แอสไพริน


ยาแอสไพริน

แอสไพรินเป็นยาลดไข้ บรรเทาปวดที่ท่านผู้อ่านคงจะรู้จักและแพทย์เองก็ใช้กันมานานนับร้อยปีแล้วค่ะ เมื่อครั้งที่วงการแพทย์พูดกันเล่นๆ ว่าหากจะทำสูตรยาอายุวัฒนะ แอสไพรินจะเป็นตัวหนึ่งที่น่าคิดว่าจะเป็นยาในสูตรยาอายุวัฒนะด้วย   ข้อดีของแอสไพรินที่นำมาใช้ คือเพื่อป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด เช่นป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบค่ะ แต่จะดีจริงหรือเปล่าโปรดติดตามงานวิจัยนี้ค่ะ
          ในการวิจัยศึกษาเพื่อหาหลักฐานว่าแอสไพรินสามารถป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้จริงหรือไม่นั้น มีปรากฏอยู่ในรายงานของวารสารทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือคือ
 Journal of American Medical Association (JAMA) ฉบับ มกราคม 2006 มีความว่า Dr. Brown  แพทย์จาก State University of  Newyork ได้ทำการศึกษา (แบบ meta-analysis) ของงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ระหว่างปี 1966 ถึง 2005 และมีการยกตัวอย่างงานวิจัย 6 งานวิจัย ที่เป็นการทดลองให้แอสไพรินแก่ผู้เข้าร่วมทดลองที่ยังมิได้ป็นโรคทางหัวใจและหลอดเลือด มีผู้เข้าร่วมทดลอง เป็นเพศหญิง 51,342 คน เพศชาย44,114  คนแต่ละงานวิจัยมีการติดตามผู้ร่วมทดลองเฉลี่ยยาวนาน 6.4 ปี และให้ผู้เข้าทดลองรับประทานยาแอสไพรินในขนาดแตกต่างกันตั้งแต่วันละ 100 มิลลิกรัม ถึง วันละ 500 มิลลิกรัม

ผลการศึกษาพบว่า
         
ในเพศหญิง  แอสไพริน  สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยรวม 12%  ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้  24% แต่ในการลดความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบและเลือดออกในสมองพบว่าไม่ได้ลดความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญ
          ในเพศชาย
 แอสไพริน สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดได้รวม 14% แต่กลับไม่ลดความเสี่ยงของเส้นเลือดตีบในสมอง
          
และทั้งเพศชายและเพศหญิงพบว่าแอสไพรินเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเลือดออกถึง  70%
          Dr. Brown เขาเห็นว่า  ผู้ที่ทดลองล้วนเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ  จึงอาจไม่คุ้มค่า  และโดยส่วนตัวแล้วคิดว่า  เขาจะจ่ายให้ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจเท่านั้นโดยใช้ยาในขนาดต่ำเป็น baby aspirin  วันละ  1  เม็ดเท่านั้น  สำหรับผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงในการเกิดเลือดออก
          สรุปว่า  ในผู้ชายแอสไพรินสามารถป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้ดีกว่าในผู้หญิง และในผู้หญิงแอสไพรินสามารถป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้ดีกว่าในผู้ชาย
  แอสไพรินจึงให้ด้วยความระมัดระวังไม่ควรให้กับผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเกิดเลือดออกง่ายค่ะ เช่น ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมความดันไม่ดีพอ ผู้ที่ต้องทำงานเสี่ยงภัย เช่น ทหาร ตำรวจค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ยา
หมายเลขบันทึก: 81359เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2007 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ ร้อยตรี นี่เขาเรียกว่าผู้หมวดหรือเปล่าครับเนี่ย

น่าสนใจมากเลยนะครับเรื่อง แอสไพริน ในบทความได้บอกหรือเปล่าครับว่า ทำไมแอสไพรินถึงให้ผลต่างกันมากระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงครับ

สวัสดีคะ

คะเรียกว่าผู้หมวดคะ

สำหรับบทความนี้นะคะ ไม่ได้บอกถึงผลต่างกันของประสิทธิภาพยานะคะ ต้องขอโทษด้วยคะ ที่คำตอบอาจจะไม่สมบูรณ์นัก

ถ้ามีความรู้ใหม่ ๆๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ หรือเรื่องสุขภาพอื่น ๆ ก็จะนำมาเสนอใหม่นะคะ

ผู้หมวดคะ

ขอถามน้องหมวดน้ำผึ้ง 

.หมายความว่า ผู้ที่ทำงานเสี่ยงภัยถึงขั้นอาจได้รับบาดเจ็บ

ไม่ควรทานแอสไพรินใ่ช่มั้ยครับ 

 .

.ได้บรรจุปี 48    ตค.นี้ก็ได้ ร.ท. แล้วซิครับ 

ค่ะ

ผู้ที่ทำงานเสี่ยงภัย (กรณีเสี่ยงที่จะมีภาวะเลือดออกง่ายคะ) หรือผู้ที่ภาวะเลือดออกง่ายคะ

เนื่องจากยาแอสไพริน เป็นที่จะทำเม็ดแดงเลือดแตกตัวคะ เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ที่ได้รับประทานยานี้ แล้วมีภาวะเลือดออกอาจทำให้เกิดภาวะเลือดแข็งตัวช้าได้คะ และอาจเกิดการที่เลือดไหลมากด้วยคะ

 

ขอขอบคุณผ้หมวดที่ให้ความรู้ และหนูได้นำขอความบางตอนไปตอบอาจารย์

เป็นบทความเกี่ยวกับสรรพคุณของแอสไพรินที่เก่ามาก... แต่ก็มีประโยชน์มากครับ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท