กรรมการสภาฯเยี่ยมชื่นชมคณะเทคนิคการแพทย์ มหิดล


มีนักศึกษารังสีเทคนิคบางคนขอย้ายไปเรียนโปรแกรมอื่นเพราะกลัวเป็นหมันจริงหรือไม่??.....ผมได้ทำความเข้าใจเรื่องนี้ว่า ผมมีบุตร 2 คนและภรรยา 1 คน (ฮา) และก็สอนนักศึกษารังสีเทคนิค คงมีบ้างที่คิดแบบนั้น แต่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนของภาควิชานั้น ได้สอนให้เขารู้หลัก radiation protection
     วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 ศ.วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าเยี่ยมชื่นชมคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา รศ.ฉัตรชัย ศรไชย คณบดีพร้อมด้วยกรรมการประจำคณะให้การต้อนรับอย่างพร้อมพรั่ง
     เป็นการมาเยี่ยมที่เต็มไปด้วยบรรยากาศสบายๆ ซึ่งท่านนายกสภาฯกล่าวว่า นี่เป็นการมาเยี่ยมเพื่อชื่นชมคณะเทคนิคการแพทย์ ใช้เวลาในการพูดคุยกันประมาณ 3 ชั่วโมง มีเนื้อหาสาระที่กล่าวชื่นชมและกล่าวถึงความประทับใจในกิจการที่คณะได้ดำเนินไป หลักๆก็เป็นเรื่อง การบริการวิชาการที่มีประสิทธิผลอย่างมาก
     ในส่วนของภาควิชารังสีเทคนิคที่ผมรับผิดชอบอยู่นั้น ก็ได้พูดถึงสิ่งที่ประทับใจสุดๆ ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่ไม่กล่าวไม่ได้ คือ ความมีน้ำใจอย่างสูงที่ได้รับจากคณะกรรมการมูลนิธิรามาธิบดี ในฐานะที่ท่านได้ให้เครื่องซีทีแบบ 4 slice มาใช้ในการเรียนการสอนและงานวิจัยของภาควิชารังสีเทคนิค งานวิจัยที่ดำเนินอยู่เป็นเรื่อง dose และ image quality เป็นหลัก และกำลังเตรียมการเพื่อใช้งานให้เกิดความคุ้มค่ามากขึ้นทั้งในเรื่องการจัดฝึกอบรม ซึ่งจะเริ่มโปรแกรมแรกประมาณปลายพฤษภาคมนี้ หากชาวรังสีเทคนิคหรือรังสีการแพทย์ท่านใดสนใจก็คอยฟังข่าวการอบรมต่อไป นอกจากนี้ กำลังเตรียมที่จะให้บริการผู้ป่วยที่ต้องสแกนด้วยซีที ขั้นแรกจะรับผู้ป่วยจากศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเศก มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายาก่อน
  ได้กล่าวถึงความภาคภูมิใจที่ภาควิชาได้ดำเนินการศึกษาวิจัยชุดเครื่องมืออย่างง่ายในการควบคุมคุณภาพของเครื่องเอกซเรย์ โดยเริ่มมาประมาณกว่า 12 ปี และได้จัดการฝึกอบรมให้กับนักรังสีเทคนิคทั่วประเทศมาแล้ว 12 รุ่น รุ่นแรกเริ่มในปี 2538 รวมทั้งหมดประมาณ 500 คน โรงพยาบาล สถานพยาบาลทุกแห่งที่ส่งบุคลากรเข้าอบรมจะได้รับชุดเครื่องมือไปด้วยเพื่อให้กลับไปใช้งานได้เลย และกำลังจะก้าวไปอีกขั้นหนึ่งคือการใช้ CR (computed radiography) เข้ามาช่วยในการควบคุมคุณภาพของเครื่องเอกซเรย์ เพราะเมื่อคิดในแง่ของ cost effectiveness แล้วจะคุ้มกว่าการใช้ฟิล์มเอกซเรย์มาก
   มีคำถามจากกรรมการสภาฯ ว่า มีนักศึกษารังสีเทคนิคบางคนขอย้ายไปเรียนโปรแกรมอื่นเพราะกลัวเป็นหมันจริงหรือไม่??.....ผมได้ทำความเข้าใจเรื่องนี้ว่า ผมมีบุตร 2 คนและภรรยา 1 คน (ฮา) และก็สอนนักศึกษารังสีเทคนิค คงมีบ้างที่คิดแบบนั้น แต่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนของภาควิชานั้น ได้สอนให้เขารู้หลัก radiation protection ในส่วนของ positioning เราได้จัดห้องสาธิตซึ่งมีเครื่องเอกซเรย์จำลอง ซึ่งเรามีชุดฝึกแบบนี้ 6 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วยเตียงเอกซเรย์และหลอดเอกซเรย์เสมือนจริง เพื่อให้นักศึกษาฝึกการจัดท่าในการถ่ายภาพเอกซเรย์จนชำนาญ จะไม่ยอมให้นักศึกษาทดลองถ่ายภาพเอกซเรย์กันเองโดยเด็ดขาด และการเรียนในห้องเอกซเรย์จริง ก็ได้ออกแบบห้องให้มีการป้องกันรังสีไว้อย่างดี อย่างไรก็ตามนักศึกษาทุกคนจะต้องติดอุปกรณ์ตรวจวัดรังสีประจำตัวเสมอ เพื่อตรวจปริมาณรังสีที่นักศึกษาอาจจะได้รับบ้างจากการกระเจิงของรังสีซึ่งเจือจางมากๆแล้ว เพราะเรื่องความปลอดภัยของนักศึกษาและอาจารย์เป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวด
   ท่านนายกสภาฯได้กล่าวปิดท้ายว่า ขอแสดงความชื่มชมอย่างยิ่งต่อกิจการของคณะที่ดำเนินมาได้อย่างถูกทางแล้วที่ใช้คุณภาพเป็นธงนำทาง และท่านมองว่างานที่ได้ทำไปนั้นเป็น research ได้ในตัวมันเอง สามารถพัฒนาให้เป็นผลงานที่ตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติได้ ซึ่งโดยทั่วไปงานในลักษณะนี้มันไม่ค่อยจะมี impact factor แบบ citation แต่เป็นประโยชน์ต่อสังคมสูงมาก ซึ่งท่านได้กล่าวว่าได้พยายามผลักดันให้เกิดวารสารในระดับชาติที่รองรับเรื่องแบบนี้ คณะได้ทำในสิ่งที่เรียกว่า Knowledge Translation อย่างมาก คือเป็นข้อต่อของความรู้ชนิดที่ยากมากๆไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างง่ายดาย
   ตอนท้ายกรรมการสภามหาวิทยาลัยและกรรมการประจำคณะ ได้รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
คำสำคัญ (Tags): #รังสีเทคนิค#rtmu
หมายเลขบันทึก: 81034เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท