หัวใจกับความพอเพียง และอิทธิพลของเนื้อหาสาระในรายการโทรทัศน์


กำไรอารมณ์ ที่ไม่ได้ยึดวัตถุเป็นเป้าหมายหลัก เป็นกำไรทางความรู้สึก กำไรทางจิตใจ ทำให้รู้จักคำว่า พอ มีหลายคนพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จนกลายเป็นแฟชั่น

มีหลายคนพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จนกลายเป็นแฟชั่น
ถ้าไม่พูดอาจจะดูเชย ต้องปรับตัวให้เข้ากระแส

หลายท่านสามารถอธิบายหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างละเอียด  แต่หัวใจไม่เคยพอเพียง



ลองมาติดตามดูกันว่า ทำไม คนหลายคนที่พูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หัวใจจึงไม่พอเพียง

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ การเปิดดูรายการโทรทัศน์ ซึ่งปัจจุบัน มีรีโมทให้กดเลือกตามใจชอบ
หลายท่าน เมื่อเปิดทีวี พบรายการที่ให้สาระความรู้ รายการพระเทศน์ในบางช่อง

รีบกดรีโมทจนปุ่มแทบจะหลุด กดเปลี่ยนช่องไป

เมื่อเจอรายการเกมโชว์ ละคร  ดารา รายการดูหมอ พยากรณ์
..สนอกสนใจ ตั้งใจดูตาไม่กระพริบ

เคยคิดหรือไม่ว่า




เนื้อหาหลายรายการ  ละครหลายเรื่อง

ทำให้เด็กหญิง กลายเป็น “นาง”  โดยที่ยังไม่ถึงวัย

ทำให้เด็กชาย  กลายเป็น พ่อคน แบบไม่รู้ตัว


เพราะการเลือกเสพสิ่งที่ไม่เป็นกุศลต่อชีวิต
เนื้อหาสาระ ที่ได้รับผ่านสื่อโทรทัศน์นั้น


เรื่องของความพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง กับเรื่องของหัวใจนั้น

เมื่อกล่าวถึงเรื่องเศรษฐกิจ หลายคนนึกถึงเรื่องของผลกำไร


ถ้าคุณนึกถึงกำไรในตัวเงิน แน่นอน ว่า คือ กำไรทางวัตถุ เป็นเป้าหมายหลัก ....ซึ่งไม่มีวันพอ

แต่ถ้ามีกำไรอารมณ์  นั่นคือ กำไรชีวิต
กำไรอารมณ์ ที่ไม่ได้ยึดวัตถุเป็นเป้าหมายหลัก เป็นกำไรทางความรู้สึก กำไรทางจิตใจ ทำให้รู้จักคำว่า พอ

จึงมีที่ว่างให้คนอื่นเสมอ


สำหรับหลายคน แม้จะนั่งบนเก้าอี้บนรถโดยสาร เบียดเสียดกัน แต่ยังพร้อมที่จะขยับ แม้มีพื้นที่ว่างนิดหน่อย ก็เติมใจที่จะเชิญชวนมานั่งด้วยกัน

 หรือลุกให้คนอื่นนั่ง  เพราะรู้จักคำว่า พอ
จึงมีที่ว่างให้คนอื่นเสมอ

ทำให้หัวใจรู้จักความพอเพียง



ถ้าใจไม่รู้จักพอ ย่อมอยากได้อย่างไม่รู้จบ เพราะหัวใจไม่รู้จักความพอเพียง นั่นเอง
หมายเลขบันทึก: 81570เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2007 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
genson คนเดิม (นามเรียกขานเพื่อการเข้าถึง 0708 ครับ)

ดใจครับที่เห็นพี่บอน พูดถึงปรัชญาเศรษฐกิจ อย่างเข้าใจ

เพราะมีหลายคนที่ได้ยินคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง แล้วมักจะมีภาพของท้องทุ่งลอยขึ้นมา  และก้มาคิดว่าตัวเองอยู่ในเมือง ที่มีความแข่งขันสูงคงไม่สามารถเศรษฐกิจพอเพียง หรือความพอเพียง ได้

ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงหรือความพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ ที่ล้นเกล้าผู้ทรงพรคุณอันประเสริฐ ทรงพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานมานั้น เป็นหลักปรัชญาที่สามารถประยุกต์ใช้กับทุกๆเรื่องที่เราทำ

โดยผมได้ศึกษาและวิเคราะห์พอสรุปมาได้ว่า ความพอเพียงนั้นหมายถึง

1. ความพอประมาณ รู้ศักยภาพของตัวเอง รู้ว่า สิ่งที่เรากำลังจะทำนั้น เราทำได้ เป็นที่ที่เราถนัด

2. ความมีเหตุผล มีความรู้ความชำนาญเป็นพื้นฐานรองรับสิ่งที่จะทำอย่างเพียงพอ และรอบคอบ รู้ว่าสิ่งที่จะทำนั้น ทำเพื่ออะไร

3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี มีคาดการณ์ เตรียมตัวรับกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ และมรความพร้อมที่จะแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในอนาคต

 

ซึ่งสามารถนำมาประยุกใช้ได้ในทุกๆเรื่องิย่างแท้จริง และยั่งยืน

 

 

แก้ไขที่พิมพ์ตกครับ *ดีใจที่เห็นพี่บอน..........

ขอบคุณครับที่แวะมาให้ความเห็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง แถมยังวิเคราะห์มาถึง 3 ข้ออีกด้วย

แต่ชอบข้อ 3 ครับ เรื่องของภูมิคุ้มกันที่ดี และมองถึงการเตรียมพร้อมในอนาคต ซึ่งหลายคนขาดจุดนี้ไปอย่างมาก

แต่อย่างหนึ่งที่ยังคาดการณ์ไม่ออก คือ  นามเรียกขานเพื่อการเข้าถึง 0708  คือ อะไร ยังไงหนอ ???

 สวัสดีค่ะคุณบอน

            เห็นด้วยกับคำว่า "ถ้าใจไม่รู้จักพอ ย่อมอยากได้อย่างไม่รู้จบ เพราะหัวใจไม่รู้จักความพอเพียง     ลองเข้าไปอ่านดูนะค่ะ เพราะราณีก็เคยเขียนถึงความพอเพียงเหมือนกัน  แต่ก็เป็นเดือนมาแล้ว  ไม่รู้ล่าช้าหรือเปล่า  เรื่อง จิตใจ พอเพียงได้หรือยัง http://gotoknow.org/blog/Ranee/77629

ขออนุญาตินำข้อความบางส่วนไปใช้เป็นแนวคิดในการทำสารคดีนะครับ  ขอบคุณครับ

สว้สดีึครับท่าน อ.Ranee
 ติดตามอ่านแล้วครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณ ak

 ยินดีและขอบคุณครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท