บนเส้นทางของการตัดสินใจของผู้ปกครองระหว่างการให้ลูกเรียนโรงเรียนปกติ และโรงเรียนประจำ


ไม่ว่าจะเลือกอย่างไร ทุกอย่างย่อมต้องเรียนรู้ทั้งนั้น

ผู้ปกครองอยากเห็นลูกมีอนาคตที่ดี พยายามหาโรงเรียนที่มีชื่อเสียง สอนวิชาความรู้ให้ลูกของตนรอบรู้ เอาตัวรอดในสังคมปัจจุบันได้

เมื่อต้องตัดสินใจพาลูกเข้าโรงเรียนเมื่อถึงเวลา พ่อแม่ต้องไปหาข้อมูล ถามไถ่หลายคนว่า โรงเรียนต่างๆมีข้อดี ข้อด้อยอย่างไรบ้าง

นอกจากถามรายละเอียดเกี่ยวกับโรงเรียนที่มองๆไว้ ระหว่างโรงเรียนที่ 1 (ชื่อโรงเรียน...) และโรงเรียนที่ 2, 3 ที่ไหนดีกว่ากัน

อีกประเด็นหนึ่งที่พ่อแม่หลายท่านให้ความสนใจ คือ จะให้ลูกเข้าโรงเรียนประจำ คือ กินนอนอยู่ที่โรงเรียนไปเลยหรืออยู่โรงเรียนปกติ คือ เช้าไป เย็นกลับ

แบบไหน จะทำให้ลูกของเขา เป็นคนเก่งกว่ากัน
สำหรับโรงเรียนไปกลับ หรือโรงเรียนปกติ หากพ่อแม่มีเวลาให้ลูก มีเวลาเจอหน้าลูก สามารถไปรับไปส่ง เจอหน้าทุกเย็น มีเวลากินข้าว เล่นกับลูก โรงเรียนไปกลับนั้น เหมาะสมแล้ว

ยิ่งเป็นเด็กในวัยอนุบาล ถึงประถม การที่พ่อแม่ ได้อยู่กับลูก เจอหน้าลูกทุกวัน ย่อมสามารถดูแลให้ความรัก ความอบอุ่นอบรมบ่มเพาะความคิดต่อโลกต่อสังคมด้วยความรักของพ่อแม่เอง


แต่ถ้าเป็นกรณีลูกคนเดียวการได้อยู่โรงเรียนประจำ ทำให้ลูกคนเดียวได้เปรียบทันที รู้จักการใช้ชีวิตในสังคม เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ซึ่งพ่อแม่ในยุคนี้ ที่ทำงานหนักมีเวลาน้อย  มีผู้แนะนำว่า ควรจะให้ลูกอยู่โรงเรียนประจำไปเลย

นักเรียนที่อยู่โรงเรียนประจำ มีเด็กที่มาจากต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก เพราะผู้ปกครองอยากให้ลูกได้เข้ามาเรียนรู้หลายอย่างจากถิ่นฐานบ้านเกิด เพื่อให้สามารถเอาตัวรอดในสังคมปัจจุบันได้


บางคนอาจจะมองข้ามประเด็นเหล่านี้ไป อยากให้ลูกอยู่กับตัวเอง แต่ตัวเองทำงานหนัก ไม่มีเวลาให้ลูกเลย เลี้ยงลูกด้วยเงิน แล้วก็เกิดปัญหาหลายอย่างตามมาในแบบที่ไม่รู้ตัว

ผู้ปกครองที่มองไกล จึงให้ลูกเข้าโรงเรียนประจำ อย่างน้อย ลูกก้อยู่ในสายตาของครูในโรงเรียน อยู่กับเพื่อนในโรงเรียนประจำ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และน่าจะปลอดภัยกว่าอยู่ในสังคมภายนอกที่หลากหลาย

แต่หลายท่านมองว่า การอยู่โรงเรียนประจำทำให้ตัดขาดจากโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ได้เรียนรู้โลกของความเป็นจริง อาจจะรู้ไม่ทันเล่กลของคนในสังคมปัจจุบัน


ไม่ว่าจะเลือกอย่างไร ทุกอย่างย่อมต้องเรียนรู้ทั้งนั้น


หมายเลขบันทึก: 81165เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2007 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท