ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ฝรั่งทำเกษตรกรรมแบบประณีต


เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมมีโอกาสได้พาวิศกรทางสังคมจากบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย ไปศึกษาดูงานด้านเกษตรกรรมแบบประณีตในเขตอำเภอสะตึก จังหวัดบุรีรัมย์ และเราได้ไปศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้หลายแปลง แต่มีอยู่หนึ่งแปลงหนึ่งที่ผมเห็นแล้งทึ่ง และประทับใจคือ แปลงของฝรั่งที่มีภรรยาเป็นคนไทย 

Mr.Marcel RENOY เป็นชาวเบลเยี่ยม ตอนนี้มีอายุ 63 ปี  เมื่อ 3 ปีที่แล้วเคยเป็นวิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศเบญเยี่ยม Mr. RENOYได้เล่าให้ทีมงานเราฟังว่า ตนเองต้องการพักผ่อนในช่วงบั้นปลายของชีวิต จึงได้มาแต่งงานอยู่กินกับภรรยาที่เป็นคนไทยเมื่อ 3 ปีที่แล้ว และได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงต้องการศึกษา จึงได้ตัดสินใจซื้อที่ดินจำนวน 2 ไร่อยู่บ้านมะพริก ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของภรรยา หลังจากนั้นจึงปลูกสร้างบ้าน  และได้ทดลองปลูกพืชทุกอย่างที่ตนต้องการกิน พร้อมกับเลี้ยงปลาที่บ่อน้ำที่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง 

เอาใจใส่ลงไปในกิจกรรมที่ทำ ปลูกแล้วจะสวยงามเอง Mr. RENOY ได้เล่าให้ฟังต่อว่าในการที่คนเราทำอะไรขอให้ทำจริง และทำด้วยใจที่ชอบ เขาเชื่อว่ากิจกรรมที่ทำนั้นจะสำเร็จแน่นอน ตลอดทั้งทำไปต้องหมั่นสังเกต และเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญต้องลงมือทำด้วยนเองจึงจะเกิดทักษะที่แท้จริง เช่น การปลูกกล้วยของที่นี่จะใช้ปุ๋ยคอกเป็นหลัก ซึ่งเลี้ยงวัวไว้ 3 ตัวเพื่อเป็นโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีราคาถูก ขุดหลุมลึกประมาณ 1 เมตร แล้วรองก้หลุมด้วยเศษวัชพืช และปุ๋ยขี้วัว ประมาณ 4-6 บุ้งกี๋ จึงค่อยปลูก ประมาณ ุ6-8 เดือนก็จะได้ผลผลิตกล้วยที่สวยงามมาก   

เมื่อความรู้ไม่พอทำอย่างไร ?  Internet เป็นที่พึ่งของ Mr. RENOY ในการสืบค้นหาความรู้ เมื่อเขามีความรู้ไม่พอเพียงในเรื่องนั้นๆ เขาจะมีความพยายามในการที่จะหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ค่อนข้างลำบากเพราะในเขตนั้นเขาก็ไม่ค่อยรู้จักใคร จึงค่อนข้างจะลำบาก จึงได้ที่พึ่งที่ดีที่สุดตอนนี้คือจาก Internet ไม่ว่าจะเป็นความรู้เรื่องการปลูกผักสวนครัว การปลูกกล้วย ไม้ผล เป็นต้น 

ไม่รู้จะไปขายที่ไหน คงเป็นปัญหาเดียวกันกับพี่น้องเกษตรกรไทยโดยทั่วไป เมื่อผลิตออกมาแล้วไม่รู้จะไปขายที่ไหน หรือเมื่อไปขายก็ไม่คุ้มกับตนทุนการผลิต หรือพูดง่ายๆ ว่าขายขาดทุนนั่นเอง และเขาได้ยกตัวอย่างให้ฟังว่า เขาได้ทดลองทำนาเมื่อ 2 ปีที่แล้วเมื่อบวกลบคูณหารแล้วปรากฏว่าขาดทุนเขาจึงเลิกทำ และเขาก็ได้สอบถามเกษตรกรที่ทำนาด้วยกันว่าเขาได้กำไรหรือไม่ ก็พบว่าขาดทุนเช่นกัน Mr.RENOY จึงไม่เข้าใจว่าทำไมพี่น้องเกษตรกรไทยยังต้องทำเหมือนเดิม ทั้งๆ ที่รู้ว่าทำแล้วต้องขาดทุน นี่จึงเป็นหัวใจสำคัญในการผลิต ในระยะหลังตนเองจึงลดปริมาณการผลิตลงให้เหลือแต่พอได้อยู่ได้กินก็พอ และแบ่งปันญาติพี่น้องของภรรยา และขายเล็กๆ น้อยๆ เมื่อมีคนเข้ามาซื้อที่บ้าน แต่ตนเองก็ภูมิใจที่ได้กินพืชผักที่สด และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ 

จากแนวทางการทำการเกษตรของ Mr.Marcel RENOY นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับพี่น้องเกษตรกรไทย นักพัฒนา และนักส่งเสริม โดยทั่วไปที่จะได้ตระหนักว่าในการที่เราจะทำ หรือจะผลิตอะไรนั้นต้องทำบนฐานที่เป็นจริง อยู่ในบริบทที่ทำได้ มีความรู้ในเรื่องที่จะทำ พร้อมทั้งเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งต้องวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตอยู่ตลอดเพื่อจะได้รู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น อันจะส่งผลถึงความยั่งยืนในอาชีพต่อไป

 ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

3 มีนาคม 2550

หมายเลขบันทึก: 81757เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2007 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • น่าสนใจมากครับ
  • ข้อดีของฝรั่งคือลองถูกลองผิด
  • และมีฐานความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
  • ถ้าเกษตรกรบ้านเรามีแหล่งให้ค้นคว้าก็ดีครับ
  • ขอบคุณครับ
  • เขามาจากสังคมที่ชินกับการวิเคราะห์ความคุ้มทุน
  • ผลคือ ทำให้เขาปรับตัวได้เร็ว เพราะมีความรู้จริงเกี่ยวกับตัวเองมากกว่า โดยใช้เลขพื้นฐานช่วย
  • คนไทยเรียนเลขแล้วไม่ได้ใช้
  • ก็เลยมีทางเลือกน้อยกว่า...

 

คำว่าเกษตรประณีตมันไม่ค่อยจะโดนใจ

อาจจะต้องหาคำกระแทกใจ

แบบไม่ทำเสียชาติ เกิดอะไรทำนองนั้น

อยากให้ประมวลเรื่องเห็ด

แบบวิชาเกินจากงานเกษตรประณีต

มาให้ชาวบ้านอ่าน ในลักษณะจูงใจ ที่นำไปสู่การจูงมือ แล้วใจสั่งมือนั่งลงนั่งทำ

  • ผมเห็นด้วยว่าสำคัญที่การปรับตัว ซึ่งเราพูดกันน้อยเรื่องการปรับตัว
  • การปรับตัวขึ้นกับระบบคิด หากได้คิด และมีข้อสรุปที่ดี ก็ปรับตัวไปสู่สิ่งที่ดีกว่า หรืออาจจะไม่ดีกว่าแต่เหมาะสมกว่า ฝรั่งมีสิ่งเหล่านี้มากกว่า เพราะเบ้าหลอมชีวิตเขาเป็นอย่างนั้น
  • ผมเห็นด้วยกับครูบา ชื่อเกษตรปราณีตเอาไว้คุยกับนักวิชาการด้วยกัน  แต่ชาวบ้านน่าที่จะมีคำอื่นที่โดนใจมากกว่า ซึ่งผมเองก็คิดไม่ออก

ขอบคุณมากครับทุกๆ ท่านที่เข้ามาให้ข้อเสนอแนะดีๆ

เห็นด้วยกับแนวทางที่ได้กรุณาให้ข้อเสนอแนะครับว่าระบบคิดของพี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมโยง แม้กระทั่งตัวผมเองก็ตามเถอะ ในบางครั้งก็มักจะยืนอยู่มุมมืดเช่นกัน

แต่เราจะทำอย่างไรดีครับ ที่จะให้พี่น้องเกษตรกรได้พยายามในการที่จะวิเคราะห์ และคิดอย่างเชื่อมโยงในระบบการผลิตของตนเอง

เกษตรประณีต ดูชื่ออาจจะเป็นวิชาการไปก็เป็ประเด็นที่น่าสนใจครับ หากผมเป็นเปลี่ยนเป็นการทำเกษตรบบเข้มข้น จะเป็นอย่างไรครับ

หากท่านใดที่จะกรุณาตั้งชื่อใหม่ หรือให้คำแนะนำดีๆ จะเป็นพระคุณยิ่งครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย

  • ดีใจจังเลยค่ะที่มีโอกาสได้คบกับบัณฑิต(พาไปหาผล) ใน KM ต้องยอมรับว่าตัวเองความรู้น้อยจริงๆ แต่ก็อยากทำโน่นทำนี่ แม้แต่เรื่องเพาะเห็ด อยากให้อาจารย์ สอนวิธีเพาะเห็ด ที่สามารถปฏิบัติได้จริง ค่ะ  ขอบคุณนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท