มุมมองของ Tester ในการทดสอบระบบ


สำหรับผู้ทดสอบที่อยู่ระหว่างกลาง ต้องมองในมุมของผู้พัฒนาและผู้ใช้งานค่ะ ต้องทำงานได้ถูกต้อง และสนับสนุนการทำงานของผู้ใช้ให้ใช้งานได้ง่าย สะดวก และมองเรื่องการป้องกันความเสี่ยงของการผิดพลาดของการทำงานด้วยค่ะ เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดกับระบบที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า คงเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว

    การทำงานในส่วนของการทดสอบระบบ   ต้องมองเรื่องของ Function  เพื่อเป็นการตรวจสอบการทำงานของระบบว่าได้ทำงานถูกต้องหรือไม่ และสิ่งหนึ่งที่จะจำเป็นต้องมองสำหรับการพัฒนาระบบเพื่อการส่งเสริมการทำงานของส่วนงานทางธุรกิจ เราต้องมองเรื่องกระบวนการของการทำงานของผู้ใช้งานด้วยค่ะ  

    ดิฉันต้องขอบอกว่า บางครั้งโปรแกรมเมอร์หรือผู้ออกแบบระบบเอง อาจจะตกหล่นรายละเอียดไปบ้าง และอาจจะมองในมุมของผู้พัฒนาเพียงอย่างเดียว บางครั้งได้คุยกับโปรแกรมเมอร์ เกี่ยวกับระบบงานที่พัฒนา  คุยไปคุยมาก็ได้เจอคำตอบว่า เรื่อง business ไม่แน่ใจ ต้องถามจาก ผู้ออกแบบ  ดิฉันก็ถึงกับงง นิดนึง แล้วก็มาทบทวนและคิดเอาเองว่า ลักษณะการทำงานของทีมพัฒนา คงมีผู้ออกแบบเป็นคนวิเคราะห์และออกแบบระบบ ส่วนทีมเขียนโปรแกรม ก็เขียนตามสเปค ที่ได้รับมา

     บางครั้ง ต้องบอกว่า หากผู้เขียนเอง ไม่เข้าใจกระบวนการ การทำงานทางด้าน business กลายเป็นการเสียโอกาสการเรียนรู้ ในมุมมองของการพัฒนาที่ขาดการคำนึงถึงการทำงานจริงไปค่ะ และบางครั้งก็ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานขึ้นได้

    สำหรับผู้ทดสอบที่อยู่ระหว่างกลาง ต้องมองในมุมของผู้พัฒนาและผู้ใช้งานค่ะ  ต้องทำงานได้ถูกต้อง และสนับสนุนการทำงานของผู้ใช้ให้ใช้งานได้ง่าย สะดวก และมองเรื่องการป้องกันความเสี่ยงของการผิดพลาดของการทำงานด้วยค่ะ    เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดกับระบบที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า คงเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว

หมายเลขบันทึก: 81225เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2007 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)
  • ผมเห็นด้วยครับ
  • ที่สำคัญคือความคิดเห็นของผู้ใช้
  • นำมาสร้างความสมดุลกับด้านเทคนิค
  • ขอบคุณครับที่พัฒนาให้ดีขึ้น ดีขึ้น

คงจะมีดีอยู่บ้าง ถ้าคนผสมปูน ช่างไม้ ฯลฯ รู้ว่าบ้านทั้งหลังจะออกมาเป็นอย่างไร ก็คงต้องพยายามเล่าเรื่องกันไป แต่ก็อาจจะคาดหวังไม่ได้มากนัก

โปรแกรมเมอร์ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าอยากได้เงิน อยากมีข้าวกิน ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ พัฒนาท้องถิ่น ฯลฯ ก็อาจจะพยายามทำงานให้น้อยที่สุดและได้ค่าตอบแทนมากที่สุด (ซึ่งก็อาจจะถูกของเขา)

่อาจจะเป็นได้เปรียบ ของอาสาสมัครที่ทำซอฟต์แวร์เสรี? เพราะมักจะไม่ได้เงิน ไม่ได้ค่าตอบแทน แต่เขียนโปรแกรมเพราะต้องการตอบสนองความต้องการของตนเอง หรือไม่ตระหนักว่าคนอื่นต้องการโปรแกรมนั้นๆ อย่างไร เป็นแรงผลักดันแทนเงินเดือน หรือค่าจ้าง

 

(ผมก็พยายามสร้าง วาทกรรม มั่วๆ ไปเรื่อย)

เคยได้ฟังเรื่องราวตอนเรียนที่กล่าวถึง คนที่เรียนคอมพิวเตอร์

เป็นบางครั้งที่คนที่ไม่ค่อยชอบที่จะพูดคุย หรือว่าอาจจะพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง จะชอบคอมพิวเตอร์ เพราะว่า ไม่ต้องการที่จะคุยกับใคร แต่เมื่อเรียนคอมฯแล้ว พบว่า เมื่อเขาจบออกมาทำงานเป็น โปรแกรมเมอร์ ทำให้การเขียนโปรแกรมออกมา แล้วสื่อสารกับผู้ใช้ไม่รู้เรื่องเหมือนเดิม

พูดเล่น อิอิ มันเป็นอดีตไปแล้ว

เดี่ยวนี้ คนเรียนคอมพิวเตอร์ สวย น่ารัก (คิดเหมือนผมหรือเปล่า)

ปล. คุณจะตอบว่า "แน่นอน" (แม้ว่าผมจะไม่เขียนก็เถอะ)

  • ขอบคุณ คุณ       P    บางทราย มาก ๆ ค่ะ  สำหรับระบบของ Gotoknow  เป็นผลงานของอาจารย์จันทวรรณและอาจารย์ธวัชชัยค่ะ  และส่วนหนึ่งก็เป็นการช่วยเหลือของสมาชิกที่ช่วยแจ้งปัญหาต่าง ๆ และช่วยเสนอแนวทางหรือสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการให้ทราบ  ตอนนี้หนูได้ช่วยในส่วนของการดูแลระบบค่ะ 
  •  มุมมองของคุณ    P  วีร์ ก็เป็นมุมมองหนึ่งที่สะท้อนออกมาได้เห็นภาพดีค่ะ บางทีการทำงานก็ถูกบีบด้วยเวลา และงบประมาณด้วยนะค่ะ

คุณ

   P  อุทัย อาวรณ์ ค่ะ จะว่าไปแล้ว ทุกงานก็ต้องติดต่อประสานงานกับเพื่อนร่วมงานด้วยกันทั้งนั้นนะค่ะ  และสิ่งหนึ่งที่จะทำให้การทำงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ก็ต้องอาศัยความเข้าใจจากการพูดคุยกันในเรื่องของการทำงานค่ะ

ปล. คำถามที่คุณอุทัย ถามไม่ตอบนะค่ะ เพราะคุณอุทัยตอบให้แล้ว ^-^

มานึกๆ ดูอีกที ถ้าโปรแกรมเมอร์รู้ภาพรวม อาจจะได้ผลตอบแทนคุ้มค่าขึ้นก็ได้? แต่ก็เป็นแค่ข้อสังเกต ไม่รู้ว่าจะจริงหรือเปล่า?

ในอีกแง่นึงคือ ถ้ารู้ภาพรวมแล้วก็อาจจะอาชีพอื่นที่ได้ค่าตอบแทนเยอะกว่า เขาก็จะไม่เป็นโปรแกรมเมอร์อีกต่อไป?

แวะมาถามคุณมะปรางเปรี้ยวเฉยๆ ว่า   ตอนนี้สบายดีหรือยังอ่ะค่ะ   : )

ถ้าคุณวีร์ ตัดเลือกการมองผลตอบแทนออกไป แต่มองในแง่ของการทำงานที่ตนเองรับผิดชอบให้ดีที่สุด  การทำงานของทุกคนก็คงเรียกได้ว่าทำด้วยความเอาใจใส่ค่ะ แต่ก็ต้องบอกว่าการทำงานบางทีมันมีสิ่งกดดันหลาย ๆ อย่าง อย่างเรื่องเวลา นี่ต้องบอกว่า บางโปรเจคก็มีระยะเวลาจำกัด แต่การพัฒนาระบบก็ไม่ได้หยุดแค่ ทำครั้งเดียวจบ ยังต้องมี phase ต่อไปเรื่อย ๆเพื่อพัฒนางานต่อไป บางเรื่องอาจจะเจอว่าเป็นข้อผิดพลาดใน phase 1 แต่ยังมีโอกาสให้แก้ตัวใน phase ถัดไปค่ะ

ส่วนเรื่องการรู้ภาพรวมจะทำให้การทำงานมองระบบได้กว้างขึ้นค่ะ

ส่วนเรื่องผลตอบแทน อันนี้ไม่ขอพูดถึงดีกว่านะค่ะ ก็คิดว่าถ้าเราทำงานมาก ก็ได้ประสบการณ์ ทักษะและมุมมองที่หลากหลายของการทำงานมากขึ้นค่ะ 

และประสบการณ์ก็จะส่งให้เกิดการพัฒนาการทำงานที่ยากขึ้น ท้าทายขึ้นค่ะ

ขอบคุณ คุณ 

  P  จินตนา อิ่มรักษา  มากค่ะ ตอนนี้ก็สบายดีค่ะ

แวะมาทักทายกันบ่อย ๆ นะค่ะ

ผมนึกไม่ออกว่าตัดปัจจัยเรื่องค่าจ้างออกจากการพิจารณาเกี่ยวกับแรงงานได้อย่างไร

ค่าจ้างไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง ตามที่เพื่อนเคยนำสถิติมาให้ดู ความยากง่ายของงาน ก็มีผลทำให้คนเลือกงานด้วย  ง่ายไปก็เบื่อ ยากไปก็ทำไม่ไหว  แต่ค่าจ้างก็ส่งผลกับแรงงานอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน?

ไม่ว่าจะเป็นสาวโรงงาน หรือโปรแกรมเมอร์ ถ้าไม่ให้ค่าจ้างก็คงจะยังคงมีคนมาทำงาน แต่ว่าส่วนที่หายไปคงเยอะกว่า 

<<และประสบการณ์ก็จะส่งให้เกิดการพัฒนาการทำงานที่ยากขึ้น>>

อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ โปรแกรมเมอร์ที่มีประสบการณ์อย่างที่ว่า ก้าวไปเป็นนักวิเคราะห์ระบบ ผู้จัดการโครงการ ฯลฯ หมดหรือเปล่า?  (ผมอาจจะมองแบบสุดโต่งเกินไปอะนะ)

การเขียนโปรแกรม ก็ต้องเริ่มจากการออกแบบโปรแกรม ออกแบบระบบ

การออกแบบระบบ ก็ต้องเริ่มจากความต้องการของผู้ใช้ 

คนเขียนโปรแกรม ก็เป็นโปรแกรมเมอร์

คนใช้คนต้องการ มัีกอยู่ในงานธุรกิจต่่างๆ

โปรแกรมเมอร์หลายคนไม่ได้อยู่ในทุกธุรกิจ การจะใช้ใจในกระบวนการทำงาน คงจะเข้าใจอย่าง 

คงต้องมีคนกลาง ที่เป็นนักออกแบบระบบ เป็นนักวิเคราะห์ระบบ (SA,System Analysis) ที่สามารถเจรจา พูดคุยให้ฝั่งคนเขียนกับฝั่งคนใช้ เข้าใจเหมือนกัน เข้าใจตรงกัน

เมื่อพัฒนาโปรแกรมแล้วต้องตรวจสอบ

1ตามหลักการทางโปรแกรมหรือภาษาที่เขียนนั้น

2ต้องตรวจสอบตามความต้องการของผู้ใช้ที่แท้จริง 

เรียกว่า ทำให้ถูกหลักวิชา และทำให้ถูกหลักวิใช้ 

และเช่นกันถ้า SA  บอกหรือออกแบบงานให้โปรแกรมเมอร์ไม่ถ่วนถี่ โปรแกรมเมอร์ก็พัฒนางานไม่ต้องหรือขาดบางรายละเอียดไปได้

 

พี่เอง ชอบมากงาน SA ก็เป็นคนไม่ถนัดงานเขียนโปรแกรม

ส่วนมุมมองค่าจ้าง ถ้าเป็นเอกชนจริงๆก็ไม่ได้อยู่ที่ ตำแหน่ง

SA เงินก็ไม่ใช่ว่าจะต้องสูงกว่าโปรแกรมเมอร์ เพราะเห็นหลายที่แล้ว เงินเดือนโปรแกรมเมอร์ สูงมาก ส่วน SA ก็ไม่ต่างจาก ฝ่ายขายเลย

อยู่ที่ประสบการณ์เหมือนน้องมะปรางว่ามากกว่า 

พรุ่งนี้จะเดินทางไปหาหมอแล้วหรือเปล่าครับ เดินทางปลอดภัยนะ

ปล.ห้ามแอบกินตับ คนที่เดินทางไปด้วยนะ อิอิ 

สวัสดีค่ะ นู๋มะปรางเปรี้ยว

           จะลงมาหาดใหญ่วันไหนค่ะ  วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม ยังอยู่ที่หาดใหญ่อีกรึเปล่าค่ะ  ยังไงแวะไปหาพี่ที่ทำงานได้นะคะ  ช่วงสาย ๆ หน่อยนะคะ  ที่คณะวิทยาศาสตร์ มอ.ค่ะ  พี่จะทำมันปู มาให้ทาน

             ทิ้งเบอร์ไว้ให้พี่ ที่ e-mail พี่ ด้วยนะคะ

ตาหยู: เราจะ claim ได้หรือเปล่าว่า โปรแกรมเมอร์ ที่เข้าใจภาพรวม ลูกค้า ความต้องการในการใช้ ก็มักจะทำให้ได้รับ ค่าจ้าง สูงขึ้นด้วย (ในตำแหน่งโปรแกรมเมอร์เหมือนเดิม)?

ถ้าออกมารูปนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องตรงไปตรงมาเลย ที่จะปลูกฝังโปรแกรมเมอร์

 

  • คุณ        P       วีร์ เรื่องค่าจ้าง ก็เป็นเหตุจูงใจอย่างหนึ่งในการทำงานค่ะ  เพราะงานบางงานต้องบอกว่า เพราะค่าตอบแทนสูง ก็เลยเป็นแรงจูงใจให้หลายๆ  คนอยากจะทำค่ะ  ส่วนเรื่องประสบการณ์ของโปรแกรมเมอร์ ทำงานก็ต้องการ การพัฒนาไปสู่ขั่นต่อไปค่ะ และ Career path ของอาชีพโปรแกรมเมอร์ก็ก้าวต่อไป เป็น นักวิเคราะห์ระบบ และ ผู้จัดการโครงการ หรืออาจจะโตไปในสายอื่น ๆ ก็ได้ค่ะ เพราะจะว่าไปแล้ว อาชีพนี้ก็เดินไปได้หลายทางเช่นกัน
  • พี่      P     ตาหยู  อย่างที่ว่าก็ถูกค่ะ แต่จะว่าไปกระบวนการ การทำงานมันก็ปรับเปลี่ยนกันได้เสมอค่ะ แต่ส่วนใหญ่ก็จะออกแนวที่พี่หยูเขียนไว้ค่ะ  ขอบคุณมากนะคะ
  • พี่    P   คุณ รัตติยา เขียวแป้น  ขอบคุณมากค่ะ สำหรับมันปู สูตรอร่อยของพี่ แล้วหนูจะอีเมล์ไปคุยด้วยนะค่ะ

พี่รัตติยาค่ะ

ส่งเมล์หาแล้วนะค่ะ

ในความเห็นส่วนตัว ปัจจัยเรื่องผลตอบแทน เป็นแฟกเตอร์หนึ่งในการเลือกที่ที่เราจะไป แต่เมื่อเราไปทำงานแล้ว เรื่องเงินทองจะเป็นสิ่งท้าย ๆ ที่คิดถึง และเปรียบเหมือนเราลงเรือลำเดียวกัน ทุกคนมีหน้าที่ของตัวเอง และทำให้ดีที่สุด กัปตันมีหน้าที่นำพาเรือไปสู่เป้าหมายที่กำหนด โดยปลอดภัย ไม่หลงทาง ซึ่งในเรือก็ประกอบผู้คนมากมาย ก็จริงอยู่งบประมาณก็ป็นสิ่งสำคัญ สมาชิกในลำเรือก็แล้วแต่บริษัทอาจจะมีมากน้อยไม่เท่ากัน เช่น ผู้จัดการดูแลโปรเจก โปรแกรมเมอร์ นักออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ นักการตลาด และผู้ใช้อย่างผมที่ไม่ได้อยู่ลำเรือแต่มีตวามสำคัญอย่างมากเพราะเป็นเสียงของผู้ใช้ ที่ทางทีมเรียกว่า user<ซึงบางครั้งก็ถูกเรียก ยูส เซอร์ๆ> บางครั้ง user คิดว่าเป็นปัญหาของเขา แต่โปรแกรมเมอร์อาจจะดูว่าไม่น่าเป็นปํญหา การที่มีการทดสอบระบบจึงเป็นสิ่งจำเป็น และกัปตันคงต้องหาข้อสรุปบนพื้นฐานที่มีอยู่ และการที่สมาชิกขึ้นเรือลำอื่นไม่ใช่เรื่องเงินทอง แต่เป็นความกดดันจากเรื่องอื่น ด้วยความเคารพเป็นความคิดเห็นส่วนตัว
  • ข้อคิดเห็นของคุณกฤษดา เป็นการสิ่งหนึ่งที่สะท้อนการทำงานออกมาได้ดีค่ะ
  • มุมมองของดิฉัน คิดว่ามุมมองของผู้พัฒนาระบบ กับผู้ใช้ ก็ยังมีช่องว่างอยู่ จึงทำให้บางระบบที่พัฒนาออกมาไม่ได้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั้งหมดได้ และนอกจากการทำงานของระบบแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คงต้องมองเรื่องการใช้งาน การออกแบบ interface ต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องต่อการทำงานของผู้ใช้ค่ะ
  • สำหรับเรื่องการทำงาน บางคนก็ได้รับการกดดันเรื่องอื่นมากกว่าเรื่องเงิน ก็เห็นว่าน่าจะมีอยู่จริงค่ะ  เงินน้อย ทำงานสบายใจ ยังไงก็ยังอยากทำ แต่บางครั้งเงินเยอะ แต่เครียดมาก ก็คงไม่ไหวเหมือนกันนะค่ะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ที่จะสามารถทนกับแรงกดดันได้มากน้อยแค่ไหน  ความอดทน อดกลั้นของคนเราก็มีต่างกันด้วยเช่นกันค่ะ
  • ขอบคุณคุณกฤษดามาก ๆ ค่ะที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันในบันทึกนี้ ^-^

ขอมาตอบคุณวีร์ ผ่านน้องมะปรางด้วย

บ้างเงินตอบแทน หรือส่วนใหญ่มาในรูปเงินเดือนนั้น

ต้องขอบอกก่อนว่าบ้างครั้ง มันจะต่างกรรม ต่างวาระครับ

โปรแกรมเมอร์ ขอเรียกว่า PGM

PGM บางคน เขียนโปรแกรมไม่เก่งเลยแต่ทำงานอื่นคล่อง ปรากฏว่าไปอยู่บ.หนึ่ง ที่เค้ามีโปรแกรมอยู่แล้ว ให้PGM ไปดูแล ซึ่งก็แทบไม่ได้เขียนโปรแกรมแต่ทำงานคอมอื่นได้ดี ไม่มีข้อเปรียบเทียบ เพราะไม่มีใครไปทดสอบวัดเค้าได้ เงินเดือนเลยสูงมาก เพราะในบ.นั้นมองว่า เก่ง

ในขณะที่

PGM บางคน เขียนโปรแกรมเก่งมาก ไปทำงานบ.ด้านsoftware ล้วนๆ ทำงานกับPGM หลายคน จำนวนมาก หัวหน้างานก็เป็นโปรแกรม การตรวจสอบทดสอบ ทำกันอยู่ตลอดเวลา งานหนัก เคลียด เงินเดือนอาจน้อยกว่า PGM ในตัวอย่างแรกเลยครับ

จากตัวอย่างทั้งสองคน หรือหลายคน ในหลายองค์กร ตัวเงินเดือนไม่เท่ากัน ตัวงานก็ไม่เท่ากัน

บางครั้งเราก็ต้องทำใจครับ เอกชนเค้าถึงไม่ให้ดูเงินเดือนกัน เดี๋ยวทำใจไม่ได้

แต่การจะเป็นPGM ที่ดี หรือวิชาชีพอื่นๆเหมือนกัน คือการทำงานต้องทำ 2 อย่างคือ

1 ทำให้ได้

2 ทำให้ดี

คนเราชอบข้ามขั้นตอน 1 ยังไม่ได้ จะไป 2 เลย 

เช่นกัน การจะเป็นPGM ที่ดี

1ทำให้ได้ คือ เขียนโปรแกรมให้ถูกต้องตามหลักวิชา และหลักวิใช้(คนใช้งาน)

2 ทำให้ดี อันนี้วัดกันได้เลย PGMหลายคนไม่เคยมอง ถ้าเป็นบ.software

ขอต่อ

ถ้าเป็นบ.software ใหญ่ๆ จะวัดกันเลย

วัดกันยังงัย

วัดกันที่ performance คืออะไร

โปรแกรมใหญ่ 1ระบบ

-บางคน เขียนไป 3พันคำสั่ง

-บางคน เขียนไป 5พันคำสั่ง

ซึ่งทั้ง2 คนทำให้โปรแกรมทำงานได้ ไม่ผิดด้วย

แต่คนที่เขียนคำสั่งน้อยกว่า หรือทำให้ระบบทำงานได้เร็วกว่านั้น มีperformance

ที่ดีกว่า

PGM เคยดูกันหรือยังว่าเราเคยสนใจใน performance ของโปรแกรม แล้วหรือยัง

ขอโทษที่มือไปเผลอกดปุ่ม tab เลยโดนบันทึกเลย

โดนใจคำว่าทำได้ดีค่ะ เพราะบางทีมันถูกลืมไปค่ะ แต่ทำได้ดี ก็มีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละคนอีกค่ะ

 

ขอบคุณสำหรับบทความนี้มากคะ กำลังสนใจอาชีพนี้ tester เลยศึกษาเพื่อจะมีไรทำมันๆๆ ระหว่างช่องว่างที่เราพูดถึงกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท