ยอมรับว่าหน้าแตก


                  คนเราต้องยอมรับความจริงว่า ไม่ได้รู้ทุกเรื่อง  คงไม่มีใครอยากผิดพลาด หรือหน้าแตกเหมือนกันผมวันนี้

                   ผอ.สุเมษ ชักชวนเดินทางไปที่ชุมชนเผ่ามลาบรี ก่อนเที่ยง จังหวะเหมาะจึงร่วมเดินทางไปกับพี่เขา พร้อมพนักงานขับรถศูนย์พัฒนสังคมหน่วยที่ 25 จ.น่าน

                   ถึงที่หมายใช้เวลาไม่มาก จาก อ.เมืองไปถึง สามแยกทางเข้าปางเป๋ย 31 กิโลเมตรแยกเข้าไปอีกราว 14 กิโลเมตร สภาพถนนมีการปรับปรุงดี  วันนี้มีผู้คนมากหลายหน่วย

                   ผมพบพี่ผู้หญิงที่เห็นตั้งแต่เด็กจำได้บ้านอยู่ทางโค้งวัดสวนตาล  ได้ไหว้ทักทายพี่ผู้หญิงท่านนี้   ด้วยความที่เห็นอยู่ในศูนย์เล็กเด็ก จึงทักว่า  พี่อยู่ศูนย์เวียงสาหรือครับ   พี่ฯ ตอบว่า  อยู่ศูนย์ในเมือง  (  ความเข้าใจของผม เข้าใจว่า พี่อยู่ กศน.เวียงสา  เมื่อพี่ตอบแบบนี้ก็เข้าใจว่า  พี่อยู่ กศน.ในเมือง หรือที่เขาเรียกเข้าใจว่า กศน.น่าน ใกล้ รร.นคศ.)

                   พี่และน้องผู้หญิงอีกคนมาดูแลความเรียบร้อย  ช่วย ผดด.ดูแลเด็ก ๆ มลาบรีอาบน้ำ  ทำความสะอาดร่างกาย  ผมยังคงปักใจว่าพี่อยู่  กศน.น่าน  (เข้าใจเอาเอง  เพราะพี่ตอบว่าอยู่ศูนย์จังหวัดนั่นแหละ) บ่ายวันนี้อากาศร้อนอบอ้าว

                   กลับมาตอนเย็นนั่งพูดคุยกับดร.สุวัฒน์ ผอ.สุเมษ ผมเองก็ยังคงเข้าใจและพูดคุยกันว่า ดีนะ พี่ผู้หญิงคนนั้นและน้องผู้หญิงไปช่วยดูแลเด็ก ๆ  ช่วยกันคนละไม้คนละมือ   ผอ.สุเมษ พี่ชาวที่เคารพของผม อธิบายว่า  พี่คนที่ผมบอกไว้นั่นและน้องผู้หญิง  อยู่ที่ ศูนย์พัฒนาสังคม ที่ 25 จ.น่าน ยอมรับครับว่า เข้าใจผิด (เพราะเข้าใจเอาเอง ) ภาษาวัยรุ่นถือว่า  ผมหน้าแตก  ยอมรับความจริงครับยังมีอีกหลายเรื่องที่ไม่รู้ (ขนาดคุณพีชฯได้ประชาสัมพันธ์ในบล๊อคนี้แล้ว รวมทั้งเราก็พอรู้จักกับ ผอ.ศูนย์ฯอีก )   และจำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มอีกครับในเรื่องของบุคคล    ขออภัยพี่น้องผองเพื่อน  นี่หากผอ.สุเมษ ไม่พูดความจริงให้ฟัง ผมคงเข้าใจผิด ๆ ไปอีกนานแสนนาน  และพูดไปผิด ๆ อีกด้วยซิเรา

คำสำคัญ (Tags): #เข้าใจผิด
หมายเลขบันทึก: 81036เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
คนเราเข้าใจผิดก้นได้ค่ะ

       มีโอกาสไปชุมชนตองเหลืองแห่งมลาบุรี...ที่ห้วยหยวก โดยรถมอเตอร์ไซค์ส่วนตัวแวะซื้อเผือกชาวม้งที่ปากทางบ้านปางเป๋ยไปฝากคนรู้จักลุงปา/นายสี พอออกเดินทางต่อฉุกคิดได้ว่าเอ๊ะ! เราล้าหลังหรือเปล่า?เดี๋ยวตองเหลืองจะว่าเอามั้ง?เขาไม่กินแล้วมั้ง..เผือก  ตอนแรกจะซื้อขนมในเมืองก็เกรงว่าเงินจะไม่กระจายในชุมชน(เงินมีน้อยด้วย)  ก่อนเข้าชุมชนตองเหลืองเจอนายสีกับนายลองกำลังไปดูต้นน้ำที่ต่อน้ำประปาก็บอกว่ามีเผือกมาฝากจะเอาไว้ที่บ้านนะ ดูใบหน้าเฉยเมย(เป็นปกติของแววตาชนเผ่า)แต่ก็มีเสียงลอดออกมาว่า "ขอบคุณครับ"มาถึงที่ชุมชนเห็นคนขวักไขว่ก็ทักทายเท่าที่รู้จัก(ด้วยท่าทีอ่อนน้อม)ไปหาลุงแก้วยังซูบผอมอ่อนแรงเหมือนเดิมแต่ก็ยังมีแรงเดิน ส่วนลุงปานอนตะแคงหลับปุ๋ยเห็นเพื่อนๆบอกว่า ทำงานเหนื่อยของีบสักแป๊บหนึ่ง เอาเผือกไปเผากินกับเด็กๆตองเหลือง..เจอทนายธนูพร้อมผอ.สุเมษ  (จำผมผิดอีกคนหรือเปล่า?)ครับท่าน..                                                                         

        ใกล้ค่ำผู้คนส่วนหนึ่งเดินทางกลับพอปลอดคนลง..ผมก็กลับ...พอถึงปากทางบ้านปางเป๋ยเจอเด็กหนุ่ม8-9คนเดินสวนทางมาจึงตะโกนถามว่า "ไปไหนมา" ตำตอบ..".ไปรับจ้างทำไร่"  อ้อ!...(จำไม่ผิดคิดออกแล้ว)ตองเหลือง แห่งเมืองมลาบุรี นี่เอง ครับท่านธนู

ขอบคุณที่ คุณ Tinnsliamchongkon  ที่เข้ามาทักทายกัน  จำไม่ผิด  ยินดีครับการทักทาย  แล้วได้พบกันที่นั่น  และขออภัยจริง ๆ  เราก็ดูแกไปเหมือนกัน กลัวหน้าแตก  เฮ่อ ๆ

วิถีชีวิตของผู้คนไม่ว่าที่ไหน ๆ แน่นอน เงื่อนไข ปัจจัยแปรเปลี่ยน  อย่างไรก็ดี  การธำรงรักษาสิ่งดีงามที่เรียกว่า อารยธรรมที่เหลืออยู่ที่นี่  หรือที่ไหน ๆ ในทุกชาติพันธุ์ชนเผ่า  เป็นหน้าที่เราชาวไทยทุกคน   ควรได้ช่วยกันให้เกียรติ  ให้ความสำคัญ ยกย่องยินดี

เป็นธรรมดาทุกสังคมย่อมมีคนดี  และ คนไม่ดี  ก็เหมือนที่เราพูดกันนั่นแหละครับ   ว่า  ข่าวร้ายไปเร็ว   จึงไมเรื่องไม่ค่อยดีปรากฏตามสื่อมาก  อาจเพราะคนชอบบริโภคข่าวร้าย  เลยเข้าทางปืน 

การบริโภคสื่อ   ผมว่าเราต้องคัดสรรอย่างยิ่งทุกวันนี้

ทำให้ผมคิดถึงคำที่นักจิตวิทยาบอกว่า 

"ไม่มีใครจะทำร้ายจิตใจของคุณได้  ถ้าคุณไม่อนุญาต"

ดูท่าไม่ดี  จะเป็นขยะ  ปุ๊ป  ผมหยุดทันที

ก็ช่วยได้ระดับหนึ่ง

หมู่นี้  ทางกรุงเทพฯ  หากฟังเรื่องการเมือง   มีแต่ความคิดเห็น   เนื้อจริงๆมีนิดเดียว   ลำบากจริงๆครับ

ท่านธนูจะมีทางช่วยน้องคนนี้ได้บ้างไหม?

หากยอมรับความจริงว่า  หน้าแตก  แล้วแก้ไขได้  แสดงความเข้าถึง เข้าใจ  

การเข้าถึง  เข้าใจ   สามารถพัฒนาได้ไม่ยุ่งยากนักแน่ครับ  เป็นอันรู้จัก  การให้สติ ให้กำลังใจ การให้ในความหมายอย่างกว้าง

การรู้จักให้  เป็นการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน เชื่อเช่นนี้ครับ   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท