สมุดบันทึกกิจกรรมนิสิต สู่ “ทรานสคริปชีวิต” นิสิต มมส


ดูเหมือนเป็นการ “บังคับเรียนรู้” อยู่มิใช่น้อย แต่ผมก็ยังมองว่าดีกว่าปล่อยให้พวกเขาทั้งหลายล่องไหลเรื่อยเปื่อยไปอย่างไร้จุดหมาย

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อันที่จริงเรื่อง ทรานสคริปกิจกรรม  ถูกหยิบขึ้นมาวิพากษ์อย่างกว้างขวางมาระยะหนึ่งแล้วในแวดวงอุดมศึกษา  แต่ก็ไม่ใคร่แน่ใจนักว่า  ท้ายที่สุดมีกี่สถาบันกันแน่ที่สามารถนำระบบนี้มาเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพของนิสิตนักศึกษาได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ล่าสุดท่านอาจารย์อัมพร อรุณศรี  ได้นำเสนอเรื่อง Transcript กิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ไว้อย่างน่าสนใจ http://gotoknow.org/blog/student-affair-psu/80858</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ทรานสคริปกิจกรรม :  ไม่ลองไม่รู้  ไม่เริ่ม ไม่มีจุดหมายปลายทาง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้  ผมเคยได้ยกร่างนำเสนอต่อคณะกรรมการฝ่ายพัฒนานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545  แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่ผ่านการพิจารณา  ซึ่งส่วนใหญ่วิตกกังวลว่าเรื่องดังกล่าวจะกลายเป็นกระบวนการ บังคับ  ให้นิสิตเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าการรณรงค์ให้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ !  หรืออาจเพราะช่วงนั้นคณะกรรมการเองก็มองว่ากระบวนคิดของผมยังขาดความชัดเจนในการคิด (clearing  thinking)  ก็เป็นได้ </p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จากนั้นเรื่องดังกล่าวก็ปิดตัวลงอย่างเงียบงัน  พร้อมกับการหมุนเวียนบุคคลในตำแหน่งบริหาร  ผมเองก็ถูกปรับโยกไปตามสายงานนั้นด้วย  กระทั่งปีการศึกษา พ.ศ. 2549  ซึ่งระยะแรกผมได้มีโอกาสได้มาช่วยงานด้านกิจกรรมนิสิต จึงจับมือประสานใจกับคุณวัฒนพงษ์  คงสืบเสาะ (หัวหน้างานกิจกรรมนิสิต)  ปัดฝุ่นเรื่องนี้อีกครั้ง  และสามารถผลักดันให้มีการประกาศใช้ระบบสมุดบันทึกกิจกรรมเพื่อนำไปสู่ระบบทรานสคริปกิจกรรมอย่างเต็มตัวอีกครั้ง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และเมื่อผมมาบริหารกลุ่มงานกิจกรรมนิสิต  ผมจึงไม่รีรอที่จะขับเคลื่อนกระบวนการนี้อย่างจริงจัง  ขับเคลื่อนทั้งที่รู้ว่าบางประเด็นก็ยังไม่ชัดเจนนัก แต่ไม่ทำก็คงไม่รู้ !  แต่ถ้าไม่เริ่มต้น ก็ย่อมไม่มีทางรู้ได้เลยว่า จุดหมายปลายทางเป็นเช่นไร ?  </p><p></p><p>อีกทั้งยังเป็นความโชคดีสำหรับผมเมื่อมีเจ้าหน้าที่ในสังกัดอีก 2  คนที่พร้อมจะนำระบบสารสนเทศมารองรับในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นคุณสุริยะ สอนสุระ  และคุณจันเพ็ญ ศรีดาว  ซึ่งแม้ทั้งสองจะไม่สันทัดกระบวนการเทคนิคทั้งหมด  แต่พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนในครั้งนี้    </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p> ทรานสคริปชีวิต :  การบันทึกประเภทกิจกรรมและสถานภาพนิสิตในวิถีกิจกรรม <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ปีการศึกษา  2549  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ประกาศใช้ ระบบสมุดบันทึกกิจกรรม (Student  Activity  Passbook)  แต่ก็ยังไม่มีนโยบายบังคับให้นิสิตทุกคนต้องเข้าสู่กระบวนการนี้  พร้อมทั้งการสร้างระบบทรานสคริปกิจกรรม หรือ ใบระเบียนกิจกรรมนิสิต (Student  Activity  Transcript)  มารองรับไปในตัว  โดยการที่กิจกรรมต่าง ๆ จะได้รับสิทธิ์บันทึกลงในสมุดบันทึกกิจกรรมนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัยและถูกกำหนดด้วย รหัสกิจกรรม ต่าง ๆ  ซึ่งนิสิตสามารถตรวจสอบรหัสกิจกรรมเหล่านี้ได้จากฝ่ายพัฒนานิสิต  ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย,  คณะและองค์กรนิสิตที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กรณีการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละครั้ง  ผู้มีอำนาจเซ็นรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมในสมุดบันทึกต้องเป็นเจ้าหน้าที่,  อาจารย์ที่ปรึกษา ,  รองคณบดี  หรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมายเพียงคนใดคนหนึ่งเท่านั้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ลักษณะดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นเพื่อป้องกันมิให้นิสิตได้เซ็นรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมให้กันและกันอย่างพลการ !  เป็นการป้องกันเพื่อมิให้ระบบสุมดบันทึกกิจกรรมกลายเป็นแต่เพียงสมุดธรรมดา ๆ เล่มหนึ่งที่นิสิตนำไปใช้เป็นเครื่องมือสถาปนาคุณงามความดีให้ตนเองโดยปราศจากความเป็นจริง  รวมถึงการปราศจากซึ่งคุณค่าและความหมายดังปณิธานที่ตั้งไว้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>          <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อย่างไรก็ดี,  ในสมุดบันทึกกิจกรรมและทรานสคริปกิจกรรมจะประกอบด้วยการบันทึกลักษณะอันสำคัญของแนวคิดเหล่านี้  นั่นคือ  ประเภทของกิจกรรมและสถานภาพของนิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างชัดเจน  คือ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p> 1.   ประเภทกิจกรรมนิสิต</p><p>  1.1              กิจกรรมระดับมหาวิทยาลัย/คณะ</p><p>   1.2              กิจกรรมระดับองค์กรนิสิต  (องค์การนิสิต สภานิสิต ชมรม กลุ่มนิสิตและสโมสรนิสิตคณะ)  โดยครอบคลุมกิจกรรม 4  ด้าน ได้แก่</p><p>            1.2.1                   ด้านศิลปวัฒนธรรม</p><p>            1.2.2                   ด้านบำเพ็ญประโยชน์</p><p>            1.2.3                   ด้านนิสิตสัมพันธ์และวิชาการ</p><p>            1.2.4                   ด้านกีฬา </p><p>     1.3              กิจกรรมระดับสังคม/สาธารณะ</p><p></p><p> 2.   สถานภาพการเข้าร่วมกิจกรรมนิสิต</p><p>     2.1              ผู้นำองค์กรนิสิต      </p><p>     2.2              ผู้ดำเนินโครงการ หรือผู้รับผิดชอบกิจกรรม</p><p>     2.3              ผู้แทนมหาวิทยาลัย</p><p>     2.4              ผู้สร้างชื่อเสียง</p><p>     2.5              ผู้เข้าร่วม   </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ทรานสคริปชีวิต  :  อีกทางเลือกการบ่มเพาะศักยภาพนิสิตผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ถึงแม้ว่ามหาวิทยาลัยมหาสารคามจะยังไม่กำหนดนโยบายให้นิสิตต้องมีสมุดบันทึกกันทุกคนกิจกรรมและผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาได้ต้องเข้าร่วมกิจกรรมให้ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  กระนั้นก็ยังมีแนวปฏิบัติที่ระบุชัดเจนว่า  นิสิตที่จะได้รับทรานสคริปกิจกรรม (ใบระเบียนกิจกรรมนิสิต : Student  Activity  Transcript)  ต้องเข้าร่วมกิจกรรมครบตามเกณฑ์  ดังนี้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>  1.   การเข้าร่วมกิจกรรมนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปีขึ้นไป</p><p>      1.1              เข้าร่วมกิจกรรมที่มหาวิทยาลัย/คณะและองค์กรภายนอก ไม่น้อยกว่า 4  กิจกรรม </p><p>         1.2              เข้าร่วมกิจกรรมระดับองค์กรนิสิต  ไม่น้อยกว่า  4  กิจกรรม</p><p></p><p>  2.   การเข้าร่วมกิจกรรมนิสิตระดับปริญญาตรีหลักสูตรน้อยกว่า 4  ปี</p><p>       2.1              เข้าร่วมกิจกรรมที่มหาวิทยาลัย/คณะและองค์กรภายนอก ไม่น้อยกว่า 3  กิจกรรม </p><p>          2.2              เข้าร่วมกิจกรรมระดับองค์กรนิสิต  ไม่น้อยกว่า  2  กิจกรรม</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กรณีนิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่ครบตามเกณฑ์  จะไม่ได้รับทรานสคริปหรือใบระเบียนกิจกรรมนิสิ  แต่จะได้รับเพียงสมุดบันทึกกิจกรรมนิสิตติดตัวออกไปสู่โลกกว้างภายนอกเท่านั้น  กระนั้นฝ่ายพัฒนานิสิต  ก็ยังเฝ้าหวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะสามารถประกาศใช้ระบบ กิจกรรมเสริมหลักสูตร  ได้อย่างเต็มรูปแบบ  โดยการกำหนดให้นิสิตทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ครบตามเกณฑ์การเรียนรู้  และหากไม่เข้าเรียนรู้ครบตามหลักสูตรก็จะไม่ได้รับอนุมัติให้จบการศึกษา  (เท่าที่รู้ - มีบางสถานบันได้กำหนดแนวปฏิบัติเช่นนี้บ้างแล้ว) </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>กระบวนคิดข้างต้นอาจดูเหมือนการ บังคับเรียนรู้  อยู่มิใช่น้อย  แต่ผมก็ยังมองว่าดีกว่าปล่อยให้พวกเขาทั้งหลายล่องไหลเรื่อยเปื่อยไปอย่างไร้จุดหมาย  ขาดทักษะชีวิตในการดำรงชีวิตและทำงานร่วมกับคนอื่น  ขาดเจตคติที่ดีต่อสังคมและเพื่อนมนุษย์   ดังนั้นการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้บ้าง  จึงย่อมมีผลต่อการกล่อมเกลาและบ่มเพาะทักษะชีวิตอันประกอบด้วย โลกทัศน์  และ ชีวทัศน์  ของนิสิตไม่น้อยไปกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรภาคบังคับ </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อย่างน้อย ณ วันนี้กระบวนการที่ทีมงานกำลังขับเคลื่อนอยู่นี้จะช่วยให้นิสิตเกิดกระบวนการเรียนรู้ชีวิตได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  เกิดความคิดเชิงบวก (positive  thinking)  มีพลังทางความคิด (power of  thinking)  มีวิถีการคิดที่สร้างสรรค์ (creative thinking)  รวมถึงการพุ่งเป้าประสงค์ไปสู่การสร้างนิสิตให้เป็นผู้มีภาพลักษณ์และบุคลิกภาพที่ดี  (good  personality)  เป็นที่พึงประสงค์ของสังคมและดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคมแห่งความเป็นจริง !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ตราบจนบัดนี้,  ผมและทีมงานก็ยังเชื่อและศรัทธาอยู่เสมอมาว่ากิจกรรมนิสิต คือ กระบวนการเสริมหลักสูตรของการพัฒนาศักยภาพนิสิต และทรานสคริปกิจกรรมนิสิต  คือ ทรานสคริปชีวิต  ของนิสิต  มมส !    </p><p>            </p>

คำสำคัญ (Tags): #msu km กิจกรรมนิสิต
หมายเลขบันทึก: 81791เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2007 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

สวัสดีค่ะคุณแผ่นดิน

  • เครื่องคอมหรือ  Gotoknow ของครูอ้อยมีปัญหา  ไม่สามารถเขียนบันทึกได้

ตอนนี้กำลังอ่านหนังสือ  ไม่ได้เขียนบันทึกเลยค่ะ

สวัสดีครับ  ครูอ้อย

P
  • 2  วันที่ผ่านมา  เข้าใจว่า  ระบบ Gotoknow มีปัญหา  ผมเองก็เข้าระบบไม่ได้,  เพิ่งใช้การได้ตอนนี้เอง...
  • ยังไม่มีบันทึกใหม่  ก็แวะไปอ่านบันทึกเก่า ๆ ของครูอ้อยได้ครับ... (รอได้)
  • มาฆบูชา...ครูอ้อยไปทำบุญที่ไหนมาบ้างครับ
  • ขอให้มีความสุขกับการอ่านหนังสือนะครับ...
  • มีค่ำคืนที่ดี..มีวันพรุ่งนี้ที่มีความงดงาม  เสมอไป..(นะครับ)

ผมคิดว่า ถึงแม้นิสิตจะมีอิสระเสรีในการคิด และกิจกรรม แต่หากผู้ใหญ่ หรือ ผู้ที่เข้าใจช่วยในการผลักดันให้พวกเขาใช้ศักยภาพภายในให้เต็มที่และสร้างสรรค์ครับ

จะช่วยให้นิสิตเกิดกระบวนการเรียนรู้ชีวิตได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  เกิดความคิดเชิงบวก (positive  thinking)  มีพลังทางความคิด (power of  thinking)  มีวิถีการคิดที่สร้างสรรค์ (creative thinking)  รวมถึงการพุ่งเป้าประสงค์ไปสู่การสร้างนิสิตให้เป็นผู้มีภาพลักษณ์และบุคลิกภาพที่ดี  (good  personality)  เป็นที่พึงประสงค์ของสังคมและดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคมแห่งความเป็นจริง

เป็นโอกาสที่ดีของนิสิต มมส. ครับ

  •  ผมเคยทำงานกิจกรรมมาบ้างครับ  การจะให้นักศึกษามาร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรค์นั้นหายากมาก (ยกเว้นกิจกรรมไร้สาระเฮฮาปาร์ตี้)
  • จิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาในปัจจุบันจะรอให้เกิดเองไปได้แล้วครับ   ดังนั้นมหาวิทยาลัยจะต้องจัดระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมนักศึกษาให้เขาด้วย
  • ผมขอยกจั๊กแร้เชียร์แนวคิดนี้ครับ  มันไม่ใช่การบังคับ  แต่เป็นการสร้างระบบการเรียนรู้ครับ

 

คุณเอก ..ครับ
P
  • ขอบคุณครับทั้งกำลังใจและคำแนะนำ
  • ผมวิเคราะห์และสังเกตมานานแล้วว่า  บางที, การทำกิจกรรมเราจำเป็นที่จะต้องร่วมคิด หรือแม้แต่เริ่มต้นที่จะต้องพานิสิตฝึกคิดไปเสียก่อน  เนื่องจากบางเรื่องนิสิตก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องการคิดและการชัดเจนต่อโลกและชีวิตอยู่มาก 
  • จากนั้น  จึงค่อยปล่อยให้เขาได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง  โดยมีเราเป็นพี่เลี้ยงดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด
  • ทรานสคริปกิจกรรมของ มมส  จะจำแนกบทบาทของนิสิตที่เกี่ยวกับกิจกรรมนั้น ๆ  อย่างชัดเจน ว่าอยู่ในฐานะอะไร,  รวมถึงเปิดกว้างสำหรับการให้เครดิตต่อนิสิตที่สร้างชื่อเสียงในเรื่องต่าง ๆ  ซึ่งถึงแม้บางเรื่องจะไม่เกี่ยวกับกิจกรรมนิสิต  เราก็รับรองให้  เช่น  ชนะเลิศการประกวดหนังสั้น  , ออกแบบ,  ประดิษฐ์หุ่นยนต์ ฯลฯ
  • สิ่งเหล่านี้จะถูกบัทึกลงในทรานสคริป...ของนิสิต
น่าสนใจมากครับ สมัยอยู่ภาคใต้ใครๆก็ว่าผมบ้ากิจกรรม ทำงานที่องค์การนิสิต บางอย่างไม่มีสอนในตำราเรียน พอมาทำงานกิจกรรมที่นอกหลักสูตรเราสามารถทำได้หมด ถ้ามีการบันทึกไว้เป็นระบบจะเกิดผลดีแก่นิสิตครับผม
  • ขอบคุณมากครับ 
    P
  • เป็นมุมมองที่สะท้อนความจริงได้ชัดเจนในมุมหนึ่งของมหาวิทยาลัยฯ ว่า เรื่องของจิตสำนึกในตัวนิสิตมันยากมากที่เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ผ่านกระบวนการกระตุ้นและปลูกฝังจากระบบการศึกษา
  • (ทรานสคริปกิจกรรม) ไม่ใช่การบังคับ  แต่เป็นการสร้างระบบการเรียนรู้...ขอบคุณประโยคนี้มากครับ..ผมจะได้นำไปตอบคำถามสำหรับผู้บริหาร หรือแม้แต่นิสิตบางท่านที่ยังกังขาในแนวคิดของผม
โดนใจครับ นายบอนอยากมีส่วนร่วมแบบนี้บ้าง แต่ทว่า หมดสิทธิ์ในฐานะนิสิต มมส เสียแล้ว

ทรานสคริปชีวิต ทำให้เส้นทางในการทำกิจกรรมนั้น ชัดเจนขึ้น มีนิสิตหลายคนยังมองเป้าหมายในการทำสิ่งต่างๆยังไม่ชัดเจนนัก เช่น การมองเห็นป้้ายเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมค่ายต่างๆใน มมส. ช่วงเวลานี้ ก็ยังมีคำถามว่า ไปทำไม เพื่ออะไร แล้ว ไปแล้ว จะได้อะไรไหม 
คำตอบที่หลายคนให้ คือ ความภูมิใจในสิ่งที่ได้ทำ สำหรับหลายคนฟังดูแล้ว ดูเป็นนามธรรมมากๆ

ทรานสคริปชีวิต ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรม กลายเป็นรูปธรรมขึ้นมา และจะทำใหเข้าใจในคำว่าึ  "ความภูมิใจในสิ่งที่ได้ทำนั้น  เป็นอย่างไรกันแน่

นายบอนจ๋า...เราจะเจอกันวันไหนน๊อ...

พี่เคยทำสมุดพกกิจกรรมให้นักศึกษาทีภาควิชาฯ....แต่ก็ไม่ได้ทำต่อเมื่อเปลี่ยนผู้บริหาร....เคยเห็นสมุดกิจกรรมของ นศ.คณะแพทย์ แต่ยังไม่ได้ศึกษาระบบว่าทำอย่างไร เมื่อไหร่ค่ะ ทรานสคริบป์ชีวิต หรือ กิจกรรมนับว่าเป็น ทรานส์ดริปที่ดี แถมยังสามารถนำไปสมัครงานได้ด้วย เสมือนหนังสือรับรองการทำกิจกรรมของนักศึกษา....สรุปว่าดีมากๆ ค่ะ ถ้ามีโอกาสได้ทำงานในลักษณะนี้......จะทำมั่งนะค่ะ
  • อาจารย์ขจิต..ครับ
    P
  • ที่ผมกำลังผลักดันอยู่นี้ก็เป็นเสมือนการกลับไปเติมเต็มอดีตที่หล่นหายของตนเองเหมือนกัน
  • ผมทำงานองค์การนิสิตยาวนาน 3 ปี  .. เป็นคนกิจกรรมตัวยง
  • แต่พอจบการศึกษาไม่มีหลักฐานใดการันตีการทำกิจกรรมเลย
  • นี่คือ...ส่วนหนึ่งที่อยากตอบแทนให้คนที่ทำงานเพื่อส่วนรวม
  • สวัสดีครับคุณบอน
    P
  • ช่วงนี้นิสิต มมส  มีค่ายกันเยอะครับ... เท่าที่ผมรวบรวมขณะนี้ก็  14  ค่าย (18  องค์กร)
  • และยังจะมีอีกหลายค่ายที่ยังไม่รายงานข้อมูลมายังผม
  • ขอบคุณในข้อสังเกตและคำเสนอแนะที่ชัดเจนมาก ๆ  ดังความ  ทรานสคริปชีวิต ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรม กลายเป็นรูปธรรมขึ้นมา และจะทำใหเข้าใจในคำว่าึ  "ความภูมิใจในสิ่งที่ได้ทำนั้น  เป็นอย่างไรกันแน่
  • อ้าว...ไงไป ๆ มา เจ้..มาใช้บันทึกผมเป็นช่องทางการนัดแนะอะไรกับนายบอนล่ะ..ยิ้ม ๆ
    P
  • ตกลง  ไปบ้านครูบาฯ  หรือยัง... แต่ยังไงโครงการก็ไม่เลื่อนใช่มั๊ย
ขอบคุณมากครับ อ.แป๋ว
P
  • ทันทีที่มีระบบสมุดบันทึกกิจกรรม  หรือแม้แต่ทรานสคริปกิจกรรม  นิสิตที่จบไปแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องหอบใบประกาศเกียรติคุณใด ๆ ไปสมัครงานจำนวนทีละมาก ๆ ให้รุงรัง
  • เพราะทุกอย่างจะถูกบันทึกไว้ชัดเจนในทรานสคริปฯ
  • ตอนนี้ยังไม่พบปัญหาอะไรมาก  เพราะเป็นระยะแรกของการนำมาใช้
  • ระบบทรานสคริปกิจกรรม ทุกอย่างเบ็ดเสร็จที่กองกิจการนิสิต  ไม่ต้องพ่วงระบบใด ๆ กับฝ่ายวิชาการ

 

 

 

  • ตามหาบันทึกอยู่ค่ะ  ขอบคุณมากที่นำเสนอทรานสคริปกิจกรรม ของม.อ
  • ของม.อ. ค่อนข้างเหมือนของมมส.หลายประเด็นเช่น
  1. ไม่บังคับนักศึกษา
  2. ใบระเบียนกิจกรรมนิสิต (Student  Activity  Transcript) 
  3. ประเภทกิจกรรมนักศึกษา (หลัก ๆ)

มี 5 ด้าน คือด้านศิลปวัฒนธรรม   ด้านบำเพ็ญประโยชน์    ด้านวิชาการ  ด้านกีฬา และด้านอื่น ๆ(ที่ไม่เข้าใน 4 ด้านเช่นจิตสำนึกสาธารณะ สมรรถสากลบนพื้นฐานความเป็นไทย

นักศึกษาได้รับการบันทึกในฐานะผู้จัดกิจกรรมและผู้เข้าร่วมกิจกรรม

พี่ส่งโครงการบัณฑิตก้าวไกลให้ศึกษาดูนะคะ หากไม่ได้รับขอ email address ใหม่เพื่อแนบfile ได้ค่ะ

สวัสดีครับ  พี่อัมพร
P
  • ผมต้องขออภัยในการให้ลำบากต้องค้นหา.. เพราะยังไม่ชินกับการแปะบันทึกเท่าไหร่นัก.
  • กรอบแนวคิดของ มอ. ดูจะหยั่งลงลึกมากกว่าของ มมส เลยด้วยซ้ำนะครับ
  • ประเด็น "จิตสำนึกสาธารณะ" .. ผมบรรจุไว้ในรางวัลเชิดชูเกียรติ "ช่อราชพฤกษ์"  ด้วยเหมือนกัน
  • ผมชอบกรอบแนวคิดที่เน้นตัวตนของสถาบันการศึกษาและความเป็นไทยมากครับ
  • ขอบคุณอีกครั้งครับ

 

  • ส่งโครงการบัณฑิตก้าวไกลให้แล้วนะคะ คงต้องเปิดเมล์ patcharaphar ค่ะ ไดมาจาน้องหนิงค่ะ
  • ฝากขอบคุณน้องหนิงด้วยค่ะ

ขอบพระคุณครับ...

แล้วผมจะไปตามที่เจ้หนิงอีกที...และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับผมและทีมงานเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเมื่อเช้าก็เกริ่นกับทีมงานแล้วว่ากำลังจะได้รับแบบอย่างโครงการฯ จาก มอ.

ขอบคุณอีกครั้ง,  ครับ

เรียนพี่พนัส

  • เป็นการเริ่มต้นที่ผมเชื่อว่าไม่มีผลเสียแน่นอนครับ ซึ่งผมก็ถือว่าน่าจะดีต่อไป 
  • เท่าที่ได้อ่านผมเข้าใจว่าอย่างนี้นะครับ 1) นิสิตเป็นผู้บันทึกโดยการเขียนลงในสมุดตามปกในรู้ 2) ระบุข้อมูลตามขอบเขตที่กำหนด แล้วนำไปให้ผู้มีอำนาจเซ็นชื่อด้วยตนเอง....นี้คือเท่าที่ผมเข้าใจนะครับ
  • ผมไม่แน่ใจว่าทางกองกิจฯได้บันทึกในระบบฐานข้อมูลหรือไม่ คือ หมายความว่า มีข้อมูลยืนยันกันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งตัวนิสิตที่ถือสมุดแบบกระดาษ กับทางกองกิจฯที่ทำระบบสนับสนุน คือ ถ้าอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการเซ็นเห็นชอบแล้วก็ให้นิสิตมาให้ทางกองกิจเข้าระบบกรอกข้อมูลเพิ่มเป็นระยะ เพราะผมกลัวว่าถ้านิสิตจะถือสมุดเล่มนี้ทั้ง 4 ปี กว่าจะเรียนจบ ไม่หายก็ขาดแน่ครับ
  • ดังนั้นที่กล่าวมาน่าจะมีระบบฐานข้อมูลในส่วนนี้เป็นการเฉพาะ
  • ไม่รู้ที่เขียนมาผมอ่านแล้วเข้าใจรึเปล่านะครับ และที่แสดงความคิดเห็น คนอ่านจะเข้าใจรึเปล่า
  • แต่อย่างไรก็เป็นตัวอย่างดีดี ของการกล้าที่คิดและทำครับ

ปล.ช่วงนี้ผมไม่ได้เข้า G2K มากนัก เพราะต้องเดินทางไปนั้นไปนี้ ครับ ก็เพียงแต่แค่อ่านบันทึกของคนอื่น และยังไม่มีเวลาเขียนครับพี่พนัส

กัมปนาท

ขอบคุณน้องแจ็ค มากครับ

P
  • ตอนนี้เวลาเข้าร่วมกิจกรรม  กองกิจฯ จะให้นิสิตลงทะเบียนรายชื่อไว้  เพื่อนำมาลงระบบฐานข้อมูล
  • และอีกวิธีหนึ่งคือกำลังสร้างระบบที่นิสิตสามารถล็อคอินสมัครเข้าร่วมกิจกรรมผ่านการออนไลน์ 
  • ขณะเดียวกันเมื่อลงปฏิบัติจริงมีการลงนามในสมุดแล้วนิสิตต้องนำสมุดมายืนยันชื่อกับระบบฐานข้อมูลอีกครั้ง จึงจะถูกบันทึกลงในฐานข้อมูลในขั้นสุดท้าย
  • ยังเป็นปัญหาบ้างเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ  แต่ก็กำลังระดมคน ระดมสมองเพื่อทำให้งานชัดเจนขึ้น
  • ขอบคุณจริง ๆ ครับ...

น้องแจ็ค...ครับ

ยังไงก็เป็นกำลังใจให้มีพลังในการทำงาน ทั้งเพื่อตนเองและส่วนรวม เช่นนี้เสมอไป  นะครับ

สวัสดีคะอ.แผ่นดิน ดิฉันเห็นด้วยมากๆเลยนะคะที่ครูพยายามส่งเสริมกิจกรรมให้กับนักศึกษา เพราะกิจกรรมเป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต แต่เมื่อมีอยู่ทุกๆวันก็เกิดติดเป็นนิสัยที่ดีสำหรับเด็กและครูผู้สอนหรือผู้ทำกิจกรรมเองก็มีความสุขมากๆ ตอนนี้ตนเองก็กำลังรับภาระหนักอึ่งเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมความเป็นครูให้กับนักศึกษา มีอะไรอีกมากมายที่อยากบอก อยากถาม อยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หากไม่เป็นการรบกวนขอให้อาจารย์ตอบกลับทางเมลที่ให้มานะคะ ขอบคุณล่วงหน้าคะ

สวัสดีครับ ครูตั๊ก

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะครับ..
ยินดีและเป็นเกียรติสำหรับการแลกเปลี่ยนนะครับ

ผมรบกวนเมลด้วยแล้วกัน  จะได้คุยกันมากขึ้น นะครับ
และเหนือสิ่งอื่นใด..ผมเป็นกำลังใจให้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท