พฤติกรรมวัยรุ่นกับความรุนแรง


ข่าวแก๊งค์มอเตอร์ไซด์ซึ่ง รวมกลุ่มละประมาณ 50-100 คัน ประลองความเร็วทุกวันอาทิตย์ตามถนนหลวงที่ยังไม่เปิดใช้

 

ชมรายการข่าว  HoT News   ของไอทีวี เวลา 21.30 น. เมื่อวานนี้ว่า  ข่าวแก๊งค์มอเตอร์ไซด์ซึ่ง  รวมกลุ่มกันจำนวน50 -100 คัน

 

  เหตุเกิดที่จังหวัดสงขลา  มักประลองความเร็วกัน ทุกวันอาทิตย์  ตามถนนหลวง สายอำเภอรัตภูมิ  หลักกิโลเมตรที่ 35  ประลองกันในแต่ละวัน จะมีทีมกองเชียร์ประมาณ 300 กว่าคน ที่คอยเชียร์อยู่ข้างถนน  ส่งเสียงดัง  ก่อความรำคาญให้กับผู้คนที่อยู่ใกล้เคียง  เวทีนี้ทำให้วัยรุ่นได้แสดงออกอย่างเต็มที่  บ้าบิ่น   เพื่อที่จะได้รับการยอมรับ  ตอบสนอง ชื่นชม ในความเป็นฮีโร่ จากเพื่อนๆ

 

   การแบ่งรุ่นในการประลองแข่งขัน  เริ่มจากรุ่นเล็กพบกับรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่พบกับรุ่นใหญ่  ประลองแบบคู่กัน  และแบบกลุ่ม เพื่อชิงการยอมรับจากกลุ่ม  มักรวมกลุ่มกันเพื่อแข่งขันในช่วงเวลากลางดึกทุกวันอาทิตย์

 

สร้างความเดือนร้อน ปวดหัวให้กับเจ้าที่ตำรวจมาก  เกิดความเครียด  ไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

 

คงไม่ใช่เป็นความลำบากใจเฉพาะจังหวัดสงขลาอย่างเดียว แก๊งค์รถซึ่ง มีมานานแล้ว  เมื่อก่อน พบมากที่จังหวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองไม่ว่าจะเป็น จังหวัดปทุมธานี  จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดขอนแก่น รวมถึงจังหวัดมหาสารคาม ไม่ว่าเมืองใหญ่เมืองเล็กจะโดนเต็มๆ

 

พฤติกรรมที่เห็นได้ชัด คือ ชอบการแต่งรถ  เสียงดังมาก   ชอบการรวมกลุ่ม ชอบเที่ยวกลางคืน  เพื่อนจะมีอิทธิพลมากในช่วงวัยรุ่นอายุ 12-20 ปี  ชอบการเลียนแบบ  จะ มีผู้นำกลุ่ม  เช่น รุ่นพี่ที่นับถือ   หรือเป็นฮีโร่ของเขา ชอบนอนกลางวัน   กลางคืนจะออกแข่งขัน   รุ่นน้องที่ไม่ให้ความเคารพรุ่นพี่จะให้ถูกออกจากลุ่ม

 

สถานที่ในการแข่งขัน   เช่น ถนนทางหลวง ที่สร้างใหม่ๆยังไม่เปิดใช้  เมื่อถนนถูกเปิดใช้แก๊งค์รถซึ่งจะย้ายไปเรื่อยๆ ตามแหล่งต่างๆที่ปลอดเจ้าหน้าที่บ้านเมือง

 

นับได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยง ในการใช้ชีวิต เด็กเขาก็ไม่อยากจะใช้ชีวิตที่เสี่ยงแบบนี้  ผู้ที่จะให้ความเข้าใจ ความรักคงจะเริ่มจากครอบครัว  ให้โอกาส ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้น  เด็กวัยรุ่นมากมายไม่อยากจะไปมีพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ

 

   เคยมีโอกาสร่วมทำงานกับกลุ่มวัยรุ่น  เมื่อถามถึงอะไรที่ทำให้เขาต้องออกจากบ้าน เพื่อแข่งรถซึ่ง  เขาตอบว่า ความเหงา เหงามาก ไม่มีเพื่อน อยู่บ้านคนเดียว  ไม่รู้จะทำอะไร  แล้วพ่อแม่หละ  ก็พ่อแม่นะ  มุ่งทำแต่งาน  เพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว แต่ลูกบอกว่าเขาไม่ต้องการเงิน แต่เขาต้องการคำปรึกษา ต้องการพูดคุย ต้องการคนที่เข้าใจรับฟังเมื่อมีปัญหา เมื่อไม่รู้จะไปปรึกษาใคร วัยรุ่น จึงแสวงหาเพื่อนจากภายนอก เพราะเพื่อนให้ทุกอย่าง  จึงเกิดการรวมกลุ่มกัน ขึ้นทำให้เกิดปัญหาแก๊งค์รถซึ่งในสังคม

 

          นี่เป็นเพียงสะท้อนปัญหาของวัยรุ่นที่เกิดขึ้นในสังคม เพียงเพราะขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัว และขาดพื้นที่ดีๆ  สำหรับเด็กและเยาวชน ในการแสดงออกที่สร้างสรรค์  การทำกิจกรรมร่วมกัน  ผู้ใหญ่ใจดีในแต่ละจังหวัด  คงจะกำลังมองหาพื้นที่ดีๆ สำหรับเด็กและเยาวชน ในพื้นที่จังหวัดของตนเอง เพื่อลดปัญหาดังกล่าวลง

 

 อนงค์  ปะนะทัง

27 กุมภาพันธ์ 2550

หมายเลขบันทึก: 80977เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เข้ามาทักทายค่ะ
  • รถซิ่งเป็นปัญหาระดับประเทศเช่น ที่เยาวชนสร้างปัญหากับสังคมในหลายจังหวัด
  • แต่คนที่เก่งจริง(หัวหน้าซิ่ง)น่าจะเสียชีวิตหมดแล้วนะ)
  • เมื่อปีที่แล้ว วัยรุ่นที่จังหวัดสงขลา(ถนนลพบุรีราเมศร์) ไล่ยิงกัน เจ้าหน้าที่ ม.อ.ขับรถผ่านเพื่อกลับบ้านกระสุนพลาดถูกเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวสิ้นชีวิต เห็นใจครอบครัวน้องเขามากเลยจ๊ะ
  • ขอบคุณค่ะพี่ นาง อัมพร อรุณศรี ขอให้กำลังใจ เช่นกัน
  • แน่นอนคนที่เป็นหัวหน้ามักจะอายุมากขึ้นและจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองในทางที่ดีขึ้น ในบางรายก็เสียชีวิตก่อนวัยสมควร
  • พฤติกรรมที่เกิดขึ้น ทำให้คนดีๆถูกลูกหลงได้

 

ทำไม พ่อ แม่เขา ไม่บอกลูกเขาว่า มันไม่ดีแน่นอน และเสี่ยงกับการที่จะเกิดอุบัติเหตุ และถูกจับกุม และ เสียเงิน เสียทอง ดีไม่ดี ก็เสียแม้กระทั้ง ชีวิต ทำไม่จะต้องให้ชีวิต ลูก ซึ่ง พ่อ แม่ รับผิดชอบ โดยตรง เดินในทางที่ผิดอย่างนั้น กิฬาอย่างอื่น มีเยอะ แยะ ทำไม ไม่เลือกให้เขา ไม่แนะนำเขา ทำไม่จึงปล่อยให้เขามีความคิดและทำอย่างนี้ พ่อแม่ควรจะตัดไฟ แต่ตันลม ไม่ซื้อรถให้ หรือ ถ้าซิ้อให้ ก็ให้ลองใช้ดูสักระยะ ถ้าไม่ดีก็ หาวิธีใหม่ ไม่ใช่บอกว่า ไม่มีเวลา อย่างเดียว

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วยค่ะ ปัญหาเด็กแว้นที่กทม.นี้ก็รุนแรงมาก ทุกวันศุกร์ เสาร์ รถของมูลนิธิต่าง ๆ จะต้องไปจอดรอเพื่อเก็บผู้บาดเจ็บ ตาย จากสนามแข่งใต้สะพานใหญ่  ๆ ชานเมืองค่ะ

และเห็นด้วยกับทางออกที่อาจารย์กล่าวไว้ค่ะ...การทำกิจกรรมร่วมกัน  ผู้ใหญ่ใจดีในแต่ละจังหวัด  คงจะกำลังมองหาพื้นที่ดีๆ สำหรับเด็กและเยาวชน ในพื้นที่จังหวัดของตนเอง เพื่อลดปัญหาดังกล่าวลง

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

ขอบคุณค่ะที่เข้ามาร่วม ลปรร และขอคิดด้วยคน

มีประโยชน์มากเลยค่ะ

 

สวัสดีค่ะP คนไม่มีราก

ต้องส่งเสริมการดูแลสุขภาพ และการเพิ่มที่ดีๆๆ ให้กับเด็กและเยาวชนมากขึ้นค่ะ

โฮ วัยรุ่นเรา เน๊อะ ทำดั๊ยรุนแร๊ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท