ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่ 1 ต่อความรู้ ความเชื่อมั่นในการดูแลตนเอง และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย


ว่าที่ร้อยตรีหญิงศิริวรรณ เจิมขุนทด – สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลราชวิถี
ดร.มนสภรณ์ วิทูรเมธา, ผศ.ดร. อำภาพร พัววิไล – คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) ชนิดวัดก่อนและหลังแบบมีกลุ่มควบคุม (Pre-post Test control Group Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่ 1 ต่อความรู้ ความเชื่อมั่นในการดูแลตนเอง  และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเพศชายและเพศหญิง  ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม คือ กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ จำนวน 20 ราย และกลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่ 1 สำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย จำนวน 20 ราย กำหนดให้ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายมีลักษณะใกล้เคียงกันในด้านอายุ เพศ กลุ่มของยาในการรักษาโรคหัวใจ และตำแหน่งของกล้ามเนื้อหัวใจตาย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ในการดูแลตนเอง  แบบสอบถามความเชื่อมั่นในการดูแลตนเอง  แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินการออกกำลังกาย โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่ 1 สำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย  แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเมื่อเกิดภาวะวิกฤติทางหัวใจขระฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ และคู่มือการออกกำลังกายกับโรคหัวใจ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Wilcoxon sign rank test และ Mann-whitney U test

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายหลังได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่ 1 มีความรุ้  และความเชื่อมั่นในการดูแลตนเองมากกว่าแต่ก่อนได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) และเมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการพยาบาลตามปกติกับกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่ 1 สำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้ ความเชื่อมั่นในการดูแลตนเอง และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001)

จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

 

หมายเลขบันทึก: 81563เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2007 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท