การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ยั่งยืน


เมื่อได้หลักการตรงกันแล้ว จึงจัดให้มีการประชุมปฏิบัติการร่วมกันพร้อมกันทุกหน่วย(ครูจะได้ไม่ถูกประเมินหลายครั้ง)

        3-4 วันที่ผ่านมาผมได้รับเชิญจากสำนักงาน ก.ค.ศ.ให้ไปร่วมประชุมพิจารณาแนวทางประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาฯ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีภาระงานซ้อนกันอีกงานหนึ่งคือการเป็นกรรมการออกข้อสอบ และกรรมการสอบสัมภาษณ์ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่จังหวัดนนทบุรี จึงต้องขับรถไปกลับนนทบุรี – พระนครศรีอยุธยา ถึง 3 วัน เพื่อทำงาน 2 ภารกิจในวันเดียวกันถึง 2 แห่ง เลยว่างเว้นเขียนบล็อกไป 2 วัน
         เรื่องที่ผมตั้งข้อสังเกตและอยากเล่าให้ฟังก็เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไปอยุธยา โดยผมมีความรู้สึกว่า
พรบ.ระเบียบข้าราชการครู ฯหลายมาตราที่กำหนดตอนท้ายแต่ละมาตราว่า ….”ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด” ซึ่ง ก.ค.ศ.ก็ต้องตั้งคณะทำงานและเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาคิดหลักเกณฑ์และวิธีการทยอยทำไปในแต่ละมาตราเพื่อให้ครบทุกมาตรา ซึ่งนอกจากจะต้องใช้เวลามากแล้ว สำนักงาน ก.ค.ศ.ก็ยังมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างอิสระ เพราะต้องทำตามมติของคณะกรรมการ ก.ค.ศ.เท่านั้น (ตามนโยบายการเมือง และข้อเรียกร้องของแต่ละกลุ่มด้วย) เจ้าหน้าที่เองก็มีจำกัด จึงจำเป็นต้องแยกกลุ่มทำงานกันแต่ละเรื่อง ซึ่งดูเหมือนจะดีเพราะจะทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น แต่ความเป็นจริงแต่ละมาตรามีความสอดคล้องกัน การแยกกันทำก่อให้เกิดการแยกส่วนและขาดการร้อยรัดกัน เลยเกิดปัญหาตามมาไม่รู้จบสิ้น(เหมือนลิงแก้แห)
          ผมจึงอยากเสนอแนะว่า การดำเนินการใน
กลุ่มมาตราที่มีสาระใกล้เคียงกัน สำนักงาน ก.ค.ศ.น่าจะคุยกันในหลักการเชิงนโยบายให้ตรงกันก่อน เช่น เรื่องการประเมินและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ตั้งแต่มาตรา 42 (กำหนดมาตรฐานตำแหน่งมาตรฐานวิทยฐานะ) มาตรา 56(การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม) มาตรา 54(การพระเมินเลื่อนวิทยฐานะ) มาตรา 55(การประเมินคงสภาพวิทยฐานะ) เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้ไม่เพียงแต่คุยกันใน ก.ค.ศ.เท่านั้น ต้องคุยร่วมกับ คุรุสภาซึ่งต้องดูแลเรื่องใบประกอบวิชาชีพครู รวมทั้งหน่วยงานใช้ครู หน่วยงานพัฒนาครู ด้วย
        เมื่อได้หลักการตรงกันแล้ว จึงจัดให้มีการประชุมปฏิบัติการร่วมกันพร้อมกันทุกหน่วย(ครูจะได้ไม่ถูกประเมินหลายครั้ง) โดยจัดแยกกลุ่มดำเนินการแต่ละมาตราบนพื้นฐานหลักการเดียวกัน ซึ่งอาจใช้
มาตรฐานหรือสมรรถนะ(Competency) เป็นฐาน เพื่อให้คนที่จะเข้ามาสู่วิชาชีพครูได้รู้เส้นทางวิชาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ รวมทั้งค่าตอบแทนที่จะได้รับของเขาที่ชัดเจนตั้งแต่แรก ตั้งแต่เข้าเรียนฝึกหัดครูด้วยซ้ำ เขาจะได้ตัดสินใจถูกว่าเขาเหมาะสมต่อวิชาชีพนี้แค่ไหน คนที่ตัดสินใจเข้ามาก็จะต้องภูมิใจรักวิชาชีพนี้ มีจิตวิญญาณของความเป็นครูจริงๆ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาวิชาชีพ ที่มีทิศทางที่ชัดเจน
       นี่จึงจะยกระดับวิชาชีพนี้ให้เป็นที่ยอมรับและภาคภูมิใจได้
        ไม่ใช่วันวันพูดกันแต่เรื่อง “ครูเป็นหนี้” ให้วิชาชีพนี้ตกต่ำลงไปทุกวัน

หมายเลขบันทึก: 81446เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2007 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เห็นด้วยค่ะ จะบอกคุณครูว่าเป็นกำลังใจให้คนดี ๆ ทำงานต่อไป ราณีตามไปป่วนทุกบันทึกตั้งแต่ตอนแรก ถึงตอนที่ 13 เรื่องความในใจของบุญถึงแล้วนะค่ะ
เห็นด้วยครับ อย่าลืมคุรุสภานะครับ เขาดูแลเรื่องใบอนุญาต ต้องให้เกียรติกัเพื่อประโยชน์ของครูทุกคนครับ
     ถ้าระดับนโยบายเห็นด้วยเหมือนกับ 2 ท่าน อะไรๆก็คงดูดีขึ้นนะ
    ...อ้อ..มีคุณครูเขาทวงมาว่า  เมื่อไรจะให้ครูเขาทำหน้าที่ "สอน" อย่างเดียว ไม่ต้องทำงานธุรการ หรืองานจิปาถะเหมือนทุกวันนี้  ตอนนี้ก็กำหนดตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาแล้ว ควรกำหนดให้มีในโรงเรียนเสียที
     ถ้าให้ครูสอนอย่างเดียว "จะมาประเมินอย่างไรจะไม่ว่าเลย" ครูเขาบอกมาอย่างนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท