การวางแผนชุมชนแบบกึ่งสำเร็จรูป : ฟ๊าดฟู๊ดงานพัฒนา


การวางแผนที่ฉาบฉวยภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง แม้จะครบกระบวนการที่วางไว้อย่างสวยหรู...แต่ก็คงไม่ใช่สิ่งที่ตกผลึกจากความคิดความเห็นที่แท้จริงของชุมขนได้แน่นอน

 

หลังจากที่คราวก่อนได้พูดถึง การเข้าสู่ชุมชน/การเตรียมชุมชน ที่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ความปราณีตในการดำเนินการ...ก็เลยอยากจะพูดถึง เรื่องของการวางแผนบ้าง...การวางแผนการทำงานร่วมกับชุมชนในสมัยก่อนคงหาได้ยิ่ง...เพราะมักจะเน้นแบบสั่งการ...top down...ระยะหลังมาแนวคิด bottom up ได้แพร่กระจายออกมาสู่วงการพัฒนา...ว่าการพัฒนาต้องมาจากชุมชน...ไม่ใช่ใครสั่งการให้ทำ หรือ บอกให้ทำ...เพราะผลจากการสั่งให้ทำ หรือ บอกให้ทำ มักจะไม่ยั่งยืน...แม้จะมีการเริ่มแนวแนวคิด bottom up มาใช้อย่างแพร่หลาย...โดยเริ่มมีการวางแผนร่วมกับชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดงานพัฒนา...การใช้เวทีชาวบ้านเพื่อระดมปัญหา...แทนที่นักพัฒนาจะคิดให้ทั้งหมดแบบเบ็ดเสร็จในสไตล์การพัฒนาแบบโบราณ (ปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่)...แต่ทว่าได้เกิดประเด็นขึ้นอีกว่า...ที่มาของแผนการทำงาน...ยังค่อยข้างฉาบฉวย แม้จะไม่ได้มาจากการสั่งการ แต่กระบวนการฉาบฉวยนั้น ใช้เวลา 1 วัน หรือ บางทีแค่ครึ่งวัน...ซึ่งคงไม่พ้น การถามถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา เป้าหมายที่อยากเห็น และแนวทางแก้ไข หรือแนวทางสู่เป้าหมายนั้น...จนกระทั่งแปรออกมาเป็นแผนงาน เป็นกิจกรรม...แต่แผนที่ไม่ได้ผ่านจากการรู้จักชุมชนตัวเอง หรือการวิเคราะห์ชุมชนมักจะได้แผนแบบฟ๊าดฟู๊ด แบบฉีกซองกินได้เลย ชาวบ้าน/ชุมชนบางทีอาจจะยังดูตัวเองไม่ออกด้วยซ้ำว่าความต้องการหรือปัญหาที่แท้จริงที่กดทับพวกเขาอยู่คืออะไร...การเสนอปัญหา/ความต้องการ...จึงนำมาสู่การแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกจุด หรือ เกาไม่ถูกที่คัน...การร่วมกับชาวบ้านเพื่อค้นหาข้อมูลหรือศึกษาตัวเองให้ถ่องแท้จึงเป็นกระบวนการที่สำคัญเสียยิ่งกว่าการวางแผนที่ฉาบฉวยภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง แม้จะครบกระบวนการที่วางไว้อย่างสวยหรู...แต่ก็คงไม่ใช่สิ่งที่ตกผลึกจากความคิดความเห็นที่แท้จริงของชุมขนได้แน่นอน...นอกจากตอบคำถามจากกระบวนการที่นักพัฒนาวางไว้แล้วเท่านั้น....จะเห็นได้ว่ากระบวนที่จะได้มาซึ่งแผนขององค์กรชุมชน หรือชุมชนนั้น คงไม่ใช่การใช้เวทีเพียงไม่กี่วันเพื่อระดมสมองให้ครบกระบวนการเท่านั้น แต่ต้องสร้างกระบวนการให้เกิดการตกผลึกทางความคิดให้ได้ก่อนแล้วค่อยนำมาสู่แผน...เหมือนกับการทำอาหารให้อร่อยอยู่ที่กรรมวิธีที่พิถีพิถัน...ต้องแต่วัสดุที่นำมาใช้ตลอดจนเครื่องปรุงเครื่องเทศ...มาม่าสะดวก อร่อย และประหยัดเวลา ทำให้อิ่มได้เหมือนกัน...แต่หากถามถึงคุณค่า...คงสู้ไม่ได้แน่นอน

คำสำคัญ (Tags): #การพัฒนาชนบท
หมายเลขบันทึก: 81772เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2007 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • หลักการดีๆมีเยอะ หากจะทำหลักการดีๆนั้นให้สามารถปฏิบัติได้ ต้องการเงื่อนไขที่เหมาะสมหลายประการ เช่น
  •  1 ทีมงานที่ดี ที่เข้าใจเรื่องราวเดียวกัน
  •  2 มีเวลามากเพียงพอ
  •  3 จังหวะของการทำงานเรื่องนี้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน เช่น ไม่ใช่ฤดูกาลทำนา ไม่ใช่ช่วงที่เขาเกี่ยวข้าว  และชุมชนที่ต้องใช้แรงงานเลี้ยงวัว  ดูแลสัตว์ต่างๆ
  •  4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการนั้นๆไม่มีข้อจำกัดอื่นๆมาบีบกระบวนการ
  •  5 ปัจจัยอื่นๆที่ไม่อาจระบุได้
  •  ในความเป็นจริงไม่ง่ายนักที่จะมีความลงตัวไปทุกอย่างดังกล่าว ไม่ติดขัดเรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง หรือมากกว่า โดยเฉพาะโครงการภายใต้ระบบราชการนั้น มีข้อจำกัดมากมาย เห็นแต่ องค์กรพัฒนาเอกชนที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า แต่ก็อาจจะไปติดเงื่อนไขอื่นๆบ้างเช่นเดียวกัน
  • ดังนั้นพบว่า การทำงานพัฒนาชนบท ส่วนใหญ่อยู่บนเงื่อนไขข้อจำกัด กล่าวอีกทีคือการทำงานภายใต้ข้อจำกัด  จึงส่งผลให้การนำหลักการดีๆ ไปปฏิบัติจึงขาดตกบกพร่อง ไม่ค่อยสมบูรณ์เต็มที่นัก
  • หลักการดีครับ

ขอบคุณพี่ไพศาลที่เข้ามาร่วมเติมเต็มความรู้งานพัฒนาชุมชนอีกครั้งครับ....ผมขอแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมดังนี้

  • หลักการดีดีจะสามารถปฏิบัติได้ ถ้าเริ่มนำมาปรับใช้ โดยไม่ยอมอ่อนข้อให้เงื่อนไข
  • เงื่อนไขเรื่องทีมงาน ก็คงต้องใช้เวลาปรับ แต่คงไม่ใช่ทนอยู่กับเงื่อนไขเดิม โดยไม่ยอมปรับปรุง จริงไหมครับ
  • เงื่อนไขเรื่องเวลา ก็คงเหมือนเรื่องทีมงาน
  • เงื่อนไขบริบทชุมชน ก็คงเหมือนข้างบนอีกเช่นกัน...งานพัฒนาเป็นโจทย์ที่เราต้องขบคิดอยู่ตลอดเวลา ผมยังประทับใจคำนี้ของพี่ไพศาลอยู่เลย
  • ผมคิดว่าปัญหานับตั้งแต่การเข้าสู่ชุมชน การเตรียมชุมชน จนถึงวางแผนที่ผมพูดอยู่นี้ คงเพราะเงื่อนไขหลายอย่างตามประสบการณ์ของพี่ไพศาลว่ามา...เป็นสิ่งที่ท้าทายว่าทำยังไงเงื่อนไข/ข้อจำกัดอันนี้ จะลดลง...ถ้าโทษระบบ ก็คงต้องปรับระบบ ถ้าโทษคน ก็คงต้องปรับที่คน ผมตั้งสมมุติฐานว่า ปรับคนยากกว่าปรับระบบเสียอีก โดยเฉพาะทัศนคติหรือแนวคิดของคนทำงาน ยังไม่พูดถึงอุดมการณ์...
  • ขอบคุณพี่ไพศาลครับ ที่ช่วยให้ข้อคิดเห็นเติมเต็มในส่วนของการทำงานจริง เพราะบางส่วนผมอิงหลักการมากเกินไปจริงจริง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท