เรื่องเล่าจากดงหลวง 36 ความสัมพันธ์แบบดั้งเดิมคือสำนึกต่อกัน


ปัญหานี้ไม่ใช่มีเพียงจุดเดียว ตลอดสายมีหลายจุด หากจะทำต้องทำทั้งสาย ทุกจุดที่ชาวบ้านเดือดร้อน ดังนั้นเขาจึงไม่รับ หากจะจ่ายต้องจ่ายให้ทุกคนเท่าเทียมกัน.. นี่คือสำนึกไทโซ่ นี่คือสำนึกแห่งลัทธิเฉลี่ยสมบูรณ์ นี่คือสำนึกของแรงเกาะเกี่ยวทางราบ

จำได้ว่าตอนเด็กๆที่แพท่าน้ำซึ่งเป็นสถานที่สาธารณะของการขนถ่ายสิ่งของ การเดินทางไปตลาด ไปอำเภอซึ่งอาศัยเรือเดินทางเป็นหลักนั้น แพจะเป็นที่ชาวบ้านมานั่งคอยเรือเมล์บนตลิ่ง เรือยังไม่มาก็คุยกัน ใครผ่านไปมาก็นั่งคุยกันบางทีนานเป็นชั่วโมง จาก 2 คนแล้วเพิ่มเป็น 4 คน 5 คน ตกตอนเย็นๆชาวบ้านเสร็จภารกิจก็จะมาอาบน้ำกันที่แพแห่งนี้ พบกันอีก ก็คุยกันอีก ใครมีอะไรก็มาคุยกันตรงนั้น เด็กๆชอบที่จะนั่งเบียดผู้ใหญ่แล้วฟังเขาคุยกัน สารพัดเรื่อง ทั้งเสียงลือ เสียงเล่า เรื่องคอขาดบาดตาย เรื่องไร่นา ดินฟ้าอากาศ แม้กระทั่งความรู้ต่างๆ ก็เอามาคุยกันที่นั่น ก็มีทั้งผู้หญิงผู้ชาย แต่ส่วนมากเป็นผู้มีครอบครัวแล้ว 

 

ถ้าเป็นเรื่องเฉพาะก็จะเดินไปหากัน นั่งใต้ถุนบ้านบ้าง ขึ้นบนบ้านบ้าง แล้วแต่พอใจทั้งสองฝ่าย แน่นอนน้ำท่าก็ยกเอามากินกัน คนกินหมากกินพลูก็เอามาสู่กัน การต่อรองในกรณีที่มีการคุยกันถึงเรื่องการเช่าที่ทำนาก็เกิดขึ้นที่นั่นและจบลงโดยทั้งสองฝ่ายพึงพอใจ บรรยากาศเป็นแบบกันเอง เกรงใจกัน เห็นใจกัน ทำบุญทำคุณกันมากกว่าที่จะคิดเอากำไรถึงกับกินข้าวกินปลาด้วยกัน

 

ความสัมพันธ์แบบนี้จึงมีเรื่องจริงเกิดขึ้นว่า น้องเขยผู้เขียนเข้ามาอยู่บ้านตามธรรมเนียมการแต่งงานของสังคมไทย แต่เกิดขัดใจกันกับคนข้างบ้านซึ่งเป็นคนนอกที่เข้ามาอยู่ในครอบครัวญาติของเรา เมื่อต่างก็เป็นคนนอกของสายใยครอบครัว การคิดร้ายต่อกันก็มีขึ้นอันเนื่องมาจากความขัดใจกัน การคิดร้ายนี้เกิดขึ้นแต่เรามาทราบภายหลัง

 

คือว่า คนนอกของครอบครัวญาตินั้นไปจ้างนักเลงต่างถิ่นมาทำร้ายร่างกาย  นักเลงบ้านนอกนั้นมีสัจจะ แม้จะเป็นนักเลงก็มีหลักยึดมั่นบางประการแบบคนโบราณ เขาเล่าให้ฟังภายหลังว่าถูกว่าจ้างให้มาทำร้าย ซึ่งตอนแรกไม่รู้ว่าเป็นใครเมื่อรับงานมาแล้วก็สืบหาเป้า เมื่อรู้ว่าเป็นลูกเขยพ่อของผู้เขียน (หรือเป็นน้องเขยผู้เขียน) เขาก็บอกเลิกงานนี้เสีย เหตุผลเพราะว่า อดีตเขาเคยมากินข้าวบ้านหลังนี้ ตระกูลนี้เคยช่วยเหลือพี่น้องเขาไว้ในอดีต

 

ทำไมนักเลงโบราณยังมีสำนึก ที่คนก่อนๆมักเรียกกันว่า สำนึกข้าวแดงแกงร้อน ค่านิยมอันนี้มันเป็นสายใยรัดความสัมพันธ์ต่อกันไว้ ค่านิยมนี้จะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากคำว่า สำนึก ความสำนึกนี้มองอย่างผิวเผินก็เป็นสิ่งน่าทนุถนอมกล่อมเกลี้ยง เพราะคุณค่ามันดูดี ใครต่อใครสมัยใหม่อาจเรียกมันว่า นี่คือ ทุนอย่างหนึ่งของสังคมไทย จะเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นแรงเกาะเกี่ยวแก่กัน (Social adhesion) อันนี้หรือเปล่าคนโบราณพบกันจึงมักเรียกกินข้าว

 

แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนวิเคราะห์ว่า เจ้าแรงเกาะเกี่ยวทางสำนึกนี้ มันไม่ได้มีเฉพาะในแนวระนาบ(Horizontal line) มันมีในแนวดิ่งด้วย (Vertical line) ที่เรียกว่าระบบอุปถัมภ์ ซึ่งแปลกที่ว่าแรงเกาะเกี่ยวทางแนวราบจะลดลง แต่แรงเกาะเกี่ยวทางแนวตั้งยังพัฒนาเข้มแข็งมากขึ้นโดยเฉพาะสังคมที่มีอำนาจและผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ที่ชนบทไทยโดยเฉพาะที่ดงหลวงยังสัมผัสได้ถึง สำนึก และ แรงเกาะเกี่ยวในแนวราบ ดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัด มีตัวอย่างเช่น ความยึดถือในลัทธิเฉลี่ยสมบูรณ์ ที่จนก็จนเท่ากันหมด รวยก็ต้องรวยเท่ากัน อะไรทำนองนี้

 

แต่เรื่องจริงก็คือ  ผู้นำไทโซ่คนหนึ่ง ทางโครงการที่ผู้เขียนทำงานได้ก่อสร้างถนนในหมู่บ้านขึ้น ชาวบ้านชอบถนนเพราะทำให้การเดินทางสะดวก แต่ผลกระทบการก่อสร้างทางก็มี คือ ถนนไปขวางทางน้ำที่ชาวบ้านเคยได้น้ำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ เมื่อสร้างถนนขวางน้ำก็ไม่ไหล หรือไหลไม่สะดวก เกิดการต่อรองให้เอาท่อน้ำมาใส่ แต่ช่างและผู้รับเหมาไม่อยากเพิ่มงานที่เสร็จแล้ว (แม้ว่าการเสนอให้แก้ไขจะเรียกร้องมานานตั้งแต่ถนนยังไม่เสร็จ แต่ไม่แก้ไข) การเจรจาเกิดขึ้น ต่อหน้าผู้เขียน ผลสรุปคือ ให้เจาะถนนแล้วเอาท่อใส่ลงไปโดยให้ชาวบ้านทำเอง ทางผู้รับเหมาออกค่าแรงและวัสดุให้ 

วันต่อมาผู้นำไทโซ่ท่านนั้นไม่ยอมรับท่อและเงินค่าแรงอะไรนั่น พร้อมกับกล่าวว่า ปัญหานี้ไม่ใช่มีเพียงจุดเดียว ตลอดสายมีหลายจุด หากจะทำต้องทำทั้งสาย ทุกจุดที่ชาวบ้านเดือดร้อน ดังนั้นเขาจึงไม่รับ หากจะจ่ายต้องจ่ายให้ทุกคนเท่าเทียมกัน.. นี่คือสำนึกไทโซ่ นี่คือสำนึกแห่งลัทธิเฉลี่ยสมบูรณ์ นี่คือสำนึกของแรงเกาะเกี่ยวทางราบ ผู้เขียนรับรู้เรื่องสำนึกนี้ไปเต็มๆ
หมายเลขบันทึก: 81683เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2007 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

สำนึกของแรงเกาะเกี่ยวทางราบ เป็นสิ่งที่เริ่มจางหายไปจากสังคม.. เบิร์ดได้แนวทางในการทำงานชุมชนต้นแบบของ ชร.แล้วค่ะหลังจากงมหาต้นทุนที่ขาดหายไปอยู่นาน..ขอบคุณนะคะที่จุดประกาย ^ ^

สวัสดีครับคุณเบิร์ด

  • ต้นทุนทางสังคมเรื่องนี้เรามีมากในอดีต
  • มันจางหายไปเพราะโลกยุคใหม่เข้ามา โลกยุคใหม่ที่ไม่ได้ต่อยอดแรงเกาะเกี่ยวทางราบ ตรงข้ามกับทิ้งไปเลยสร้างเสริมความเป็นปัจเจก และค่านิยมใหม่
  • การเปลี่ยนแปลงผมไม่ได้คัดค้านแต่ต้องเปลี่ยนแปลงไปที่ต่อยอดสิ่งดีๆทางสังคมเราด้วย
  • หากคุณเบิร์ดจะเสริมสร้างประเด็นนี้ต่อ ผมยินดีด้วยครับและหากมีอะไรแลกเปลี่ยนกันก็จะเป็นการดีครับ
  • สังคมเหนือที่เป็นชนบทมีแรงเกะเกี่ยวทางราบอยู่มากครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • ตามมาดู
  • ไทยโซ่
  • ไทยทรงดำ ที่นุ่งผ้าฮีน ลายแตงโมเหมือนกันไหมครับ
  • แถวบ้านผมมีไทยทรงดำ
  • โจรเดี๋ยวนี้กิขข้าวบ้านไหนก็ปล้นบ้านนั้นเลยพี่
  • ขอบคุณครับ
  • ไม่เหมือนกันครับ
  • ไทโซ่ เรียกที่ถูกคือ "บรู" เหมือนเราเรียน ชาวแม้ว ที่ถูกต้องจะต้องเรียก "ชาวม้ง"
  • บรูเป็น "ชาวข่า" กลุ่มหนึ่ง ซึ่งรากเหง้าเป็นสายเดียวกับเขมร ภาษาหลายตัวเข้าใจกันได้ครับ วิถีชีวิตไทโซ่จะอยู่พื้นที่ภูเขา มีลักษณะการทำมาหากินคล้ายชาวเขา แต่ไทนทรงดำ อาศัยอยู่พื้นที่ราบเป็นส่วนใหญ่
  • โจรสมัยนี้เป็นโจรยุคโลกาภิวัฒน์ ไม่มีสำนึกใดๆทั้งสิ้น เอาแต่ผลประโยชน์อย่างเดียว
  • ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม
  • ตามมาขอบคุณ
  • อยากไปเที่ยวดงหลวงเสียแล้ว
  • ดงหลวงยินดีต้อนรับครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท