Processes กับ Results


การให้ผู้ปฏิบัติเป็นผู้กำหนด Processes เพื่อไปสู่ผลสัมฤทธิ์โครงการขององค์กร ข้อดีก็คือเป็นการกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมขึ้นในองค์กร

         ความสำเร็จของการบริหารสมัยใหม่  อาศัยการดูผลสัมฤทธิ์ของการบริหารที่เรียกว่า RBM (Results base management) การนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์นั้น อาศัย ขบวนการหรือวิธีการต่างๆ (Processes)  ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์และวิธีการจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ต้องคำนึงถึง  ในการบริหารโครงการต่างๆ  หากผู้บริหารใช้ Procsses ที่เหมาะสมและควบคุม Processes ด้วยหลัก ธรรมาภิบาล  ได้แก่การใช้หลักกฎหมายที่ถูกต้อง หลักคุณธรรมที่เหมาะสม   หลักการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง  หลักความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร  หลักความบริหารด้วยความโปร่งใส  และหลักการรับผิดชอบและสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน เช่นนี้จะทำให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้  แต่หากผู้บริหารมุ่งแต่ผลสัมฤทธิ์ แต่ใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสม  ถึงแม้สุดท้ายแล้วจะได้ผลสัมฤทธิ์เหมือนกันก็จริงอยู่  แต่อาจมีผลข้างเคียงที่มากกว่าที่คิดเช่น อาจสิ้นเปลืองทรัพยากรมาก  อาจผิดหลักกฎหมาย  อาจผิดหลักคุณธรรม ความแตกแยกของผู้เกี่ยวข้อง                 

         ในองค์กรเอกชนที่ประสบผลสำเร็จอย่างมากมายนั้น  ผู้บริหารสูงสุดหรือคณะผู้บริหารที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย  วิสัยทัศน์และ พันธะกิจขององค์การ  จะไม่เป็นคนกำหนด Processes เองแต่จะให้พนักงานระดับกลางและระดับล่างเป็นผู้กำหนด Processes   การให้ผู้ปฏิบัติเป็นผู้กำหนด Processes เพื่อไปสู่ผลสัมฤทธิ์โครงการขององค์กร ข้อดีก็คือเป็นการกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมขึ้นในองค์กร  ซึ่งพบว่านวัตกรรมขององค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงนั้นมักเกิดจากผู้ปฏิบัติการนั้นเอง   ซึ่งต่างกับองค์กรราชการที่พบว่าแทบทุกองค์กรราชการเมื่อกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบายและโครงการต่างๆแล้วก็จะกำหนด Processes  ให้แก่ข้าราชการในสังกัดไปพร้อมกันและที่น่าแปลกอีกอย่างก็คือ  ทางราชการมักไม่คำนึงถึงความแตกต่างขององค์ประกอบของแต่ละหน่วยงานในสังกัด  ไม่ว่าจะเป็น ความแตกต่างด้านภูมิศาสตร์ ความแตกต่างด้านประชากรที่เป็นเป้าหมาย(นิสัยใจคอ   วิถีความเป็นอยู่  ระดับความรู้ความคิด ฯลฯ)   ความแตกต่างด้านสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ   แต่ Processes ที่กำหนดให้องค์กรในสังกัดปฏิบัตินั้นจะเป็น พิมพ์เขียว (Blueprint) เดียวกัน   และยังกำหนดตัวชี้วัด เหมือนกันอีกด้วย   นอกจากนี้องค์กรราชการยังไม่ค่อยคำนึงถึง(Result)เท่าไรนัก  แต่จะเคร่งครัด วิธีการ(Processes) ที่ได้กำหนดไว้อย่างเอาเป็นเอาตาย ทำนองว่าองค์กรในสังกัดใดปฏิบัตินอกเหนือไปจากที่กำหนดก็จะเป็นความผิดอย่างมหันต์จนไม่สามารถประเมินโครงการนั้นได้เลยก็มี แนวปฏิบัติอย่างนี้ทำให้องค์กรราชการไม่เกิดนวัตกรรมที่ดี               

          ที่กล่าวมานั้นเป็นความจริงที่เกิดขึ้นอยู่ปัจจุบัน  การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องยาก ที่จะทำให้องค์กรราชการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติให้เหมือนองค์กรเอกชนที่ประสบผลสำเร็จ   ผู้เขียนได้แต่หวังว่าองค์กรราชการจะได้เปลี่ยนแปลงแนวคิดได้บ้าง แต่ไม่ทราบว่าต้องรออีกนานเท่าไร

คำสำคัญ (Tags): #บทความ
หมายเลขบันทึก: 80997เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท