการวิจัยนี้แปลกกว่าโครงการวิจัยอื่น ใครจะเป็นนำผลงานไปใช้ละ” ผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่งถามขึ้น
 

“ผมคิดว่ามีได้หลายรูปแบบ ครับ เช่น แบบหนึ่งเป็นแบบ ที่ชาวไร่อ้อยใช้งานโปรแกรมเชื่อมโยงในระดับแปลงอ้อย เพื่อการปรับปรุงการผลิตอ้อยให้เหมาะสมต่อดิน ต่อสภาพภูมิอากาศ อีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่สมาคมชาวไร่-สมาคมโรงงานน้ำตาล-โรงงาน น้ำตาลและหน่วยราชการใช้โปรแกรมเชื่อมโยงในการประมาณการ ผลผลิตอ้อยในพื้นที่ขนาดใหญ่ และใช้ในการกำหนดราคาอ้อยขั้นต่ำ  และอีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่เหล่านักวิชาการใช้ในการกำหนดหัวข้อวิจัย ที่ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อการปรับปรุงองค์ความรู้เกี่ยวกับอ้อย- น้ำตาล การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลทางเกษตรแบบบูรณการ และใช้งานในวงการศึกษา การเรียนรู้ในระดับต่าง ต่าง ครับ”
 

“มีอีกสักคำถาม หรือ ขอแนะนำไหมครับ” หัวหน้าของสงสัยถามที่ประชุม
 

เงียบ ....
 

ความเงียบไม่ได้ทำให้ความมั่นใจของสงสัยเปลี่ยนแปลงแม้แต่น้อย สงสัยกวาดสายตาไปได้ครึ่งห้องประชุม สายตาของ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มองมาที่เขาเป็นสายตาที่เต็มไปด้วยแววแห่งความหวัง และความสุขปนกัน
 

“ขอบคุณมาก สงสัย” หัวหน้าของสงสัยกล่าวกับเขา

สงสัยรู้ทันทีว่าโครงการวิจัยของเขาได้รับการสนับสนุนจากผู้ทรงวุฒิ ทั้งคณะอย่างแน่นอนเพราะทุกท่านมีภาพที่ชัดเจนว่าโครงการวิจัย นี้กำลังจะทำอะไร

=============================>>>

() | (๒) | () | () | () | ()
หมายเลขบันทึก: 81796เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2007 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท