สันติชน
นาย วรนันท์ มูฮัมหมัด รอมฎอน บุนนาค

ม.นอกระบบ ม.ในกำกับ ทำไมจึงห้ามใช้คำว่าแปรรูป


มีความสับสน เดือดร้อนและไม่สบายใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ ข้าราชการ ลูกจ้างทั้งลูกจ้างประจำและชั่วคราว นักศึกษาและดดยเฉพาะประชาชนที่มีบุตรหลานเข้าเรียนและกำลังจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่แสดงความรู้สึกท้อแท้ใจต่อการปิดกั้นความรับรู้ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่ยอมนำร่าง พ.ร.บ.แปรรูปนำมหาวิทยาลัยของรัฐออกนอกระบบไปขัดทำประชาวิจารณืกับประชาชน ทั้งทั้งที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็ทราบดีว่าแม้ รธน.ปี2540จะถูกฉีกไปแล้ว แต่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ปี2548ยังอยู่ รวมทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็ได้ออกหนังสือให้เหตุผลไปยังผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐว่าการไม่นำ ร่าง พ.ร.บในการแปรรูปมหาวิทยาลัยไปทำประชาวิจารณ์กับประชาชนเป็นการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนทางการศึกษาอย่างร้ายแรง แม้ว่าล่าสุดรัฐบาลและคมช จะได้เสนอให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่จะนำมหาวิทยาลัยของรัฐแปรรูปออกนอกระบบใส่เกียร์ถอยหลัง ไม่ให้ผลักดันในรัฐบาลชุดนี้เพราะรัฐบาลเจอเรื่องหนักๆ ไม่ว่าจะเป็นคลื่นใต้น้ำ เรื่องความรุนแรงในภาคใต้ เร่องการเคลื่อนไหวไม่รับร่าง รธน.ฉบับคณะปฏิรูป และ ฯลฯแต่เราก็ชะล่าใจไม่ได้เพราะผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐต้องโอกาสจะแปรรูปเมื่อสบโอกาส ทั้งๆที่รัฐนาลชั่วคราวนี้ประกาศวาระแห่งชาติจะเดินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตามแต่หากที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้ก็ได้ผลักดันการแปรรูปมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ซึ่งทุกแห่งเกิดความขัดแย่งและถวายฎีกาของให้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยระงับการแปรรูปมหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัยที่ผ่าน ครม.และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ .
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ไม่ได้ผลักดันให้มหาวิทยาลัยของรัฐต้องปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลับออกนอกระบบราชการทั้งหมด หากแต่อยู่ที่ความพร้อม ความตกลงปลงใจร่วมกันของประชากรทุกหมู่เหล่าในมหาวิทยาลัย รวมทั้งประชาชนคนในเมืองคนที่ส่งลูกหลานเข้าเรียนผู้มีส่วนได้เสียรวมทั้งองค์กรภาคประชาสังคมที่ต้องมีส่วนรับรู้อย่างถ่องแท้ถึงเงื่อนไขการปรับเปลี่ยนข้อดีข้อเสียอย่างรอบด้าน ที่ประชุมใหญ่ อปมท.สภาอาจารย์ทั่วประเทศมีการร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยที่ดีที่ควรจะเป็น (อาจารย์พิสิฐ โจทย์กิ่ง ประธานสภาตณาจารย์ มข.)แต่ร่างนี้ไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ล่าสุดนักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยรามคำแหงออกมาประท้วงด้วยการอดอาหาร และบางคนประกาศเอาชีวิตเข้าแลกด้วยการอดช้าวและน้ำ รวมทั้งได้ยื่นหนังสือเข้าชื่อ 5,000 กว่ารายชื่อคัดค้านการแปรรูปมหาวิทยาลัยบูรพาและทั่วประเทศ ในขณะที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการนิ่งเฉย ดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หากนักศึกษาเหล่านี้อดข้าว จนถึงขั้นเสียชีวิตอะไรจะเกิดขึ้น เราอยากเห็นความเมตตา ความเอื้ออาทรของผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองนี้ นักศึกษาเองก้มีเหตุผลที่น่าสนใจ อาจารย์ ข้าราชการก็มีเหตุผลที่ดี ไม่เช่นนั้นการถวายฎีกาก็จะไม่เกิดขึ้น หากไม่เดือดร้อนจนหาที่พี่งของบ้านของเมืองไมได้ ความกังวลใจและความไม่พอใจของอาจารย์ ข้าราชการในมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นกังวลก็คือ 1.พ.ร.บ มหาวิทยาลัยห้ามไม่ให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานในมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบ  2กรณีถูกผู้บริหารมหาวิทยาลัยรังแก กลั่นแกล้ง อาจารย์ข้าราชการเขาไม่เชื่อมั่นกรรมการอุธรณ์เพราะคณะกรรมการอุธรณ์ก็เป็นคนของผู้บริหารมหาวิทยาลัยนั่นเอง ก็จะปกป้องกันเข้าข้างกัน จะไม่มีใครกล้าที่จะเปิดโปงกรณีคอร์รัปชั่น หรือทุจริต โกงกินได้อีกเลย 3. ผู้บริหารมหาวืทยาลัยจะผลักดันค่าหน่วยกิตที่เพิ่มขึ้น 4-5ตัว และเรียกเก็บแปะเจี้ยอุดมศึกษาที่เรียกว่าค่าธรรมเนียมพิเศษบางมหาวิทยาลัยเรียกเก็บคนละ 6,500บาทต่อคนต่อเทอม   มข.ปัจจุบันบังคับเก็บ6,500ต่อคนต่อเทอมแล้วพ่อแม่เด็กเดือดร้อนกันไปทั่วและไม่เข้าใจว่าเก็บไปทำอะไร  บาง มหาวิทยาลัยหน่วยกิตละ600-700 บาทแล้วทั้งๆที่ยังไม่ออกนอกระบบ เขาใช้วิธีแก้ พ.ร.บ มหาวิทยาลัยให้ดำเนินการได้ 4.บางมหาวิทยาลัยมีการนำคณะบางคณะ หน่วยงานบางหน่วยออกนอกระบบแล้วทั้งๆที่ยังเป็นมหาวิทยาลับของรัฐอยู่ เช่น มข. นำอาคารขวัญมอ ซึ่งมีห้องพักคล้ายโรงแรม มีร้านค้า ร้านอาหารออกนอกระบบ  นำสถาบันลุ่มน้ำโขงออกนอกระบบ นำวิทยาลัยบัญฑิตการจัดการออกนอกระบบ เหล่านี้ก็ด้วยการแก้ พ.ร.บ มหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 5. ข้าราชการจะถูกทำให้ต้องออกไปเป็นพนักงานของ ม.นอกระบบภายใน 2 ปีเป็นอย่างช้าเพราะเขาไม่สามารถจะคงคู่ขนานไว้ได้ต  รงนี้ไม่เรียกว่าแปรรูปแล้วจะให้เรียกว่าอย่างไร 6.พนักงานมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการจะไม่สามารถคัดค้านหรือแสดงความคิดเห็นต่างจากมติ ครม.ได้ หากเราเจอมติ ครม.ที่ไม่สร้างสรร อาทิให้เปิดบ่อนคาสิโนทุกจังหวัด  ให้มีกฎหมายทำแท้งเสรี  ให้แก้กฎหมาย พ.ร.บ.แร่เอื้อต่อนักธุรกิจและบรรษัทลงทุนข้ามชาติ ผลักดัน ม.ออนอกระบบทั้งๆที่ พ.ร.บหลายมหาวิทยาลัยไม่ได้ทำประชาวิจารณ์กับประชาชน ครม.ก็ยังหลับหูหลับตาผ่านมติอัปยศ 7.สิทธิเสรีภาพจะถูกควบคุม ใครที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยอยู่ไม่ได้ กรณี มข.ลบชื่อไล่ออกนักศึกษา 7 คน ปี2540 เพียงลุกขึ้นมาคัดค้านการปิดโอกาสไม่ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสรรหาอํการบดี ทั้งๆที่มหาวืทยาลัยอื่นเขาไม่ทำกัน 8.บรรยาการทางวิชาการจะเป็นไปเพื่อเอื้อแหล่งทุนที่เป็นไปในเชิงธุรกิจ จึงไม่แปลกใจที่มีอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐหลายคนด้านสื่งแวดล้อมจะรับจ้างหาเงินเป็นกอบเป็นกำทำวิจัย EIA เข้าข้างผู้ประกอบการ(กรณีโปแตส)ที่ประชาชนเกียจชังมากมายถึงขั้นเข้ามทาเดินขบวนประณาม ยังมีอีกมากกว่านี้ แค่นี้ก็หนักหนาสาหัสแล้ว มันไม่ใช่เรื่องค่าหน่วยกิตอย่างที่ รัฐมนตรี วิจิตรกล่าว อยากแลกเปลี่ยนโทร 089 4229747 .
หมายเลขบันทึก: 81631เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2007 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ ม.บูรพา

ตอนนี้พรบ.มหาวิทยาลัยนอกระบบทั้ง 4 แห่ง เสร็จแล้ว  รอจังหวะทีเผลอเขาจะนำเข้าสนช.พิจารณาผ่านวาระ2-3 รวดเดียวจบ  ตามความเขี้ยวของขิงแก่  คนที่ได้ดีเพราะม.นอกระบบอุ้มกันมาเป็นอธิการบดีหลายแห่ง  เป็นประธานที่ประชุมอธิการบดีก็มี  กำลังเดินเกมเต็มสูบ  ผู้บริหารประเทศหลายคนล้วนมีส่วนได้กับการนำม.ออกนอกระบบ  บางคนหากินกับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง  ถ้าออกนอกระบบได้  จะรวยไม่รู้เรื่อง  คนพวกนี้กำลังทำลายระบบราชการด้วยการปั่นราคาพนักงานให้สูงเกินจริง  เสแสร้งเอาใจพนักงานจนเสียระบบเพียงเพื่อหาเสียงสนับสนุน  ทำให้เกิดการแตกแยกไปทุกมหาวิทยาลัยไม่ต่างกับบ้านเมืองในปัจจุบัน  การทุจริตเชิงนโยบาย  ผลประโยชน์ทับซ้อน  แฝงวาระซ่อนเร้นของทุรชนในคราบนักบริหารและนักวิชาการระดับชาติกำลังไปได้สวย  เพราะมีการสนธิกำลังกันอย่างเข้มแข็ง  ชาวมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่คิดเอาแต่ตัวรอด  ครูใต้ตายเจ็บแทบทุกวันผู้มีหน้าที่กลับไม่ค่อยสนใจ    ม.นอกระบบเป็นเรื่องใหญ่ไม่สมควรที่รัฐบาลเฉพาะกิจจะมาทำ  ผมเองก็ต่อสู้มาไม่น้อย  ไม่ถอยแต่ก็ท้อ  ดีใจที่มีคนอย่าง"สันติชน"  อยู่บ้างในมหาวิทยาลัย  มีโอกาสผ่านมาชลบุรีแวะเยี่ยมกันบ้างนะครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท