ตัวอย่าง โครงการชาวเบาหวานร่วมใจห่วงใยเท้า


โครงการชาวเบาหวานร่วมใจห่วงใยเท้าหน่วยบริการปฐมภูมิ  โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี  

1.       หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังของระบบต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของหลายประเทศและอัตราความชุกของโรคมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และมีปัจจัยสนับสนุนด้านพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย ภาวะเครียด ประกอบกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ช่วยให้คนมีชีวิตยืนยาวขึ้น ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประมาณว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานอย่างน้อย 135 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 พบร้อยละ 97 และทำนายว่าความชุกของโรคเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 300 ล้านคนในปี ค.. 2025 และในจำนวนนั้นจะมีมากกว่า 150 ล้านคนที่อยู่ในทวีปเอเซีย ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเกือบ 2 เท่า สำหรับประเทศไทยและประเทศทางแถบเอเซียนั้นผู้เป็นเบาหวานร้อยละ 99 เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (เทพ หิมะทองคำ และคณะ, 2544)ความผิดปกติที่เท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดจากการเสื่อมของเส้นประสาทและหลอดเลือด ทำให้อัตราความเร็วในการนำสัญญาณประสาทลดลง ความไวของผิวหนังต่อการรับรู้สัมผัสลดลงหรือหายไป (กิตติ อังศุสิงห์, 2533) ซึ่งการเสื่อมของหลอดเลือดและเส้นประสาทมักปรากฏอาการมากที่เท้า ทำให้การรับรู้ความรู้สึกบริเวณเท้าลดลง เกิดอาการชา   เมื่อผู้ป่วยเดินสะดุดของแข็งหรือเหยียบของมีคมจึงไม่รู้สึกตัว เกิดเป็นแผลง่าย นอกจากนี้ยังทำให้เลือดไปเลี้ยงเท้าน้อยลง เกิดการขาดเลือดกลายเป็นเนื้อตายได้ เมื่อเกิดการติดเชื้อที่แผลขึ้นร่วมกับการที่ผู้ป่วยไม่ได้ดูแลใส่ใจเท้าเป็นพิเศษ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสถูกตัดขาได้เนื่องจากเกิดแผลเนื้อตายที่เท้ามากกว่าคนปกติถึง 40 เท่า(เทพ หิมะทองคำ และคณะ, 2544)            จากการศึกษาปรากฏการณ์พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลเท้าไม่เหมาะสมในเรื่อง  การดูแลและรักษาความสะอาดของผิวหนัง ได้แก่ ไม่ได้ทำความสะอาดเท้าอย่างทั่วถึงทุกส่วน และไม่ทำทุกวัน  การไม่ได้ตรวจเท้าหาความผิดปกติ  การป้องกันการเกิดแผลที่เท้า ได้แก่การตัดเล็บไม่ถูกต้อง โดยตัดเล็บเท้าสั้นชิดเนื้อและปลายมน และบางคนที่ตัดเล็บเองก็จะใช้ไม้หรือมีด แคะตามซอกเล็บ เมื่อมีเศษดิน สิ่งสกปรก  จะใช้ที่ตัดเล็บหรือมีด ตัดหนังหนา ตาปลาของตนเอง  ตัดเล็บเท้าโดยไม่ได้ล้างเท้าหรือแช่เท้าให้เล็บอ่อนตัวก่อน   แช่เท้าด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนเมื่อมีอาการเท้าชา หรือเท้าเย็น เหยียบลงพื้นปูนบนถนนที่ร้อน สวมรองเท้าแตะ การส่งเสริมการไหลเวียนเลือด ได้แก่ไม่ได้บริหารเท้า ชอบนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานานๆ  การดูแลรักษาบาดแผล ได้แก่เมื่อมีแผลที่เท้าไม่ได้ล้างแผล ทำแผลด้วยแอลกอฮอล์ ทิงเจอร์ไอโอดีน  ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้ศึกษาได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่เท้าซึ่งควรกระทำตั้งแต่เริ่มแรกที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานและเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ ผู้ป่วยจะได้รับการสอน การแนะนำ และ สนับสนุน รวมทั้งการกระตุ้นให้กำลังใจ จากทีมสุขภาพเพื่อคงไว้ซึ่งความพยายามในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพ   จึงได้จัดทำโครงการชาวเบาหวานร่วมใจห่วงใยเท้าเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลเท้าที่เหมาะสมต่อไป

2. วัตถุประสงค์ทั่วไป   

             เพื่อผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ถูกต้องเหมาะสม

3. วัตถุประสงค์เฉพาะ

                3.1  เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการเกิดแผลที่เท้า 

               3.2  เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลเท้า  

              3.3  เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ถูกต้องทั้ง 5 ด้าน

4. กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของ หน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลศูนย์สระบุรีที่ยินดีเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 คน

5. สถานที่   

             หน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลศูนย์สระบุรี

6. ระยะเวลาดำเนินการ  

           ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 – 12  มีนาคม 2550ดังรายละเอียดในแผนระยะเวลาและขั้นตอนการดำเนินการกิจกรรมโครงการ

7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

    1. ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการเกิดแผลที่เท้า

     2. ผู้ป่วยเบาหวานตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลเท้าและดูแลเท้าได้ด้วยตนเอง

    3. ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ถูกต้องทั้ง 5 ด้าน 

    4. คู่มือการดูแลเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

      8. การประเมินผลลัพธ์  

    1.  แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลเท้า ของคุณสายฝน  ม่วงคุ้ม (2546 ) โดยมีสเกลการคิดเป็น 5 ระดับดังนี้  ปฏิบัติเป็นประจำ= 5 , ปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่  =  4 ,ปฏิบัติปานกลาง   =  3,ปฏิบัติเป็นบางครั้ง  =  2และไม่ปฏิบัติเลย =  1   ซึ่งมีทั้งหมด  20 ข้อ รวมคะแนนทั้งหมด  100 คะแนน 

    2. แบบวัดความเชื่อด้านสุขภาพในการดูแลเท้าของคุณสายฝน  ม่วงคุ้ม (2546 ) โดยมีสเกลการคิดเป็น 5 ระดับดังนี้   มากที่สุด  =  5,มาก =   4,ปานกลาง = 3,น้อย = 2,น้อยที่สุด=1   ซึ่งมีทั้งหมด  25 ข้อ รวมคะแนนทั้งหมด  125 คะแนน  

   3. แบบบันทึกการตรวจสุขภาพเท้าของคุณ ณัฏฐินี  จารุชัยนิวัฒน์ (2545)ซึ่งมีรายละเอียดการตรวจทั้งหมด 5 ด้านได้แก่ เล็บ ผิวหนัง เท้าและนิ้วเท้า ชีพจร Peripheral Neuropathy และผลการตรวจความรู้สึกสัมผัสบริเวณเท้าทั้งหมด 10 จุด

                                              (นางสาวภัชธีญา  บุญพล)                              ผู้จัดทำโครงการ    

                                              ( ผศ.ดร.ธีรนุช ห้านิรัติศัย)                               อาจารย์ที่ปรึกษา 

หมายเลขบันทึก: 81738เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2007 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

อยากขอข้อมูลโครงการชาวเบาหวานร่วมใจห่วงใยเท้าหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

มาใช้ในการทำวิจัยของโรงพยาบาลคลองท่อมจังหวัดกระบี่เป็นฉบับเต็มน่ะค่ะ

อยากขอรายละเอียดข้อมูลโครงการชาวเบาหวานร่วมใจห่วงใยเท้า เพื่อนำมาเป็นแนวทางการทำวิจัยผู้ป่วยเบาหวานในอ.สอง

อยากขอข้อมูลโครงการชาวเบาหวานร่วมใจห่วงใยเท้าหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

มาใช้ในการทำวิจัยในคลินิคโรคเรื้องรังของ สอ เป็นฉบับเต็มน่ะค่ะ

  • กรุณาติดต่อพี่ที่โรงพยาบาลศูนย์สระบุรีนะครับ

อยากได้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลเท้า ของคุณสายฝน ม่วงคุ้ม (2546 ) แบบวัดความเชื่อด้านสุขภาพในการดูแลเท้าของคุณสายฝน ม่วงคุ้ม (2546 ) แบบบันทึกการตรวจสุขภาพเท้าของคุณ ณัฏฐินี จารุชัยนิวัฒน์ (2545) ขอบคุณค่ะ

ศันศนีย์ จินดาโชติ

อยากได้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลเท้า แบบวัดควยามเชื่อด้านสุขภาพในการดูแลเท้าและแบบบันทึกการตรวจสุขภาพเท้ามากๆ ขอบคุณ

อยากได้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลเท้า แบบวัดควยามเชื่อด้านสุขภาพในการดูแลเท้าและแบบบันทึกการตรวจสุขภาพเท้ามากๆ ขอบคุณ

อยากได้แบบประเมินความรุ้เกี่ยวกับโรคเบาหวานผู้ป่วยมีความตระหนักถึงการดูแลเท้าเราต้องประเมินอย่างไรพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ถูกต้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท