๒๘ ก.พ. ๕๐ ไปมูลนิธิข้าวขวัญ เรียนรู้ธรรมชาติกับชีวิตชาวนา


"ขอบคุณทุกการแบ่งปัน ที่ไม่มีของฉัน นั่นของเธอ"

หลังจากได้ยินชื่อมานาน ทั้งมูลนิธิ และคุณพี่เดชา ศิริภัทร

วันนี้ด้วยหน้าที่ เลยต้องมาที่มูลนิธิข้าวขวัญ มาดูพนักงานของบริษัทที่มาเรียนรู้จากชาวนากันที่นี่

 

 

รถออกเดินทางจากสระบุรี ๖.๓๐ น. เลี้ยวเข้าอำเภออู่ทอง ถึงที่หมาย ๘.๑๕ น.

 

 

กิจกรรมเริ่มเมื่อวาน เป็นกิจกรรมละลายพฤติกรรม และมีคุณพี่เดชา ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ มาพูดเรื่องความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ

 

 

เช้านี้คุณชมพู่ช่วยทำกิจกรรมแล้วแบ่งเป็นสามกลุ่มคือ เรื่องแมลง, เรื่องการคัดพันธุ์ข้าว และเรื่องดิน

 

 

ผมเข้าร่วมกลุ่มเรื่องแมลง บรรยายโดยพี่หนึ่ง มีน้านครเป็นคุณอำนวยร่วม

 

 

วิธีการปฏิบัติในนานข้าวช่วยลดความเสียหายจากศัตรูพืช

. วิธีเขตกรรม

. วิธีกล พวกหุ่นไล่กา

. ชีววิธี

. การใช้สมุนไพรแทนสารเคมี

เน้น ๒ ข้อหลัง

ต้องไปโฉบ จับแมลงมาศึกษา เดี๋ยวเราจะได้ไปโฉบด้วย แค่ได้ยินก็น่าสนุกแล้ว

 

 

คนที่นี่ไม่ธรรมดาเรื่องความรู้ คำว่า คุณกิจ คุณอำนวย นี่ไม่ใช่แค่พูดครับ ทำให้เห็นกันเลย ชาวนาเขาเข้าใจชัดเจน

 

 

แนวคิดเรื่องเกษตรกรที่เดิมทำงานแค่ช่วงเช้า กลายมาเป็นกรรมกร ที่ต้องทำงานทั้งวัน นี่คือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากวิถีเดิม ที่เราหันมาใช้สารเคมี

 

 

แมลงที่เป็นโทษมีน้อยกว่าแมลงที่เป็นประโยชน์ เอาตารางมาเทียบให้ดูเลย

แมลงที่เป็นโทษ เช่น

หนอนกอ

แมลงดำหนาม

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

แมลงสิง

 

 

แมลงที่เป็นประโยชน์ เช่น

เราเรียกแมลงที่กินแมลงอื่นว่า ตัวห้ำ

แมงมุมตาหกเหลี่ยม ช่วยกินแมลง

แมงมุมสุนัขป่า กินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

แมลงปอเข็ม

แมลงปอบ้าน

ด้วงดิน

มวนจิงโจ้ กินตัวอ่อนเพลี้ยที่ตกลงในน้ำ

จิ้งหรีดหางดาบ

ตั๊กแตนหนวดยาว

ตัวเบียนหรือแตนเบียน มีหลายชนิด เกาะหลังแมลงศตรูพืชจนอ่อนแอไปเอง

แมลงวันก้นขน

แมลงเหล่านี้เป็นเพื่อนกับชาวนา

 

 

สำคัญมากคือ ห้ามเผาฟาง เพราะจะทำลายแมลงทั้งสองกลุ่ม

 

 

ชาวนาสมัยนี้ทำหน้าที่แทนแมลงปอ แมงมุม ไปกินแมลงศัตรูพืชแทน

 

 

พี่หนึ่งสอนให้มองด้านบวก เช่น น้ำท่วมให้มองเป็นประโยชน์ได้ ทำให้เราเข้มแข็ง แปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส

 

 

เวียนไปดูอีกสองกลุ่ม คือ กลุ่มคัดพันธุ์ข้าว พี่เขาจะสอนลักษณะของเมล็ดข้าวดี ไม่ดี เป็นอย่างไร แล้วให้ทดลองคัดข้าวจริงๆ

 

 

อีกกลุ่มคือกลุ่มดิน พี่ชาวนากำลังเล่าเรื่องดินที่เคยเสียและการแก้ไข ส่วนกิจกรรมยังไม่ชัดเจน

 

 

กลับมายังกลุ่มแมลงต่อ พี่หนึ่งแจ้งภาคปฎิบัติ

โฉบแมลงแปลงนา เพื่อการเรียนรู้ต้องฆ่าแมลง ยังงงๆ อยู่

คุณกิจทั้งหลายเริ่มโฉบแมลงแปลงนากันเป็นแถว

 

 

มีนกปากห่างยืนกินหอยอยู่ไกลๆ

 

 

โฉบกลับมา ตอนขากลับเห็นบ้านบนต้นไม้ด้วย ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกไว้หน่อย

 

 

แยก แมลงตัวดีได้ ๔๐๙ ตัว ๘ ชนิด

ตัวร้ายได้ ๒๑ ตัว ๕ ชนิด

ดูแล้วตัวดีมากกว่าตัวร้ายเยอะมากเลย

 

 

แสดงฝีมือวาดรูปประกอบ แมลงตัวดี และตัวร้าย ไว้ด้วย

 

 

สิ่งที่วิทยากรเน้นให้เรียนรู้จากกิจกรรมครั้งนี้ คือ ธรรมชาติจะมีวิธีจัดการด้วยตัวเอง ไม่ต้องไปยุ่งกับเขามากนัก ดังเช่นแมลงดีในธรรมชาติจะมีมากกว่าแมลงศัตรูพืชมากมายทีเดียว

 

 

อีกประเด็นคือการใช้สารเคมีจะทำลายแมลงดีไปด้วย ซึ่งเราควรหลีกเลี่ยง

 

 

ประเด็นที่แต่ละกลุ่มต้อง Discuss

. องค์ความรู้ที่ได้รับ

 

 

. กระบวนการจัดการความรู้ของชาวนา (แนวคิด, การมีส่วนร่วม)

พี่สมพรถูกชักชวนจากพี่หนึ่งตอนปี ๒๕๔๔ ปัจจุบันไม่ใช้ยาฆ่าสัตว์อีกเลย

 

 

. บทบาทของ "คุณกิจ" และ "คุณอำนวย" ทั้งในแง่ชาวนาที่เคยเป็น คุณกิจ แล้วมาเป็นคุณอำนวย และพวกเราที่เป็นคุณกิจในปัจจุบัน

คล้ายกันคือ ต้องลงมือทำจริง

 

 

คุณอำนวย พี่หนึ่ง พาพี่สมพรไปคุยกับคนที่ประสบความสำเร็จก่อน จะได้ฟังจากของจริงเลย หากสนใจเรื่องอื่นต่อ พี่หนึ่งในฐานะคุณอำนวยจะจัดหาให้

 

 

. การนำไปประยุกต์ในส่วนของเนื้องาน

 

 

กลุ่มคัดพันธุ์ข้าว

ชาวบ้านปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้เหมาะกับการไม่ใช้สารเคมี

 

 

พันธุ์ข้าวที่ดี

จมูกข้าวเล็ก

ผิวมันวาว ไร้ทอ

 

 

เพาะพันธุ์ข้าวด้วยข้าวกล้อง ใช้เวลาน้อยกว่าปลูกด้วยข้าวเปลือก

 

 

ทำอะไรทำให้เป็นศิลปะ มีความละเอียดในการทำงานให้มาก เช่น คัดพันธุ์ข้าว พี่เดชาบอกว่าเรากำลังเป็นผู้ตัดสินการประกวดนางงาม

 

 

การคัดพันธุ์ข้าวนั้น นอกจากจะต้องใจรักแล้ว ความอดทนต้องเป็นเลิศ พี่เดชาบอกว่าต้องคัดแล้วปลูกถึง ๘ รอบๆ ละ ๖ เดือน (คัดพันธุ์ ๒ เดือน ปลูก ๔ เดือน)

ความต้องการของข้าวไทย คือ ข้าวสูง และ ไม่ล้ม สามารถทำได้ด้วยการคัดพันธุ์

 

 

อีกกลุ่มเรื่องดิน เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์

ลุงสนั่น เล่าการจัดการความรู้ ที่ผ่านมา เนื่องจากเนื้อเรื่องน่าสนใจ เลยอยากมาเรียนทุกอาทิตย์ เมื่อต้องการรู้เรื่องไหน ทางมูลนิธิก็จะหามาให้

 

 

คุณอำนวยที่ได้ของกลุ่มดิน ก็ต้องหมั่นหาสิ่งที่เขาต้องการ และหามาให้เขา

 

 

คุณกิจต้องลงมือทำ อาจเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกับคุณอำนวย

ต้องช่างสังเกต และหมั่นจดบันทึก

ต้องลงมือทำ

และต้องมีใจรัก และ ศรัทธา ในสิ่งที่ทำ

 

 

คุยกันเรื่องดินเสื่อม พี่เดชาบอกว่าแค่หนึ่งปีก็สามารถปรับสภาพได้ ใช้ฟางเป็นหลัก ดินดีย่ำแล้วต้องยวบลงไปเยอะๆ ครึ่งแข้งยิ่งดี

อินทรีย์วัตถุใส่แล้วเป็นกลาง

ดินดีหน้าดินไม่เกิน ๕๐ ซม. เพราะฉะนั้นอย่าไถ ใช้การย่ำทับไปเรื่อยๆ ด้วยฟาง

หลักเกษตรต้องค้นจากอินทรีย์ หากแมลงดีไม่พอ เอาสมุนไพรมาควบคุมแมลงไม่ดีเอา เช่น น้ำดอกสะเดามาช่วย

ดินดี ๓๐๐ ถังต่อไร่ เคมีอย่างมาก ๑๘๐ ถังต่อไร่

แมลง เป็นขั้นอนุบาล

ดิน เป็นขั้นประถม

พันธุ์ข้าว เป็นขั้นมัธยม

 

 

งานนี้มีบุคคลากรจากโรงเรียนภาษาและภูมิปัญญาตะวันออก (www.okls.net)  มาร่วมด้วย ๕ คน

 

 

หลังเบรคบ่าย

พี่ติ๋มมาสรุปทั้งสามกลุ่ม

กลุ่มแมลง

แมลง และ สมุนไพร

การเรียนรู้ใน KM ต้องไม่ยัดเยียด ดังนั้น คุณอำนวยต้องหมั่นสังเกตความต้องการของคุณกิจ

คุณอำนวยต้องเป็นนักทดลอง นักวิจัย นักชักชวนมืออาชีพ

 

 

ทุกกลุ่มมีมูลเหตุจูงใจ เหตุใดข้าวขวัญจึงต้องดำเนินการ ทำไมชาวนาจึงต้องเปลี่ยน

 

 

. ตั้งโจทย์ปัญหา

. ตั้งเป้า

 

 

ให้แต่ละ Cell คิดทุนทั้งหมด ปัญหาที่ Cell ประสบอยู่

กิจกรรมเดียวกัน

 

 

กลางคืนคุยกับพี่จิ๋ม (บุคลากรอีกคน) แกบอกว่า มูลนิธิตั้งมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๒

พี่จิ๋มเป็นนักอ่านเหมือนกัน ที่ชอบอ่านคือแนววิเคราะห์การเมือง

 

 

พี่หนึ่งแปรสภาพเป็นเอ็นเตอร์เทนเนอร์ในกลางคืน เรียกความครื้นเครง อารมณ์เพื่อชีวิตกลับมาอีกครั้ง หลังจากไม่พบอารมณ์นี้มานาน

 

 

ก่อนนอนพี่เดชามาคุยด้วย แกเล่าว่าบวชรุ่นเดียวกับพระพยอม พี่เขาบอกว่าตอนแรกพระพยอมเทศน์ไม่ดีเลย จนวัดร้างถล่ม พระพยอมสลบเป็นหลักวัน ฟื้นมาเปลี่ยนเป็นคนใหม่ และเทศน์เลียนแบบพวกตลก จนโด่งดังในปัจจุบัน

 

 

คุยต่อเรื่องน้ำท่วมโลกอีก ฟังไปหลับไป

 

 

เช้าตื่นหกโมงเช้า อาบน้ำ ทานข้าว นั่งคุยกับคุณย่ง แห่ง โรงเรียนภาษาและภูมิปัญญาตะวันออก (www.okls.net) เริ่มจากพิณกู่ฉิน อ่านหนังสือ จนดูหนัง คุณย่งชอบดูหนังในโรง น่าสนใจครับกัลยาณมิตรคนนี้

 

 

คุณย่งชวนเล่นชี่ แบบคนจีน เน้นพลังระหว่างฝ่ามือ

ชอบมากตรงให้มุ่งความสนใจทั้งหมดไปยังนิ้วต่างๆ ของมือทีละนิ้ว คิดไว้ว่า น่าจะดีหากเรานำความสนใจทั้งหมด ไปยังคนที่รักเรา หรือคู่สนธนากับเรา

คุณชมพู่เล่นต่อเรื่องความเชื่อมโยง โดยให้มองคนสองคนที่สนใจ หากเขาขยับให้เราขยับตามให้ระยะที่เหมาะสม ขยับกันใหญ่ ทำให้เห็นว่าทุกอย่างเชื่อมโยงกัน ขยับหนึ่ง ทำให้หลายคนหรือทั้งหมดต้องขยับ เหมือนการทำงานเป็นทีม ทุกคนเกี่ยวเนื่องกันหมด

 

 

เช้ามีกลุ่มมาสรุปเหตุการณ์เมื่อวาน

 

 

แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานที่จะทำในที่ทำงาน พี่จิ๋มบอกไว้เมื่อคืนว่า จะสนใจกระบวนการคิดโครงงาน มากกว่าผลงานที่ออกมา

 

 

ขอข้ามกลุ่มของโรงงานนะครับ

กลุ่มโรงเรียนสอนภาษา

ก่อตั้งปี ๒๕๔๑

ปรับปรุง ๔ เรื่อง

ครู

หลักสูตร

คุณภาพการบริการ

ทัศนคติในการเรียนภาษา เช่น ผู้ปกครอง วิธีดึงดูดเด็ก

พี่จิ๋มบอก ทำอย่างไรให้เด็กทำบ่อยๆ จนเขาทำได้จนเป็นนิสัย

พี่จิ๋มถามว่า จะชั้นนำด้านไหน บริการ หรือ วิชาการ หรืออื่นๆ

ลองเอา KM เข้าไปใช้

จุดมุ่งหมายขององค์กรให้ชัดเจน

คุณธนกฤติ ออกความเห็น

การเลือกเด็ก ให้ดูเซนโย สอบผู้ปกครองด้วย

การดูแลครู ให้เหมือนหมอเก่งๆ ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่ดูแลหมอเด็ก (ที่เป็นตุ๊ส)

การบริการ ดู 7-eleven ที่บริการเหมือนกันทุกสาขา มีลูกค้าลึกลับไปทดสอบแต่ละสาขา

ยกตัวอย่างสายการบินจะดูแลลูกค้าเมื่อทำกาแฟหกต่างกัน เช่น เด็ก, ผู้ชาย, ผู้หญิง

พี่จิ๋มบอกให้ดู AUA ที่เข้าง่าย แต่ก่อนจบต้องได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

คุณภวัตบอกให้ดูคนอื่นมากๆ

กลุ่มค่ายร่มธรรม

นำเสนอค่ายร่มธรรมเฟสหนึ่ง ใช้เวลาหกเดือน

ปฎิบัติธรรม

ศูนย์การเรียนรู้

การเกษตรกรรม

พี่จิ๋มบอกว่าคล้ายสันติอโศก

แต่จุดอ่อนอยู่ที่การเกษตร

ยกตัวอย่างคุณขวัญดินที่สันติอโศก ที่เก่งเรื่องดิน ซึ่งไม่พอในเรื่องการพัฒนาเทคนิคการเกษตรซึ่งมาเรียนเอาที่นี่ แล้วเขาก็เก่ง

คนทำงานต้องชัดเจนและแน่นจริงๆ

 

 

คำคุณชมพู่แว่วก่อนทานข้าวเที่ยง "ขอบคุณทุกการแบ่งปัน ที่ไม่มีของฉัน นั่นของเธอ"

 

 

หลังอาหารเที่ยง พี่จิ๋มนำเสนอโมเดลปลา

สิ่งสำคัญของการเรียนรู้คือเริ่มปฎิบัติ เริ่มแรกเลียนแบบไปก่อน

 

 

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นจุดสำคัญ เพื่อให้เกิดชุดความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย

เครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาจไฮเทค หรือ โลวเทค ก็ได้ แต่ต้องตอบวัตถุประสงค์มากที่สุด

การบันทึก ติดตาม และการประเมินผล เป็นกระบวนการสำคัญที่สุด

บันทึกบางครั้งใช้รูปภาพ

ข้าวขวัญมีการเปิดใจ

AAR = After Action Review

 

 

แนวคิด ๘ ข้อ

. คิดว่าทุกคนเท่าเทียมกัน

. การใช้อำนาจปิดกั้นการเรียนรู้

. ให้การฟังอย่างลึกซึ้ง

. ให้คิดทางบวก

. เอื้ออาทร/เปิดเผย/จริงใจ/ไว้วางใจ

. เรียนรู้ร่วมกันด้วยการปฎิบัติ

. ถักทอความรักภายในองค์กร

. การเจริญสติในการทำงาน

 

 

อย่าไปหวังเปลี่ยนคนทั้งโลก ให้เปลี่ยนตัวเองง่ายที่สุด

รักคนอื่นมากๆ

 

 

คุณชมพู่สรุปเรื่องที่เราอยากรู้ในวันแรก มาทบทวนว่าพวกเราได้ครบทุกข้อไหม

ผ่านต้นไม้แห่งความคาดหวัง

และสุดท้ายเสนอสิ่งที่เหนือความคาดหวัง เช่น

ทุกคนมีน้ำใจมาก วิทยากรหลายคนหน้าตาคุ้นๆ คุ้นเคยตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอเลย

บางคนคิดว่าน่าจะประยุกต์ใช้ในชีวิต และการงานได้

ตบท้ายด้วยการเอาวีดีโอประกอบบทเพลงมาให้ชมบรรยากาศทั้งสามวันที่อยู่ที่นี่

หลายกิจกรรมเรียกเสียงหัวเราะได้สบาย

ปิดท้ายจริงๆ คุณเดชา ก็มากล่าวปิด ให้เราหมุนหลายๆ วงรอบของการจัดการความรู้

ท่านอยากให้เห็นและรู้จักมูลนิธิข้าวขวัญมากขึ้น นอกเหนือจาก KM ที่ได้รับไป

ให้ทุกคนเรียนรู้ชีวิต ที่ยากที่สุด แต่เราเรียนรู้น้อยที่สุด ให้จัดการชีวิตให้เป็นฐานสำหรับรอบหน้าที่จะหมุนมาเรื่อยๆ

การเรียนรู้ชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เรื่องงานอย่างเดียว

KM มาจาก อริยสัจสี่ นี่เอง เราไปใช้ในชีวิตได้

การเรียนรู้มาจากการเล่นก็ได้ เรียนรู้ต้องมากับความรื่นเริง สนุกสนาน

คุณเดชาอิงธรรมะเป็นระยะๆ

ที่นี่ทำงานมีความสุข แม้บางเดือนจะเงินขัดสน พยายามทำให้ที่ทำงานมีความสุข

คุณเดชาบอกว่าให้เอาของดีๆ กลับไป สร้างความสุขให้ได้ และขยายผลความสุขด้วย

มีความสุขมากครับที่ได้มาที่นี่ วิถีชาวนา และคนทุ่มเท สอนเราได้ดี  

 ชมภาพทิวทัศน์ ที่ http://www.oknation.net/blog/preephati/gallery/775   

หมายเลขบันทึก: 81488เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2007 06:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วเพลินดี เสาร์ที่แล้ว พี่ก็เจอ พี่ เดชา ที่งาน ตลาดนัดสีเขียว ที่่สุรินทร์ พี่เด มา อภิปราย เรื่อง ข้าวพันธ์ไทย พันธ์ทาส.......

 น่าสนใจดีเรื่องนี้ อย่างเรื่องแมลง นี่ดีมาก

ต้องวาดรูปด้วยนะถึงจะจำได้ดี และสนุกด้วย

พี่ก็ไม่รู้จักแมลงเยอะหรอก   อยากเป็นนักวิจัยแมลง

จะได้ นั่งคุยกับแมลง หน้าตาหลากหลาย มีทั้งตัวดีน้อย

กับเอมาก ใช่มั้ย 

ดีใจที่ทีมทำงานนี้ได้ดูงานที่นี่....

อยู่บริษัทอะไร ทำไมเขาพาเจ้าหน้าที่ไปดูงานดีจัง 

พี่ไม่เคยไปเลย..แฮะๆ 

ไปมาแล้วค่ะ ประมาณต้นปีเดือนมีนาคม ค่ะ สนุกค่ะ

ชอบพี่ชมพู่ แลพี่เด พี่จิ๋ม และอีกหลายคน ตอนนั้นไปกับพวกพี่ๆที่ปูนซีเมนต์ด้วย เป็นหนุ่มๆ พอดีเราเป็นกลุ่มเล็กที่ไปรวมกับเค้าอีกทีก็OKLS ก็ดีค่ะลุยดี ทำให้รู้เลยว่าต้องกินข้าวให้หมดจาน เพราะชาวนางะเค้าเหนื่อยมาก อากาศร้อนมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท