คนดีที่ฉันศรัทธา: ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต (ตอน 2)


สติปัญญาที่ลึกซึ้งและเฉียบแหลมของท่านทำให้พวกเราทึ่งอยู่เสมอ โดยเฉพาะการที่อาจารย์สามารถจับประเด็นสำคัญของเรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งแนวลึกและแนวกว้าง

Link สู่ตอน 1

สาหรับตอนสองนี้ ขอเริ่มด้วย

ข้อเขียนจากผู้ที่เคยร่วมทำงานกับ ศ.ดร.สิปปนนท์  2  ท่าน

ท่านแรก คือ  อดีตนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน 

“อาจารย์ สิปปนนท์ เป็นคน สมถะ  ใจเย็น มองโลกในแง่ดี  นุ่มนวล  เป็นคนที่นับได้ว่า เป็นสุภาพบุรุษไทย  ทั้งกาย ทั้งใจ  และวิธีคิด

ช่วง รัฐบาลอานันท์ ท่านคิดหนัก  ในการเลือก รมต. ด้านเศรษฐกิจ และในที่สุดท่านก็ เลือก ท่านอ.สิปปนนท์ ทั้ง รัฐบาลอานันท์ 1 และ 2 เป็น รมต.กระทรวงอุสาหกรรม  ตามสเป็คที่จะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองมากที่สุด คือ

“คนดี น่าเชื่อถือไม่โกง  ไม่กิน  เป็นคนตรงไปตรงมา  มีเพื่อนฝูง  แต่ไม่ใช่รักเพื่อนฝูงจนเสียงาน  ความเชื่อมั่น  ความน่าเชื่อถือจะทำให้งานของเราสะดวกขึ้น”

“สิ่งหนึ่งที่ผมสบายใจที่สุดคือ  เราไม่ต้องห่วงเรื่องการถูกกล่าวหา หรือนินทากาเลว่ากระทรวงนี้  ไม่เป็นที่พึงพอใจของตลาด  เพราะมีพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้ใจ  หรือมีพฤติกรรมที่ไม่ซื่อตรง  มีการคอรับชั่น  เรื่องนี้ไว้ใจได้  งานก็ดำเนินไปได้ด้วยดี”

อีกท่าน  คือ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมต..กระทรวงวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ปัจจุบัน

 “หากจะใช้เพียงสามคำอธิบาย ศ.ดร. สิปนนท์  ซึ่งผมขอเรียกสั้นๆ ด้วยความเคารพว่า  อาจารย์  ผมคงขอพูดว่าอาจารย์เป็น “ คนเชื่อมโลก”

“อาจารย์ เชื่อมโยงระหว่างโลกต่างๆ  ทำให้เกิดความเข้าใจ  ความสมานฉันท์ระหว่างผู้ที่อยู่ในโลกที่ต่างกันนั้น  อาจารย์ศึกษามาทางวิทยาศาสตร์แต่ก็เข้าใจในศิลปวิทยาการแขนงอื่นๆ  อย่างดี

“อาจารย์เป็นผู้คอยเชื่อมโยงให้คนที่มาจากกรอบการศึกษาที่แตกต่างกัน  มีความเข้าใจสื่อสารถึงกันได้  อาจารย์ เชื่อใน Scientific Humanism คือ การผสมผสานระหว่าง humanism ซึ่งว่าด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชะตากรรม และความทุกข์ของผู้ยากไร้  และวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี  ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎธรรมชาติและสังคม”

“อาจารย์ได้เชื่อมระหว่างโลกของฝ่ายวิชาการกับฝ่ายบริหาร  เชื่อมระหว่างภาคราชการและภาคเอกชน  ท่านมีความเข้าใจลึกซึ้งถึงอำนาจ  ข้อดีและข้อจำกัดของแต่ละโลก  แต่ละกรอบความคิด และสามารถนำส่วนดีของแต่ละโลกหรือกรอบนั้นมาใช้กับสังคมไทยได้”

“สติปัญญาที่ลึกซึ้งและเฉียบแหลมของท่านทำให้พวกเราทึ่งอยู่เสมอ  โดยเฉพาะการที่อาจารย์สามารถจับประเด็นสำคัญของเรื่องต่างๆ  ได้อย่างรวดเร็ว  สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งแนวลึกและแนวกว้าง

“อาจารย์มีความสามารถในการประสานประโยชน์และประสานงานกับผู้ร่วมงานในทุกระดับ  ให้เกียรติและยกย่องผู้ร่วมงาน  ทำให้ท่านเป็นผู้อาวุโสที่สามารถทำงานใหญ่แบบทีมได้อย่างดียิ่ง  มีธรรมะ  นำหลักการทั้งด้านตรรกและความเมตตามาใช้ในการทำงาน

ประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยได้สัมผัสกับการทำงานของ ศ.ดร.สิปปนนท์

ตอนนั้นดิฉันเป็นผู้ประสานงานของ  ADRF (Asian Development Forum ) อ.วิจารณ์  เป็น Chairman ของ Secretariat  อ.สิปปนนท์ เป็น Chairman ของ  AAC (Asian Advisory Council)

นั่นเป็นโอกาสทองที่ได้รับ ในการที่ได้เรียนรู้จากคุณครู หลายท่าน ท่านแรก (อ.วิจารณ์) เล่าไปแล้ว

ท่านที่ 2 คือ ท่าน อ.สิปนนท์  ดิฉันได้เรียนรู้  สังเกต การทำงานของท่านด้วยความศรัทธา    ได้เรียนรู้เทคนิคการประชุม การเตรียมการประชุม  การหาข้อมูลให้พร้อม ตำแหน่งที่นั่งของผู้ร่วมประชุมให้เหมาะสม จะดำเนินการประชุมอย่างไรให้ได้ผลดี และที่สำคัญให้รู้ว่าผู้ร่วมประชุมแต่ละคนคิดอย่างไรในประเด็นสำคัญต่างๆ (อันนี้เป็นความสามารถเฉพาะตัวจริงๆ ค่ะ)  ไม่ว่าจะเป็นการประชุม หรือเตรียมการฝ่ายไทย และ ระหว่างประเทศที่ท่านเป็นประธานการประชุม    บรรยากาศการประชุมจะสบายๆ  แต่ลุ่มลึก ท่านอ่านระหว่างบรรทัด  จับประเด็นทั้งมุมลึก และมุมกว้าง  (อ.สิปนนท์ ท่านได้เรียนรู้เทคนิคนี้จาก  เสด็จในกรม กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เมื่อปี 2507 ขณะนั้นท่านอายุ 35 ปี ได้รับการขอให้รับเป็นผู้อำนวยการโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยของไทย  โดยมีเสด็จในกรม เป็นประธาน)

งาน ADRF เป็นเวทีสังเคราะห์งานวิจัยนโยบายของเอเชีย ที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากประเทศในเอเชียที่ต่างก็ต้องไปสังเคราะห์งานวิจัยเชิงนโยบายของประเทศตน แล้วเอามา share แลกเปลี่ยนกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงกับ Policy makers ของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิก

 

ตอนนั้นคณะทำงานก็พยายาม หาประเด็น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมาก นอกเหนือจากการเฟ้นหานักสังเคราะห์งานวิจัยนโยบาย ที่เป็น “มือวางอันดับหนึ่ง” ของแต่ละประเทศ ในแต่ละประเด็น  (ซึ่งข้อจำกัดของท่านเหล่านั้นคือไม่มีเวลา) ที่จะมาร่วมกันทำงานในแต่ละปี 

อ.สิปปนนท์ ท่านก็ให้แนวทางในการคัดเลือกประเด็น ได้อย่างเฉียบคม สำหรับ ADRF คือ
•ทำวิจัยนโยบายในเรื่องที่ผู้ให้ทุนสนใจ ซึ่งก็จะมีข้อจำกัด ต้องนำมาปรับอีกมาก (เราได้ทุนจาก IDRC: International Development Research Centre, ค่ะ)
•หยิบประเด็นที่อยู่ในแผนสองปีข้างหน้าจาก “International Fora” เช่น APEC, ASEAN, ACD มาทำ โดยต้องพิจารณาแล้วว่า ยังไม่มีใครทำ และ ไม่ควรเป็นประเด็นที่แข่งขันกันสูง
•ให้นักวิจัยคิดเองซึ่งแนวทางนี้เรากำลังทำอยู่

และต้องเลือกโจทย์ ควรทำทั้ง โจทย์ที่มีผลกระทบทั้งระยะสั้น เป็น issues ที่ สามารถ นำผลไปใช้ได้เลย  (Hot issues) บางเรื่องต้องทำเพื่อความอยู่รอด  และโจทย์/ issues ที่มีผลกระทบระยะยาวในอนาคต ที่สำคัญควรเป็นเรื่องที่ไทยสนใจด้วย (เช่น Tourism)

*Food Security น่าทำ เพราะเป็น Theme ของ IDRC  อยู่แล้ว—ถ้าเน้น Post Harvest ก็เข้าทาง สกว.-- link กับ  “Kitchen of The World” โยงกับ บริษัท CP , มองไปถึง Food Safety ซึ่งสามารถโยงไปถึงเรื่อง Trade   Human Security  ก็สามารถ เชื่อมโยงกับ Food Security

ท่านเน้นอีกว่า ทีมที่จะทำงาน ควรพ่วง (Piggy Bag) อยู่ในหน่วยงานระดับประเทศ (National Institute)/หน่วยงานบริหารจัดการงานวิจัย เช่น สกว. หรือ มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ของแต่ละประเทศเครือข่าย เพื่อทีม งานสามารถ ใช้ Infrastructure/ support ค่าใช้จ่ายของ Secretariat  (ปัญหา คือ ทุกประเทศใน เอเชียการทำวิจัยนโยบายจะแฝงอยู่ใน มหาวิยาลัย ไม่เป็นแบบหน่วยงานแบบ สกว.) 

ท่านเป็นนักเชื่อมโยง หรือ “คนเชื่อมโลก” ของอ.ยงยุทธ์ จริงๆ ค่ะ


เล่าไป..ก็ยังคงรู้สึก ภูมิใจไป.. กับการเป็นคนไทย ที่ประเทศเรามีคนเก่ง คนดี ที่เป็น  ที่เคารพรัก ได้รับความเชื่อถือ ในระดับนานาประเทศ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่อยู่ในโลกนี้แล้วก็ตาม  

ดิฉันมีความเชื่อเสมอว่า ยังมีคนไทยที่  “ดีและเก่ง” อีกมากมาย  เราก็คงจะช่วยกันเผยแพร่คุณงามความดีของท่านเหล่านี้  ให้ลูกหลานไทยได้รับรู้  ได้เกิดแรงบันดาลใจ   ในการช่วยกันสร้างคุณความดีให้แก่ประเทศชาติของเราสืบไป ..

แอนน์/สคส.

คำสำคัญ (Tags): #ข่าวดี#คนดี
หมายเลขบันทึก: 81343เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2007 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท