จิต : ความคิดเข้าใจแบบขยายความ


ความคิดเข้าใจแบบขยายความ หรือ Extrapolation  เป็นความคิดลงความเห็นเชิงพยากรณ์จากข้อมูลที่มีอยู่ในมือ  เช่น

"ถ้าชายหญิงคู่หนึ่งเข้ามาหาเรา คราบน้ำตาอาบแก้ม  ท่าทางอิดโรย" -----------(เราคิดแปลความว่า) เขาเศร้า, ----  (เราคิดตีความว่า) เขาจะมาขอความช่วยเหลือจากเรา,----- (เราคิดขยายความว่า) ถ้าเราไม่ช่วยแล้ว เขาอาจจะไปฆ่าตัวตาย.

ถ้าครูสอนเพื่อพัฒนาความคิดเข้าใจกันอย่างเต็มที่แล้วจะเป็นเช่นไร? ------ (คิดขยายความว่า) เด็กไทยจะคิดเข้าใจแบบขยายความเก่ง

ถ้าให้พวกดาราออกมาอวยพรให้ผู้ชมทีวีฟังทุกเช้าว่า "ขอให้รวยๆ"  ติดต่อกันเป็นเวลา ๑ ปี แล้วจะเป็นเช่นไร? ---------- (คิดขยายความว่า)   คนไทยจะมีค่านิยมชมชอบคนรวย  พบคนรวยก็จะพินอบพิเทา

ถ้าให้พวกสักตามตัวออกมาเดินโชว์ตามจอทีวีทุกวันๆติดต่อกันนานๆ แล้ว อะไรจะเกิดขึ้น ? ------- (คิดขยายความว่า) เด็กวัยรุ่นไทยจะมีค่านิยมสักลวดลายกันตามร่างกายเดินเพ่นพ่านเต็มบ้านเต็มเมือง !!

ถ้าเอารูปพวกพั้งมาออกทีวีทุกวันๆ แล้วอะไรจะเกิดขึ้น? -----  (ติดขยายความว่า) พวกหัวอ่อนคล้อยตามง่ายจะเอาอย่างตัดผมทรงหัวแหลมกันเต็มบ้านเต็มเมือง

ที่เรียกว่าความเข้าใจนั้น  นักการศึกษาได้ยอมรับกันว่า คือความสามารถที่จะคิดแปลความ  คิดตีความ  และคิดขยายความครับ  และเรียกความเข้าใจนี้ว่า  เป็นความสามารถด้านปัญญาครับ  โดยค่อนข้างจะรังเกียจว่า  ความจำไม่ใช่ความสามารถด้านปัญญา  แต่ผมอยากให้เปลี่ยนความคิดเสียใหม่ว่า  ความจำก็เป็นความสามารถด้านปัญญาด้วยครับ

ขอให้สังเกตว่า  ถ้าจะได้วิเคราะห์ให้ลึกลงไปอีกแล้ว  ก็จะพบว่า  ความสามารถด้านความเข้าใจจะอยู่ในกลุ่มของ "มโนทัศน์" และ "การรับรู้"ครับ

คำสำคัญ (Tags): #การคิดขยายความ
หมายเลขบันทึก: 80917เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์ ดร.ไสว

อาจารย์ช่วยอรรถาธิบาย ย่อหน้าสุดท้ายอีกครั้ง ก็น่าจะดี นะครับ..

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยมบ่อยๆครับ  ที่ถาม  ขยายได้ดังนี้ครับ

(๑) สิ่งต่างๆจะมี "ลักษณะ" หลายอย่าง  เช่น แมว ก็จะมีลักษณะ "สี : ดำ, ขาว, เหลือง, เทา"   "เสียงร้อง : เหมียวๆ. หง้าวๆ, แกวๆ"  "อาหาร : หนู, ปลาย่าง, ปลาสด, เนื้อย่าง,"  "เท้า : มีสี่เท้า"  "เล็บ : แหลมคม, ปลายงุ้ม"  "หาง : หนึ่งหาง"  "ที่อยู่ : บนบก, ในบ้าน,ในป่า"  ฯลฯ  ลักษณะเหล่านี้ อาจจะไปเป็น "ลักษณะร่วม" กับสัตว์อื่นหรือวัตถุอื่น  เช่น  "จำนวนเท้า" ก็ไปร่วมกับ เสือ  สุนัข  กวาง, ช้าง, ฯลฯ ทำให้เมื่อเห็นแมว ก็"จะทำให้นึกถึง" เสือ, สุนัข, ฯลฯ ด้วย  เหตุการณ์เช่นนี้จะทำให้ "สะดวก"ต่อการแปลความ  ตีความ  และขยายความ

(๒) "การรับรู้"  ผมได้บันทึกเรื่องนี้เอาไว้สองบล็อกแล้วครับ  การที่ "สิ่ง"ต่างๆล้วนแต่มี "ลักษณะกำหนด" ให้เกิดมีสิ่งนั้นๆขึ้น  ทำให้สิ่งนั้นๆ "มีลักษณะร่วมกันในบางลักษณะ  บางโอกาส" ได้อย่างง่ายดาย  ทำให้ "สิ่ง" เหล่านั้น "โยงสัมพันธ์"กัน ได้มากขึ้น  และกว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น  เมื่อเห็น "ยดน้ำค้างยามเช้า"  ก็ทำให้"นึกถึงตานาง"  "ทำให้นึกถึงวันที่เราพบนางที่นั่นๆ"  "แต่ไม่นานนางก็ละลายหายไป" ฯลฯ  เมื่อเรา "สัมผัส" สิ่งใด  ทำให้เราจินตนาการไปไกลมากเช่นนี้  ก็จะทำให้ "เข้าใจ" และ "รับรู้" ได้กว้างไกลมากยิ่งขึ้นครับ

(๓) ถ้าหากนำ (๑)  และ (๒) ไปหาค่าสหสัมพันธ์(Correlation) กับ "ความเข้าใจ"  ก็ทายว่า  จะได้ค่าสหสัมพันธ์เป็นบวก และสูง ครับ  ใครที่ยังไม่ได้หัวข้อวิจัย  ก็น่าจะทำวิจัยเรื่องนี้ดูนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท