การพัฒนาแนวปฏิบัติการสร้างเสริมพลังอำนาจ


ชื่อโครงการ   

        การพัฒนาแนวปฏิบัติการสร้างเสริมพลังอำนาจมารดาที่มี  ทารกคลอดก่อนกำหนด                The  Development  of   Clinical  Nursing   Practice  Guideline of                      Empowerment Model for  Mothers  of   Premature -  Infants 

คำสำคัญ1.        แนวปฏิบัติการเสริมสร้างพลังอำนาจ(  CNPG  of  Empowerment Model)2.        ทารกคลอดก่อนกำหนด (Premature – Infant

 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

อุบัติการณ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปีค.ศ. 2003    พบว่าทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37  สัปดาห์    เพิ่มขึ้น 12.3 % ของการคลอดทั้งหมด (Margie ,2006) ปีค.ศ. 2001-2002      มีอัตราการตายจากสาเหตุการคลอดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์ 35-36 สัปดาห์  คิดเป็น  ร้อยละ  6.8  และร้อยละ  6.9   ตามลำดับต่อประชากรทารกแรกเกิด 1000 คน     ในปี .ศ.2002   มีอัตราการตายของทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์ ระหว่าง 30-34 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ  18.5  ต่อประชากรทารกแรกเกิด 1000 คน     และทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์ต่ำกว่า 30 สัปดาห์   มีจำนวนทารกที่เสียชีวิต  285 ราย ต่อประชากรทารกแรกเกิด 1000 คน(Gabriel ,2006)      และพบว่าทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์เฉลี่ยระหว่าง 33 – 36   สัปดาห์มีอัตราการกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระหว่างช่วงอายุแรกเกิดถึง1 ปี    คิดเป็นร้อยละ 25 –50    ทำให้สูญเสียงบประมาณเพื่อการดูแลสุขภาพกับทารกกลุ่มนี้    คิดเป็นร้อยละ  35   ของงบประมาณเพื่อการดูแลสุขภาพทั้งหมด    คิดเป็นจำนวนเงินได้เท่ากับ 4.5ล้านเหรียญสหรัฐ (Allen et al. ,2005)      สำหรับในประเทศไทยจากการสำรวจของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข   ในปีพศ. 2544-2546      สถิติของทารกคลอดก่อนกำหนดมีรายงานเฉพาะตามน้ำหนักตัวทารกน้อยกว่า  2,500  กรัม    พบว่า    สถิติทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า  2,500  กรัมเพื่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 8. 53   8.88  และ 8.99  ตามลำดับ  (กระทรวงสาธารณะสุข ,2546 )     สถิติทารกคลอดก่อนกำหนด ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เมื่อปี 2545 -  2547   คิดเป็น ร้อยละ 9.7 , 10   , 10.4  ตามลำดับ  สถิติในปี พ.ศ. 2548    ทารกที่เข้ารับการรักษาใน NICU   โดยเทียบอัตราส่วนระหว่างทารกคลอดก่อนกำหนดต่อทารกครบกำหนดพบว่า     มีอัตราการคลอดก่อนกำหนดเท่ากับ 2:1ของทุกเดือน  (เอกสารแผนกเวชทะเบียนรพ.จุฬาลงกรณ์,2548)ผลกระทบของการที่ทารกคลอดก่อนกำหนด    ทำให้ทารกกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงต่อความเจ็บป่วย    พิการ   และการเสียชีวิตเนื่องจากระบบต่าง ๆ ในร่างกายของทารกพัฒนายังไม่สมบูรณ์ และการทำงานยังไม่มีประสิทธิภาพเพราะทารกต้องคลอดออกมาก่อน  จึงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากและรุนแรง      เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพเช่น  ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ    ภาวะโลหิตจาง     การสูดสำลัก     ปัญหาด้านการเจริญเติบโต และพัฒนาการล่าช้า      ปัญหาทางด้านพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากทารกทั่วไป  เช่น   พฤติกรรมการนอนหลับที่มีแบบแผนการนอนหลับ  และตื่นที่ไม่สม่ำเสมอ   พฤติกรรมการร้องไห้ที่ไม่สามารถสื่อความหมาย     หรือบ่งบอกถึงความต้องการได้ชัดเจน    พฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นน้อยเป็นต้น       จากเหตุผลดังกลาวทําใหทารกคลอดกอนกําหนดจําเปนตองเขารับการดูแลเปนพิเศษในหอผูวยทารกแรกเกิดวิกฤติเป็นเวลานาน    เป็นสัปดาห์  เป็นเดือน    องพรากจากมารดาในวันแรกหลังคลอด  ขาดโอกาสสําคัญในการสรางความผูกพันตอบุตร     จากสภาพของร่างกายที่มีน้ำหนักน้อยและรูปร่างบอบบาง ขนาดเล็ก    ประกอบกับความเจ็บป่วยที่ทารกได้รับ   สภาพแวดล้อมในหน่วยทารกแรกเกิดวิกฤต ที่มีอุปกรณ์การแพทย์หลายชนิด เช่น การใส่ท่อทางเดินหายใจ   การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น  ย่อมส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจของมารดา   ล้วนคุกคามความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของมารดา    เกี่ยวกับความปลอดภัยของบุตร    กลัวบุตรเสียชีวิต     มารดามีความรู้สึกตกใจ     เกิดความเครียด   เกิดความวิตกกังวลทารกที่เกิดมาไม่เป็นไปตามความคาดหวัง   ไม่สามารถให้การดูแลด้วยตนเองได้   เกิดความรู้สึกถึงความยากลำบากต่อการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด  ไม่แน่ใจว่าตนสามารถเลี้ยงทารกได้ด้วยตนเองได้   (Allen et al.,2005)  จากสภาพดังกล่าวส่งผลให้มารดาไม่แน่ใจว่าตนเองจะสามารถดูแลบุตรได้ดีเหมือนที่มีทารกคลอดปกติทั่วไป     ขาดการฝึกฝนทักษะการดูแลทารก   ศักยภาพในตัวเองลดลง นำมาซึ่งพฤติกรรมการดูแลทารกที่ไม่เหมาะสมและไม่มีประสิทธิภาพ     บางครั้งตามใจทารกมากเกินไปเช่น ทารกต้องการการนอนมากกว่าการตื่น  เมื่อถึงมื้อนมทารกยังคงหลับอยู่   มารดาปล่อยให้ทารกนอนไปก่อนไม่ปลุกทารกมาป้อนนม   เป็นต้น หรือไม่กล้าให้การดูแลด้วยตนเอง    สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงไม่ได้     ต้องพึ่งพาการดูแลจากบุคคลอื่นๆ  (กุลลดา   เปรมจิตร์,2547)จากการศึกษาปรากฏการณ์ของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในNICU รพ.  จุฬาลงกรณ์  เมื่อเดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2549  ถึง มกราคม  พ.ศ.2550   โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก    การสังเกตพฤติกรรมการดูแลทารกของมารดา    จำนวน 5  ราย   และใช้แบบประเมินการรับรู้พลังอำนาจมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด    จำนวน 20 ราย   พบว่า มารดามีการรับรู้พลังอำนาจต่ำในเรื่อง      ความเชื่อมั่นในความสามารถตนเอง   ศักยภาพในการดูแลตนเอง      ขาดทักษะในการดูแล     การแสวงหาความรู้       การสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงเพื่อวางแผนการดูแลบุตรได้      และต้องพึ่งพาทีมสุขภาพและบุคคลอื่นๆ      เนื่องจากมารดารู้สึกสิ้นหวัง  ตกใจ     สงสารบุตร     กลัวทารกไม่รอดชีวิต       ไม่กล้าดูแลทารกด้วยตนเอง      มารดารับรู้ว่าการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดมีความแตกต่างจากการคลอดครบกำหนด     มีความยากลำบาก      และต้องการการดูแลจากทีมสุขภาพเป็นพิเศษ     ด้วยสาเหตุมาจากทารกมีขนาดรูปร่างเล็ก    ผิวบางใสและเหี่ยวย่น   การเจ็บป่วยที่บุตรได้รับ   และสิ่งแวดล้อมในห้องNICU    จึงทำให้มารดาขาดความเชื่อมั่นใจในความสามารถของตนเอง      ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง   กลัวทารกได้รับความเจ็บปวดขาดทักษะ     ต้องพึ่งพาบุคคลอื่น      ส่งผลให้การดูแลจากมารดาไม่มีประสิทธิภาพ   จากการสังเกตพฤติกรรมการดูแลทารก     เช่นการอุ้มป้อนนมทารกและการจับเรอ  มารดาแผ่วเบา     กลัวลูกเจ็บ      สังเกตเห็นสีหน้า   ท่าทางเคร่งเครียด   กลัวบุตรพลัดตก  เกิดอันตรายกับลูกได้   ซึ่งพบว่าทารกเรอไม่ออก      พยาบาลจะต้องให้การช่วยเหลือหลังการปฏิบัติของมารดาบ่อยครั้ง     ทารกบางรายมีการสำลักมารดามองหาพยาบาลหรือบางรายมารดาเดินมาตามพยาบาลทันที      เพื่อไปช่วยดูทารกให้ก่อนที่มารดาจะจับเรอและการดูแลขั้นต้น   ไม่สามารถให้การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดได้ด้วยตนเอง       ไม่มีศักยภาพที่จัดการกับปัญหาและขาดพลังในการใช้สิทธิการเสนอความต้องการให้กับทีมสุขภาพได้         พฤติกรรมที่มารดาได้แสดงออกมานั้นชี้ให้เห็นว่ามารดาสูญเสียพลังอำนาจในตนเอง    ขาดความชื่อมั่นในตนเอง   ขาดทักษะการดูแล นำมาซึ่งการดูแลทารกที่ไม่มีประสิทธิภาพ  ต้องพึ่งพาบุคคลอื่นจากประสบการณของผู้ทำโครงการในการให้การพยาบาลทารกคลอดก่อนกำหนดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์       พบว่า  ทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีอาการเปลี่ยนแปลง    ต้องถูกแยกจากมารดาเข้ามารักษาในNICU    มารดามีโอกาสเข้าเยี่ยมในเวลาจำกัด   มารดารับรู้อาการการเจ็บป่วยที่บุตรได้รับ    เกรงว่าบุตรจะไดรับอันตรายเพิ่มขึ้น   กลัวสูญเสียบุตร    มารดาจึงไม่กล้าจับต้องทารก         มีความเข้าใจและรับรู้ว่าการจับต้องบุตรจะนำเอาเชื้อโรคไปสู่ทารกได้   มารดาส่วนใหญ่จะมองผ่านกระจกของตู้อบในการมาเยี่ยมบุตรในแต่ละครั้ง    การดูแลสุขภาพทารกยังเป็นบทบาทของแพทย์   พยาบาล   ส่วนใหญ่มารดาจะได้รับคำแนะนำและการให้ความรู้โดยวิธีการสอน   สาธิต  เช่นการให้นมบุตร  การชำระเปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นต้น  โดยมีระระเวลาสั้นๆประมาณ 10-15  นาที   ในบางโอกาสพยาบาลให้อุ้มบุตรมารดามีสีหน้าเคร่งเครียด    ไม่มั่นใจ    กลัวลูกพลัดตกจากมือ  มารดาไม่มั่นใจในการดูแลของตนเอง  ปรากฏการณ์ดังกล่าว  เกิดขึ้นเป็นประจำ   พฤติกรรมต่างๆที่มารดาแสดงออกมานั้น   ทำให้เห็นว่ามารดาสูญเสียพลังอำนาจในตนเอง  ทำให้ศักยภาพตนเองลดลง   ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตน   ขาดทักษะการดูแลทารก   ให้การดูแลทารกได้ไม่มีประสิทธิภาพ        ถึงแม้ว่านโยบายการพัฒนาคุณภาพของทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่เน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง  และเป้าหมายของการดูแลทารกในNICU  มิได้มุ่งเน้นการรอดชีวิตและป้องกันความพิการเท่านั้น   แต่ครอบคลุมถึงครอบครัว  การพยาบาลโดยยึดหลักการพยาบาลแบบองค์รวม  ให้ครอบครัวมามีส่วนร่วม และรับรู้ปัญหาของทารก    เน้นบทบาทการดูแลของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด     จากการพูดคุยซักถามพยาบาล   บางส่วนตระหนักถึงปัญหาและเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้มารดามีการรับรู้พลังอำนาจในตนเอง    เพื่อเกิดความเชื่อมั่นในความสามารถที่จะดูแลบุตรด้วยตนเองได้      แต่ยังไม่มีการเกิดการเปลี่ยนแปลงในการให้บริการ    มารดาไม่มีส่วนร่วมในการดูแลบุตร    ไม่มีแนวทางชัดเจนในการส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดา และทำให้มารดารู้สึกว่ามารดาสามารถดูแลบุตรด้วยตนเองได้      แม้ว่าจะมีงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับมารดาและทารกก่อนกำหนด    เช่นจุฑารัตน์   มีสุขโข(2540)  ศึกษาความต้องการข้อมูลและช่วยเหลือสนับสนุนของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล        พรประภา     โลจนะวาศกร(2541) ศึกษาการให้ข้อมูลมารดาก่อนการเข้าเยี่ยมทารกเกิดก่อนกำหนดต่อระดับความเครียดและสัมพันธภาพมารดากับทารก      ชุลีพร   ด่านยุทธศิลป์(2541 ) ศึกษาผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลและการปรับตัวในบทบาทเป็นมารดาทารกก่อนกำหนด       นัยนา   วงษ์นิยม(2544)ศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกฝนของมารดาต่อความพร้อมของมารดาในการเลี้ยงดู    การเจริญเติบโต   ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมของทารกคลอดก่อนกำหนด    สมทรง    เค้าฝาย(2541)ศึกษาผลการเตรียมมารดาต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด       และกิจกรณ คำชู. (2546)  ศึกษาผลของการจําหนายอยางมีเเบบแผนตอความรู ความสามารถในการปฏิบัติการดูแลทารกคลอดของมารดาและภาวะสุขภาพของทารก   งานวิจัยเหล่านี้ยังนำมาใช้น้อยในโรงพยาบาลและไม่สอดคล้องกับลักษณะของหน่วยงานที่พยาบาลสามารถนำไปใช้ตอบสนองปัญหาความต้องการของมารดาในการดูแลทารกได้ทั้งหมด      ส่วนใหญ่เป็นการให้ข้อมูล    การสนับสนุน    การเตรียมความพร้อมเพื่อการดูแล      เป็นรูปแบบการพยาบาลที่พยาบาลเป็นผู้ให้ทั้งหมด      มารดายังไม่มีการประเมินปัญหา     การตั้งเป้าหมาย    การวางแผนให้การพยาบาลร่วมกับทีมสุขภาพ    ใช้สิทธิการเป็นมารดาที่จะมีการตัดสินใจเลือกวิธีการดูแลของตนเอง    กล้านำเสนอความคิดให้ทีมสุขภาพรับรู้ได้     งานวิจัยของกมลเนตร   ใฝ่ชำนาญ(2546)  ทำการศึกษาผลการให้มารดามีส่วนร่วมซึ่งกันและกันกับพยาบาลในการดูแลบุตรที่เกิดก่อนกำหนดต่อความเครียดของมารดา   ซึ่งสอดคล้องกับ   Melnyk et al., (2001) ไดศึกษาการมีสวนรวมของมารดาในการดูแลทารกคลอดกอนกําหนดตั้งเเตทารกยังรักษาอยูในหอผูปวยหนักทารกแรกเกิด (NICU)    ทำให้มารดามีส่วนร่วมในการดูแล    ส่งเสริมสัมพันธภาพและเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง    สามารถแสดงบทบาทการเป็นมารดาได้   มารดามีความรู้ทักษะในการดูแล      ในทางเดียวกันBernadette   et al. (2004)  ได้ศึกษาการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาที่มีบุตรป่วยหนักที่เข้ารับการรักษาในPICU  พบว่า   ผลลัพธ์ขั้นต้นมารดามีลดความวิตกกังวลของมารดา ( Maternal   anxity) ความคิดด้านลบ(negative mood state)และอาการการซึมเศร้า( depress ) มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมารดา ( Maternal beliefs)    ลดความเครียด (Parent  stress)และ   มารดาส่วนร่วมการดูแลเด็กป่วย( Parent  participation)     สอดคล้องกับสุภาวดี   ชุ่มจิตต์ (2547) ศึกษาการใช้โปรแกรมการสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลเด็กออทิสติกของบิดามารดาโรงพยาบาลยุวประสารทโยปถัมภ์    พบว่า ผลทำให้บิดามารดามีความรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและภาระการดูแลเด็กออทิสติก   รวมถึงเข้าใจระบบบริการของโรงพยาบาลและมีความตระหนักในคุณค่าของตนเอง      ทำให้บิดามารดามีพลังอำนาจ ที่จะดูแลเด็กออทิสติก  และสอดคล้องกับผลการศึกษาของ Marian et al.,2000  เนื่องการวิเคราะห์ผลระยะยาวของการเสริมสร้างพลังอำนาจครอบครัว   และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย   ผลการศึกษาพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของความรู้อย่างมีนัยสำคัญ   ซึ่งเป็นส่วนประกอบของการเสริมสร้างพลังอำนาจครอบครัว    และปริญญาภรณ์    บุญยะส่ง(2548) ศึกษาการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลเด็กปัญญาอ่อนของผู้ดูแลในครอบครัว   โรงพยาบาลปทุมธานี   พบว่าโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลเด็กปัญญาอ่อน    มีผลทำให้ภาระการดูแลในครอบครัวลดลงตามแนวคิดของกิบสัน(1995)ที่กล่าวว่า  การเสริมสร้างพลังอำนาจคือการเพิ่มความสามารถและความแข็งแกร่งของครอบครัวของผู้ดูแลให้สามารถควบคุมสถานการณ์      มีผลทำให้ภาระการดูแลลดลง   ดังนั้นจึงได้จัดทำแนวปฏิบัติการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาขึ้นในตึกNICU     เนื่องจากผู้ศึกษาเห็นว่าการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาสามารถนำกระบวนการมาใช้กับมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดได้    การเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดเป็นแนวทางหนึ่งที่เป็นการช่วยให้บุคคลมีความมั่นใจ   มีศักยภาพ และมีทักษะในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดได้   หรือความสามารถควบคุมโชคชะตาและช่วยเหลือได้     โดยมุ่งเน้นที่ความสามารถของบุคคลในการทำหน้าที่ของตน  หรือการทำให้มารดาสามารถค้นหา   พัฒนาและใช้ประโยชน์จากพลังที่มีอยู่ในตนเอง   ในการใช้สิทธิของต้น   แสวงหาความรู้   กล้าแสดงออกถึงความต้องการให้บุคคลอื่นรับทราบ  และเกิดการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ     โดยใช้กรอบแนวคิดของ Gibson(1995)   ซึ่งเป็นกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นกระบวนการภายในบุคคล(intrapersonal  process)  การเสริมสร้างพลังอำนาจนำมาซึ่งการรับรู้พลังอำนาจ  มารดามีความสามารถในการจัดการหรือควบคุมสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องได้    โดยมีการรับรู้ใน 4  ด้าน       1) ความรู้สึกถึงความสำเร็จในสถานการณ์ของเด็กป่วย     เกิดการชัดเจนมากขึ้นในการดูแลและประสบการณ์เดิมที่มีมาผสมผสาน    เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี   2) มีความพึงพอใจในตนเอง  เมื่อบุคคลประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้เกิดความพึงพอใจและความมั่นใจในการปฏิบัติงานต่อไป    3) การพัฒนาการดูแล  ซึ่งช่วยให้บุคคลมั่นใจในความสามารถของตนเอง  4) มีเป้าหมายและมีความหมายในชีวิต    โดยมีความมุ่งหวังผลลัพธ์ในระดับบุคคล    ของการใช้แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจไปใช้ในการปฏิบัติครั้งนี้      ให้มารดาเกิดความมั่นใจในความสามารถของตน   มีศักยภาพ และมีทักษะในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดได้    กล้านำพลังแสดงถึงความต้องการและมีส่วนร่วมในการดูแลทารกร่วมกับทีมสุขภาพ    และเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมของการพยาบาลที่มีการเสริมสร้างพลังอำนาจให้มารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดต่อไป 

วัตถุประสงค์หลัก 

         1. เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด 

วัตถุประสงค์เฉพาะ   

                   1. การเสริมสร้างการรับรู้พลังอำนาจของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด  

          2. พัฒนาทักษะการดูแลของมารดา

 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ     

                           1. ได้เป็นแนวทางที่เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาความสามรถการดูแลของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด    

                            2. ทารกได้รับการดูแลจากมารดาอย่างมีประสิทธิภาพ   และลดการกลับเข้ามารับการรักษาซ้ำหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล

  คำนิยามศัพท์

1.       ทารกคลอดก่อนกำหนด  ( Preterm Infant)       หมายถึง ทารกที่มีอายุครรภ์ 37

สัปดาห์เต็มหรือต่ำกว่านี้    โดยคำนวณจากวันมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายของมารดาและไม่คำนึงถึงน้ำหนักตัว     ส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มที่มีน้ำหนักทารกน้อยกว่า 2,500 รัม    ประเภทของทารกที่ทำการศึกษาเป็นกลุ่มทารกที่ใกล้เคียงกับเด็กปกติ(Borderline  premature) มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ที่มีน้ำหนักทารกน้อยกว่า 2,500 รัม  มีปัญหาน้อยที่สุด  และทารกคลอดก่อนกำหนดระดับกลาง (Moderately   premature) มีอายุครรภ์ระหว่าง  31-36 สัปดาห์  น้ำหนักอยู่ในช่วง  1,500-2,500 กรัม   ทารกกลุ่มนี้มีอวัยวะที่ไม่สมบูรณ์

        

 2. แนวปฏิบัติการเสริมสร้างพลังอำนาจ    หมายถึง  คู่มือการปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจของGibson (1995) โดยใช้กระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่การค้นหาสถานการณ์จริง  การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ       การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง      และการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ     โดยมุ่งผลลัพธ์การเสริมสร้างพลังอำนาจ  ในระดับบุคคล   คือการรับรู้พลังอำนาจ  ทำให้มารดาเกิดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง   และมีทักษะในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด 

  

         กรอบแนวคิดแนวปฏิบัติการเสริมสร้างพลังอำนาจ 

Iowa  Model  ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด

1.พิจารณาปัญหาที่ต้องการพัฒนา1.1Problem-focused trigger1.2Knowledge-focused  trigger2.ปัญหาที่เป็นที่ต้องการขององค์กร3.รวบรวมงานวิจัยและหลักฐานอื่นๆ4.พิจารณางานวิจัยสนับสนุนปัญหา มีเพียงพอหรือไม่- ระบุผลลัพธ์ที่คาดหวังจาการเปลี่ยนแปลง-รวบรวมข้อมูลก่อนดำเนินโครงการเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน-จัดดำเนินแนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์- ดำเนินการตามแนวปฏิบัติ- ประเมินผลทั้งกระบวนการและผลลัพธ์-ปรับแนวปฏิบัติ  
การรับรู้พลังอำนาจของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด

ทักษะการดูแล

            วิธีการดำเนินการศึกษา                โครงการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่มารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด   ดำเนินการโดยประยุกต์กระบวนการใช้ผลงานวิจัยของไอโอวา (IOWA Model of evidence-based practice to promote quality care, 2001)  ประกอบด้วย  ขั้นตอนดังนี้                1. เลือกประเด็นปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา  ในการเลือกประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษาครั้งนี้  ผู้ศึกษามีการวิเคราะห์ปัญหาจาก  3  แหล่งข้อมูล  คือ  -   จากประส


คำสำคัญ (Tags): #test
หมายเลขบันทึก: 81741เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2007 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากรบกวนปรึกษาเพิ่มค่ะ

สนใจเรื่องนี้ค่ะ "การพัฒนาแนวปฏิบัติการสร้างเสริมพลังอำนาจมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด" เนื่องจากว่ากำลังทำวิจัยเรื่องของการเตรียมความพร้อมมารดาโดนใช้แนวคิดของ Gibson กลุ่มเป้าหมายเป็นมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยมาก รบกวนหน่อยนะค่ะ ไม่ทราบว่าได้ลงตีพิมพ์ที่ไหนหรือเปล่าค่ะ จะได้ไปหาเอกสารมาอ่านเพิ่มเติมค่ะ ขอบคุณค่ะ

กำลังทำ is เรื่องแนวปฏิบัติการสร้างเสริมพลังอำนาจในผู้ป่วยcopd อยากศึกษางานอาจารย์เพิ่มหาอ่านได้ที่ไหนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท