ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ผักตบชวาในระบบเกษตรกรรมแบบประณีต


ผักตบชวาเป็นพืชน้ำที่มีประโยชน์นานัปการในระบบเกษตรกรรมแบบประณีตไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมัก เพาะเห็ด และอาหารไก่

ผักตบชวา เป็นพืชน้ำที่นำเข้าจากชวาด้วยเหตุผลที่บอกว่าดอกสวยงามเมื่อหลายสิบปีก่อน และต่อมาได้แพร่ระบาดไปทั่วทุกพื้นที่ของเมืองไทย จนกระทั่งในช่วงหลังก่อให้เกิดปัญหามากมายในบางพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการกีดขวางการไหลของแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้บ่อน้ำตื้นเขิน จึงได้ลดความสำคัญลงจากพืชน้ำที่มีดอกสวยงามกลายมาเป็นวัชพืชทางน้ำบางพื้นที่ในที่สุด

ประโยชน์ก็มากมี ใช่ว่าจะก่อให้เกิดปัญหาอย่างเดียว ได้มีพี่น้องเกษตรกรเอาวิกฤติมาเป็นโอกาสโดยได้นำผักตบชวามาใช้ในกิจกรรมการผลิตปุ๋ยหมักเพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน นำมาประดิษฐ์ในงานหัตถกรรม ตลอดทั้งการเพาะเห็ด และอาหารสัตว์ ซึ่งนับว่าเป็นการประยุกต์ใช้วัสดุที่ไร้ค่ามาสร้างอาชีพและรายได้อีกครั้งหนึ่ง

สร้างผลิตภัณฑ์ OTOP เมื่อวานผมมีโอกาสพาสมาชิก KM จากบริษัทในเครือซิเมนต์ไทยจำนวน 16 ท่าน ไปเยี่ยมพี่น้องเกษตรกรตำบลสะแก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ สมาชิกกลุ่มนี้ได้เล่าถึงผักตบชวาว่า จริงๆแล้วผักตบชวานั้นไม่ได้เป็นปัญหาอุปสรรคแต่อย่างใด แถมยังเป็นพืชเศรษฐกิจอีกต่างหากเนื่องจากสมาชิกได้นำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับงานหัตถกรรม เช่น รองเท้าแตะ ตระกร้าใส่เสื้อผ้า ถาดรองผลไม้ ถาดรองแก้วน้ำ กล่องใส่กระดาษทิชชู เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ถูกส่งไปขายยังต่างจังหวัด และประเทศญี่ปุ่น แต่ก็มีปัญหาอยู่ว่าผลิตภัณฑ์ไม่เพียงพอในการจำหน่าย เนื่องจากขาดวัตถุดิบในการผลิต (ผักตบชวาไม่พอเพียง)     <div style="text-align: center"> </div> ผักตบชวาในระบบเกษตรกรรมแบบประณีต โดยพ่อสำเริง เย็นรัมย์ เกษตรกรต้นแบบในเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านอีสาน ซึ่งเป็นอีกท่านหนึ่งที่ได้ทำเกษตรกรรมแบบประณีต ณ บ้านตะแบงสามัคคี ต.หัวฝาย กิ่งอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เล่าให้ทีมงานวิศกรทางสังคม จากบริษัทในเครือซิเมนต์ไทยฟังว่า ผักตบชวาเป็นพืชที่ดีมีประโยชน์มากมากมาย เนื่องจากผักตบชวามีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดี สามารถที่จะเอาไปคลุมต้นไม้ที่ปลูกเอาไว้ให้เกิดความชุ่มชื้นได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังได้นำผักตบชวามาทำเป็นวัสดุปรับปรุงดิน และปุ๋ยหมักสำหรับการปลูกพวกพืชผักอื่นๆ สามารถเกื้อกูลในระบบได้เป็นอย่างดี

 

ผักตบชวากับปศุสัตว์ พ่อสำเริงเป็นอีกท่านหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการนำร่องการการเลี้ยงไก่ไข่สายพันธุ์ไทยขนานแท้ กับอาอจารย์ ดร.สวัสดิ์ และอาจารย์ ดร.วนิดา โดยมีท่านครูบาสุทธินันท์ เป็นคุณอำนวย พ่อสำเริงเล่าให้ฟังว่า ไก่ไข่ที่เลี้ยง 30 ตัว ที่นี่นอกจากจะมีอาหารข้นให้กินแล้วจะเสริมด้วยผักตบชวาสดๆ อีกด้วย วันละ 4 กก. "ว่าแล้วพ่อสำเริงจึงได้ไปตัดผักตบชวามาทั้งใบและก้าน โยนเข้าไปในคอกไก่ไข่ ปรากฏว่าไก่วิ่งเข้ามาแย่งกันกินอย่างไม่น่าเชื่อ" ผลที่ได้พบว่าแม่ไก่ไข่ให้ไข่สดๆ อย่างน้อยวันละ 27 ฟอง และแม่ไก่มีสุขภาพดี สดชื่นแจ่มใส นั่นแสดงให้เห็นว่าพ่อสำเริงได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผนวกกับวิชาการได้เป็นอย่างดี

เมื่อมีประโยชน์ก็ต้องปลูก พ่อสำเริงไม่ได้คิดว่าผักตบชวาเป็นวัชพืชทางน้ำ แต่ได้ตระหนักเสมอว่าในการทำงานนั้นเวลาค่อนข้างจะเป็นข้อจำกัด การที่จะไปหาผักตบชวาที่อยู่นอกฟาร์มมาทำปุ๋ย และให้ไก่กินนั้นคงไม่สะดวกแน่ จึงตัดสินใจปลูกเองซึ่งจะได้ผักตบชวาที่ใหม่ และสดกว่า ดังนั้นพ่อสำเริงจึงได้นำผักตบชวามาปลูกเลี้ยงในบ่อปลาของตนเอง เมื่อสองปีที่แล้ว เวลาต่อมาก็พบว่าการปลูกผักตบชวาเสมือนการซื้อเครื่องฟอกอากาศให้กับปลาอีกด้วย เนื่องจากผักตบชวาจะดูดซับของเสีย และเพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับน้ำอีกทางหนึ่ง

จากแนวทางดังกล่าว หลายท่านอาจจะมองว่าผักตบชวาเป็นวัชพืชทางน้ำ แต่ในทางกลับกันคนที่ทำเกษตรกรรมแบบประณีตเหมือนพ่อสำเริงแล้ว เห็นว่าผักตบชวาเป็นพืชน้ำที่ดีมีประโยชน์มากนอกจากนั้นยังสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการเพาะเห็ดได้อีกด้วย นี่จึงเป็นมุมมองที่แตกต่างบนฐานทรัพยากรเดียวเดียวกัน ในการที่จะใช้ประโยชน์ การเกื้อกูล เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงทุกกิจกรรมอันจะเป็นการการลดต้นทุนการผลิต อย่างไรก็ตามกระบวนการเรียนรู้ ควบคู่กับภูมิปัญญาจะสามารถพัฒนาและจัดการทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม และมีความยั่งยืน

ขอบคุณมากครับ

อุทัย อันพิมพ์

28 กุมภาพันธ์ 2550

หมายเลขบันทึก: 81099เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2007 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ  พี่อุทัย

เคยได้ยินว่านำผักตบไปใช้ทำเครื่องใช้ได้ 

แต่ไม่เคยได้ยินว่าเป็นอาหารไก่ด้วย

เอ....เป็ดไข่  นี่จะกินมั้ยค่ะ

ที่บ้านเลี้ยงเป็ดน่ะคะ แล้วอยู่ใกล้หนองน้ำ

ปล่อยไปทุกเช้า  ตอนเย็นก็มาเข้าคอกเอง

ส่วนใหญ่ก็ให้ข้าวเก่าที่ทานไม่หมด แล้วก็ข้างบ้าน

มีปลูกผักก็ไปเก็บมาให้กินบ้างค่ะ

น่าจะลองให้กินผักตบบ้างเผื่อจะดีเหมือนไก่ไข่ของ

พ่อสำเริงนะคะ

 

 

ขอบคุณมากครับคุณหมูน้อย

ผมคิดว่าน่าจะกินได้เช่นกันนะครับ เพียงแต่ว่ารูปแบบการให้กินนั้นอาจจะแตกต่างกัน โดยปกติพ่อสำเริงตัดผักตบชวาสดๆ มาวางให้ไก่จิกกินเลย

เป็ดจะมีปากที่ไม่แหลมคมเหมือนไก่ อาจจะมีปัญหาในการกินบ้าง ดังนั้นผมจึงคิดว่าการหั่นผักตบชวาเป็นชิ้นเล็กๆ น่าจะเป็นวิธีการให้อาหารกับเป็นที่มีความเหมาะสมครับ

ผักตบชวาสดๆ จะเป็นอาหารเสริมที่มีวิตามินและแร่ธาตุ อันจะเป็นองค์ประกอบในการสร้างไข่ที่ดี ทำให้เราสามารถลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณมากครับ

อุทัย  อันพิมพ์

ค่ะ พี่อุทัย

เดี๋ยวจะต้องบอกข่าวดีกับพ่อซะแล้ว

วันหน้าจะมาปรึกษาใหม่นะคะ

ละก็จะแวะไปยามที่บ้านพ่อครูบาด้วย

สวัสดีค่ะ

ถ้าจะสั่งทำ และสั่งซื้อตามแบบที่ต้องการจะได้ไหมคะ

แต่แหม อยู่ไกลมากเลยค่ะ

หวัดดีครับคุณ lovefull

ไม่ทราบว่าอยู่ไกลแค่ไหนนะครับ

ผมคิดว่าก็คงได้ครับ ถ้ามีความสนใจจริง

ขอบคุณครับที่เข้ามาทักทาย

ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ผมกำลังจะทดลองเลี้ยงผักตบชวา แหน จอกในวงบ่อซีเมนต์ขนาด 80 ซม. ในแปลงปลูกพืชที่ให้น้ำโดยมินิสปริงเกลอร์ โดยคิดว่าจะใช้วิธีจับโยนผักตบชวาเพื่อเป็นวัสดุคลุมดินและปุ๋ยพืชสดให้พืชปลูก และจะนำมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพและปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท