ชื่นชมผลงานวิจัยโรคกระดูกพรุน โดย ศ.นพ.บุญส่ง องค์พิพัฒน์กุล


          เอกสารประกอบการนำเสนอ  เรื่อง  "โรคกระดูกพรุน"    โดย ศ.นพ.บุญส่ง    องค์พิพัฒน์กุล   ใน lunch talk  ของสภามหาวิทยาลัยมหิดล   เมื่อวันที่ ๑๒ ก.พ. ๕๐   อ่านได้ที่นี่

          การนำเสนอในวันนี้เป็นเรื่อง โรคกระดูกพรุน  โดย อาจารย์-ศิษย์ คู่ขวัญ  คือ  ศ.นพ.รัชตะ   รัชตะนาวิน  ที่ลงบันทึกไปแล้ว  กับ ศ.นพ.บุญส่ง   องค์พิพัฒน์กุล  ผู้เป็นศิษย์      ผลงานวิจัยโรคกระดูกพรุนนี่แหล่ะที่ทำให้อาจารย์-ศิษย์คู่นี้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี ๒๕๔๘ ร่วมกัน อ่านได้ที่นี่

          ศ.นพ.บุญส่ง ทำวิจัยลงลึก   ศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคกระดูกพรุน   และเกิดผลงานเด่นหลายชิ้น

          เวทีนำเสนอ lunch talk ของสภามหาวิทยาลัยไม่เน้นประเด็นเชิงเทคนิค   แต่เน้นประเด็นเชิงวิธีคิด  ยุทธศาสตร์  และระบบ   ที่ทำให้เกิดความสำเร็จด้านการวิจัย หรือการสร้างผลงานวิชาการ

          การศึกษาผลของฮอร์โมนเอสโตรเจน  ต่อความหนาแน่นของกระดูกในผู้ชาย   โดยศึกษาในนักเต้นระบำ Alcazar (ชายแปลงเพศ)   เป็นเครื่องแสดงความฉลาดในการใช้   "assets"   ในสังคมเพื่อการวิจัย  ที่ผมชื่นชมมาก

วิจารณ์   พานิช
๑๓ ก.พ. ๕๐

ศ. นพ. บุญส่ง   องค์พิพัฒน์กุล

 

หมายเลขบันทึก: 81305เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2007 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท