ทำไม - หนูชอบแทะสายไฟ (ปริศนาคาใจ)


 

ใครพอรู้บ้างครับว่า ทำไมหนูชอบแทะสายไฟ?

รถที่บ้านผมนี่ ถ้าจอดทิ้งไว้สักพัก หนูจะเข้ามาขอสัมปทานสร้างบ้านแปงเมือง ต้องเอาไปฉีดล้าง แล้วพ่นเคลือบด้วยน้ำมัน จึงจะหายหน้าไป

แต่สักพักพวกหนูก็จะกลับมาทำรัง และแทะสายไฟ (หรือท่อพลาสติก/ยาง ต่างๆ)

สงสัยคงต้องยึดสัมปทานคืนซะแล้ว!  :)

ผมเคยถามเพื่อนนักวิจัยด้านโพลิเมอร์ที่ MTEC นี่ แต่ปรากฏว่าไม่รู้ครับ เพียงให้ข้อมูลว่า มีงานวิจัยในต่างประเทศที่พยายามเติมสารเติมแต่ง (additive) ลงไปในพลาสติก เพื่อให้หนูไม่ชอบแทะ

ไม่รู้ว่าผลการวิจัยไปถึงไหนแล้ว แต่ตอนนี้ของเอาเฉพาะหน้าก่อนว่า จะกันหนูไม่ให้มาแทะสายไฟนี่ต้องทำยังไงครับ?

คำสำคัญ (Tags): #test
หมายเลขบันทึก: 81193เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2007 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2012 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

ดร.บัญชาคะ

   เคยเจอเหมือนกันค่ะ หนูกัดสายโทรศัพท์ค่ะ แถมยังกัดสบู่ด้วย  ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมค่ะ

หาเหยื่อสำเร็จ ใส่ภาชนะ วางไว้ กินได้ตามใจ ถึงเวลา ก็ไปบ้านเก่าเองครับ อีกวิธีครับ ปลอดภัยกว่า หาภาชนะที่เป็นหลุมใสใหญ่พอสมควร ทาพื้นผิวด้วยน้ำมันพืช วางเหยื่อล่อไว้ตรงกลางหลุม เมื่อมันมองเห็นอาหาร ก็จะลงไปกิน แต่จะขึ้นไม่ได้ ถ้าจับตัวได้ก็จัดการตามใจครับ

ผมเสนอวิธี "เลี้ยงแมว" ครับ วิธีนี้รับประกันได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกต่างหากครับ

ต้องเป็นแมวตัวเมียนะครับ ถ้าแมวตัวผู้พอโตขึ้นจะไม่ค่อยอยู่บ้านครับ 

แมวส่วนใหญ่จับหนูเก่งค่ะ แต่ตัวนี้จับไม่ค่อยเก่งค่ะ แต่พูดเก่ง cat.gotoknow.org ชื่อ น้องมิ้งค์ ค่ะ :)

ขอบคุณมากๆ เลยครับทุกท่าน

เรื่องเลี้ยงแมวนี่ ผมคงต้องไปขออนุญาตคุณหมาที่บ้านก่อนครับ มี 12 ตัวเอง! :)

จริงๆ แล้วผมชอบแมวนะครับ แต่ต้องมาเลี้ยงหมา เพราะมาปลูกบ้านอยู่ในที่ของภรรยา...เข้าทำนองเข้าเมืองตาหลิ่ว นั่นละครับ (เข้าบ้านคนรักหมา ต้องเลี้ยงหมาตาม) 

 

 

ไม่รู้ว่าหนูมันชอบแทะพลาสติกหรือป่าวนะครับ

เพราะว่าที่บ้านผม หนูขึ้นบ้านประจำ ชอบมาแทะฝาขวดพวกซี่อิ๊วที่เป็นพลาสติก หรือไม่ก็ฝาเปิดปิดของน้ำปลาทิพรสน่ะครับ 

ผมเดาเอาว่ามันน่าจะมีพฤติกรรมลักษณะเดียวกับแมวนะครับ คือการลับคมอาวุธประจำตัวของมัน อย่างแมวก็ชอบตะกายโน่นตะกายนี่เพื่อลับคมเล็บของมัน หนูก็น่าจะเป็นพฤติกรรมลับฟัน(หรือแปรงฟัน)เดาๆเอานะ แต่หนูบางชนิดเช่นที่อยู่ในท่อระบายน้ำนี่ตัวขนาดแมวยังต้องตกใจเลยครับ เครื่องซักผ้าที่บ้านก็โดนมันสัมปทานไปแล้ว เฮ้อ...

สวัสดีครับทุกท่าน

         ความคิดของอาจารย์อัสสะกอมีน่าสนใจมากครับ เพราะไม่ว่าจะสายไฟพลาสติก ท่อยาง หรือแม้แต่สบู่นี่ ไม่น่าจะมีสารอาหารใดๆ สำหรับหนู

         สงสัยต้องไปค้นต่อว่าจริงไหม ถ้าจริงแล้วละก็ แนวคิดที่จะเติมนั่นเติมนี่เข้าไปในพลาสติกเพื่อกันหนูแทะ อาจจะใช้ไม่ได้ซะแล้ว...(ไปกันผิดทาง)

        ขอบคุณทุกท่านครับ

  • ขอบคุณที่ทำให้ได้มีโอกาศคิดอะไรเล่นๆสนุกๆครับ
  • 1 หนูคงจะสงสัย เหมือนกับที่เราสงสัยหนู มันเลยกัดดู
  • 2. มันชอบกัด ชอบแทะหลายอย่าง แต่เราจะสังเกตุอย่างที่มันทำให้เราเสียหาย

ปล. ฆ่าสัตว์ผิดศีลข้อหนึ่ง   -*- 

สงสารหนู ปล่อยหนูไปเถอะ อย่าทำหนูเลย

 

ที่บ้านราณีเวลาจับหนูใช้กรงดักหนูจับค่ะ  วันหนึ่งหนูเข้าไปในกรง  คนที่บ้านก็เตรียมเอาไปปล่อย และวางไว้หน้าบ้าน และสิ่งที่ราณีเห็นทำให้ราณีปล่อยก๊ากเลยค่ะ แมวค่ะแมว มาตะกายกรงดักหนู  เพราะเข้าไปกินไม่ได้  (ราณีแนะวิธีนี้เพราะไม่เป็นการทรมานสัตว์) ถ้าใช้กาวมันจะดิ้นมากๆ บางครั้งอาจขาดใจตายได้ หรือถ้าใช้ยกเบื่อหนู ราณีไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง หรืออีกวิธีหนึ่งคือหารังของมันเจอ(ต้นตอที่มา) อีกวิธีคือย้ายที่จอดไปเลยค่ะอิ อิ

น้อง Man In Flame : ข้อสังเกต 2 นี่น่าสนใจครับ เพราะดูท่าจะจริงซะด้วย แต่พอหนูมันกัดของที่เราเห็นว่ามีค่า เราก็เห็นได้ชัด และรู้สึกว่า มันกัดทำไมของมันว้า!

คุณ Ranee : เป็นวิธีการจัดการกับหนูที่นุ่มนวลมากครับ (แต่ไม่ได้บอกต่อว่าจัดการกับแมวที่อยากจะจัดการกับหนูยังไง..อิอิ) ส่วนวิธีย้ายที่จอดรถนี่ อาจจะต้องลงทุนสร้างบ้านใหม่ซะก่อนครับ ;-)

อ.จ.คะที่บ้านดิฉัน ล้อมรอบไปด้วยสวน คนสวนจะฉีดสมุนไพรป้องกันเพลี้ยและราเป็นประจำเดือนละครั้งรอบบ้านเลย ที่บ้านไม่มีหนูค่ะ เพราะหนูไม่ชอบกลิ่นพวกยากันแมลง แม้จะเป็นสมุนไพรก็ตาม

ที่ถังขยะมีฝาปิดก็จริง   แต่ดิฉันให้คนสวนเอาแผ่นพลาสติกรูพรุนไปรอง และข้างใต้ให้ เอาคลอรีนก้อนบรรจุใขวดพลาสติดไปวางไว้ ให้กลิ่นออก    ไม่มีหนูเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับวิธีป้องกันหนูที่ไม่บาปครับ

  • แล้วไฟฟ้าหนูละป้องกันหรือยัง :) 

สวัสดีครับ คุณ sasinanda

         ขอบคุณมากครับสำหรับคำแนะนำ สมกับเป็นมืออาชีพที่ทำงานด้านที่อยู่อาศัยจริงๆ ผมจะไปปรึกษาที่บ้านและหาทางจัดการดูก่อนครับ

         มีปัญหาที่ต้องแก้ร่วมกันด้วยนิดหนึ่งคือ บ้านผมอยู่ในเขตรั้วเดียวกับบ้านของแม่ภรรยา ซึ่งเป็นบ้านเก่า และมีรังหนูอยู่ในนั้น ส่วนที่จอดรถก็ใช้ร่วมกันครับ

สมมุติฐาน:::

 หนูหาอาหารด้วยการดมกลิ่น  กลิ่นอาหารอยู่ที่ไหน มันจะไปที่นั่น อะไรขวางทางมันอยู่ถ้ากัดให้ขาดได้ ก็กัด  ถ้าแทะให้กระจุยได้ก็กระจุย

 ผมเชื่อว่า พลาสติก ยาง มีกลิ่นบางชนิดคล้ายอาหารที่มันต้องการ   บางทีผมก็เห็นมันแทะประตูไม้ ซึ่งเป็นประตูครัว มันได้กลิ่นข้าวสารกับเศษอาหารนั่นเอง

ลองพิจารณากันนะครับ  ผมถูกหรือผิดก็ได้

สวัสดีครับ คุณ กุนซือรับจ้าง

            ขอบคุณครับ ไว้ผมจะลองไปถามเพื่อนที่เป็นนักโพลิเมอร์ดูครับ ว่ามีสารอะไรในพลาสติกและยางที่อาจมีกลิ่นคล้ายอาหาร (ของหนู)

-------------------------------------

ชอบข้อคิดเห็นของ เจ้าหญิงจอมแก่นครับ...หนูคันเหงือก...อิอิ

ผมคิดว่าหนูมันคงคิดว่า ข้างในสายไฟนั้น ที่มีฉนวนห่อหุ้มนั้น มันน่าจะมีอะไรน่ากินอยู่บ้างก็ได้

ผมว่าหนูมันเป็นสัตว์ที่ไม่หยุดนิ่งคือวิ่งไปมาและพอมันหยุดเมื่อไหร่มันก็จะดมและแทะด้วยความที่มันต้องการอาหารและขี้สงสัยสิ่งนี้ที่ทำให้มันแทะและก็แทะลักษณะฟันนั่นเองที่ทำให้มันแทะได้ทุกอย่างและมันแทะไม่เลือกว่าเป็นสิ่งของหรือว่าเป็มอาหารของมันทุกคั้งที่มันสงสัยมันจะแทะ

หนูชอบแทะชอบแทะ..มันคงหมั่นเขี้ยวนะคะ..อิอิ

สวัสดีครับ

        บางคนว่าหนูชอบลับฟันให้คม (เป็น "สัตว์ฟันแทะ" นี่น่า) แต่ผมยังชอบคำตอบที่ว่า "หนูคันเหงือก" อยู่ 555

มีสารเติมแต่งในพลาสติกครับ ที่ผมขายอยู่ เป็นสารสกัดจากพริกบรรจุในนาโนแคปซูลเพื่อให้ทนอุณหภูมิสูงระหว่างการหลอมเม็ดพลาสติกและไม่สลายตัวเร็วเกินไปเมื่อนำไปใช้งาน นำสารสกัดไปผสมในการฉีดพลาสติก เนื่องจากพริกมีความเผ็ดร้อนเมื่อหนูกัดสายไฟเข้าไปและเผ็ดร้อน ก็จะไม่กัดซำอีก มีงานวิจัยที่ญี่ปุ่นครับ เมืองไทยก็มีลูกค้าผลิตสายไฟพลาสติกชนิดนี้อยู่ครับ

สวัสดีครับ ตั้ว (ปกรณ์)

       น่าสนใจมากครับ เจ้าหนูกินพริกเข้าไปนี่คงจะเผ็ดและเข็ดพิลึกครับ แต่มันจะไปบอกต่อให้เพื่อนๆ รู้หรือเปล่าหนอ? (ล้อเล่นครับ ;-))

       มีเว็บลิงค์ไปยังข้อมูลนี้ไหม ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

คือผมสนใจ เกี่ยวกับสารเติมแต่ง ที่ป้องกันไม่ให้หนูกัดสายไฟ ท่านใด มีแหล่งข้อมูล หรืองานวิจัย ผมขอรบกวนขอแหล่งข้อมูลหน่อยนะครับ

ผมเป็นนักศึกษา อยากจะนำเรื่องนี้มาทำเป็นโปรเจ็คครับ

ขอบคุณครับ

บ้านหนูเลี้ยวสุยัขอ่ะค่ะมันร้ายๆมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท