ป้าเจี๊ยบ
น้อง พี่ อา ป้า ครู อาจารย์ คุณ นางสาว ดร. รศ. ฯลฯ รสสุคนธ์ โรส มกรมณี

สถานการณ์การศึกษาไทยเปรียบเทียบกับนานาชาติ


สังเคราะห์จากข้อมูลสถิติของ UIS

     สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบให้ รศ.ดร.สุรศักดิ์ หลาบมาลา และ รศ.ดร. รสสุคนธ์  มกรมณี ทำการสังเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลทางการศึกษาระดับนานาชาติ โดยมีประเทศไทยเป็นประเทศแกนกลาง เพื่อให้มีข้อมูลสำหรับใช้ประโยชน์ในการสนับสนุนการวางแผนและการกำหนดนโยบายด้านการศึกษา เพื่อนำไปเผยแพร่ และใช้เป็นเอกสารในการศึกษาและอ้างอิง ตลอดทั้งเป็นข้อมูลในการดำเนินงานตามโครงการ World Education Indicators ต่อไป
      เอกสารทั้ง 3 เล่ม ที่ใช้ในการสังเคราะห์เป็นเอกสารของ UNESCO Institute for Statistics (UIS), Montreal, Canada ปี ค.ศ. 2006  คือ
     1. Education Counts, Benchmarking Progress in 19 WEI Countries, World Education Indicators-2006  ข้อมูลในเล่มนี้มาจากประเทศในกลุ่ม WEI , OECD และ นอกกลุ่ม OECD บางประเทศ
     2. Global Education Digest 2006, Comparing Education Statistics Across the World ข้อมูลในเล่มนี้มาจาก 207 ประเทศ 
     3. Teachers and Educational Quality: Monitoring Global Needs for 2015  ข้อมูลในเล่มนี้มาจาก 203 ประเทศ 
     ในการดำเนินงานนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้กำหนดประเทศเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย คือ จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ซึ่งอยู่ในกลุ่ม WEI  และออสเตรเลีย แคนาดา ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลี นิวซีแลนด์ สวีเดน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ในกลุ่ม OECD อย่างไรก็ตาม ในบางรายการ ประเทศที่กล่าวมาแล้วไม่ให้ข้อมูล คณะผู้สังเคราะห์จึงนำเสนอตารางจากประเทศที่มีข้อมูลอยู่ โดยเลือกประเทศที่คุ้นเคยกับไทยหรือมีข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น กัมพูชา ลาว บราซิล คิวบา อาร์เจนตินา และรัสเซีย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมและเปรียบเทียบได้  สำหรับหัวข้อในเอกสารดังกล่าวมีดังนี้
1. ระบบการศึกษาเปรียบเทียบ
       ระบบการศึกษา  
       การศึกษาก่อนวัยเรียน
       การศึกษาขั้นพื้นฐาน   
            ความคาดหวังทางการศึกษา 
            จำนวนโรงเรียนของรัฐและเอกชน 
            รูปแบบการเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
            ความเสมอภาคทางเพศ 
            ความทั่วถึงของการศึกษา 
            การตกซ้ำชั้น
            ผู้สำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลาย 
       การอุดมศึกษา  
            ความคาดหวังทางการศึกษา           
            ความเสมอภาคทางเพศ
            ความทั่วถึงของการศึกษา
           
ร้อยละของนักศึกษาในสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน
            นักศึกษาเรียนในต่างประเทศ
            ร้อยละของนักศึกษาสำเร็จระดับอุดมศึกษา
            เพศหญิงสำเร็จอุดมศึกษา 
            สาขาที่เรียน
       การศึกษาผู้ใหญ่
            ร้อยละของผู้ใหญ่ที่สำเร็จการศึกษาแต่ละระดับ       
            ร้อยละของผู้ใหญ่ที่สำเร็จการศึกษาแต่ระดับจำแนกตามเพศ    
      งบประมาณทางการศึกษา        
            ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของภาครัฐและเอกชน      
            ร้อยละของค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของภาครัฐ
            จำแนกตามระดับการศึกษา    
            ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาคิดเป็นร้อยละของค่าใช้จ่ายของประเทศ
            ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาคิดเป็นร้อยละของ GDP      
            ค่าใช้จ่ายรายหัวของนักศึกษา       
            ค่าใช้จ่ายรายหัวของนักศึกษาเปรียบเทียบกับระดับประถมศึกษา
            การจัดสรรงบประมาณหมวดงบดำเนินการ และงบลงทุน  
2. สภาวการณ์ครูเปรียบเทียบ           
      ครูและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้      
            คาดการประชากรวัยเรียนระหว่าง ค.ศ.2010-2015      
            จำนวนนักเรียน
            อัตราการอยู่รอดและความเสมอภาคทางเพศของนักเรียน    
            อัตราส่วนนักเรียนต่อครู        
            ขนาดของชั้นเรียน         
            จำนวนเวลาเรียนต่อปี        
            จำนวนชั่วโมงสอนของครูต่อปี        
            อัตราเงินเดือนครู       
      สภาพอุปสงค์และอุปทานของครูทั่วโลก     
            การเปลี่ยนแปลงจำนวนนักเรียน        
            การเปลี่ยนแปลงจำนวนครู ค.ศ. 1971-2004     
            อายุของครู        
            คาดการณ์ความต้องการครูใน ค.ศ. 2010 และ 2015   
      คุณวุฒิ คุณภาพและการฝึกหัดครู       
            ครูและคุณวุฒิขั้นต่ำ        
            ระดับการศึกษาของครู       
            การวัดทักษะวิชาการของครู     
            การพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง     
      ปริมาณ และคุณภาพครูที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้    
            การสรรหาครูและวุฒิของครู        
            ความสมดุลระหว่างการบรรจุครูและสภาพการทำงาน      
            บทสรุป
       
3. บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับประเทศไทย   
      ประเด็นเพื่อการอภิปราย       
      ความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาไทยในภาพรวม    
      ความก้าวหน้าทางการศึกษาในกลุ่ม WEI 19 ประเทศ   
      การอุดมศึกษาและการเพิ่มพูนความรู้     
      ครู คุณภาพการศึกษา และความต้องการครูใน พ.ศ. 2558  
      ปัญหาของครูไทยในปัจจุบัน    
  
      ขณะนี้ ผู้สังเคราะห์ดำเนินงานเบื้องต้นสำเร็จเรียบร้อยแล้วโดยเอกสารดังกล่าวใช้ชื่อว่า "การสังเคราะห์เปรียบเทียบสถานการณ์การศึกษาไทยกับนานาชาติ ปี พ.ศ. 2549" และได้ส่งมอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาสำหรับนำไปจัดประชุมสัมมนาเพื่อปรับปรุงเอกสารจากข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ได้เอกสารฉบับสมบูรณ์ต่อไป  ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเบื้องต้นสามารถอ่านบทสรุปสำหรับผู้บริหารได้ที่นี่ค่ะ            

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 81023เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ป้าเจี๊ยบขา  ไม่มีเปรียบเทียบเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ หรือการศึกษาของผู้พิการหรอคะ
  • หามีไม่เจ้าค่ะ หนูหนิง
  • ตัวชี้วัดของ UISไม่มีจุดเน้นในเรื่องนี้

ได้เข้ามาอ่านสถานการณ์การศึกษาไทยของอาจารย์แล้ว เยี่ยมจริงจริงค่ะ ขอขอบพระคุณในความรู้ทั้งหมด เกิดความกระจ่างมากค่ะ

ขอขอบคุณป้าที่ให้ความรู้ เขียนอีกนะค่ะ

ขอบคุณเช่นกันที่อ่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท