Transcript กิจกรรมนักศึกษา:โครงสร้างกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


ท่านอธิการบดี (รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข) ได้กำหนดให้มี Electronic Book (สมุดกิจกรรม) คณะกรรมการฯ ประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบงานกิจกรรม นายกองค์การบริหาร องค์การนักศึกษา

จากงานวิจัยและความเป็นจริงในปัจจุบันพบว่า นักศึกษาทำและเข้าร่วมกิจกรรมน้อยลงอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ กอปรกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มี 5 ถึงวิทยาเขตท่านอธิการบดี (รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข) ได้กำหนดให้มี Electronic Book (สมุดกิจกรรม) คณะกรรมการฯ ประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบงานกิจกรรม นายกองค์การบริหาร องค์การนักศึกษา

จึงได้จัดประชุมในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550 ที่วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อลปรร.ร่วมกันทุกวิทยาเขตในฐานะที่วิทยาเขตหาดใหญ่ได้เริ่ม Transcript กิจกรรมนักศึกษามาร่วม 2ปีแล้ว พร้อมเป็นโครงการนำร่องให้วิทยาเขตอื่น ๆ และปรับให้สอดคล้องเป้าหมายการบ่มเพาะนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษามีจิตสำนึกสาธารณะ มีทักษะชีวิตความเป็นไทย มีคุณธรรม จริยธรรม ความภาคภูมิใจในสถาบัน ความเป็นลูกพระบิดา ความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวไม่แยกวิทยาเขต และความเข้าใจในพหุวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากการทำและเข้าร่วมกิจกรรม นักศึกษาได้รับ Transcript กิจกรรมหลังตามที่นักศึกษาขอ เช่นสำเร็จการศึกษา ประกอบการสมัครงานฯลฯ จึงได้กำหนดรูปแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และกำหนดให้นักศึกษาเข้าร่วมในระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย (ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 - ปีสุดท้าย)  มีจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 17   กิจกรรม  มีจำนวนหน่วยชั่วโมงที่เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 100 หน่วยชั่วโมง  โครงสร้างกิจกรรมเสริมหลักสูตรจำแนกได้ดังนี้               

  •  1. กิจกรรมเสริมหลักสูตรซึ่งกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าร่วม (Extra-Curricular Activities Requirement)  หมายถึง  กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องเข้าร่วม  จำนวนไม่น้อยกว่า 7 กิจกรรม  มีจำนวนชั่วโมงที่เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 40 หน่วยชั่วโมง  ลักษณะกิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นนักศึกษา  การเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะ พัฒนาคุณธรรม  จริยธรรม  ความมีวินัย  การพัฒนาบุคลิกภาพ  ความเป็นผู้นำ และการแนะนำแนวทางในการวางแผนชีวิตภายหลังสำเร็จการศึกษา  ซึ่ง      กิจกรรมเสริมหลักสูตรส่วนนี้จำแนกออกได้ดังนี้
  • 1.1 กิจกรรมบังคับ คือ  กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่นักศึกษาต้องเข้าร่วม (4 กิจกรรม 20 หน่วยชั่วโมง )
  • 1.2 กิจกรรมบังคับเลือก  คือ  กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่นักศึกษาต้องเข้าร่วม แต่นักศึกษามีโอกาสเลือกกิจกรรมที่จะเข้าร่วมได้ (อย่างน้อย 3 กิจกรรม 20  หน่วยชั่วโมง)               
  • 2.กิจกรรมเสริมหลักสูตรซึ่งกำหนดให้นักศึกษาเลือกเข้าร่วม (Extra-Curricular Activities Free Elective) หมายถึง  กิจกรรมซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาเลือกเข้าร่วมได้ตามความชอบความสนใจ จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย มีจำนวนกิจกรรมไม่น้อยกว่า 10 กิจกรรม  มีจำนวนหน่วยชั่วโมงที่เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 60 หน่วยชั่วโมง  โดยมหาวิทยาลัยได้กำหนดประเภทกิจกรรมไว้ 5 กิจกรรมหลัก คือ 
  • 1. กิจกรรมเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะ  พัฒนาคุณธรรม   จริยธรรม และความมีวินัย        ได้แก่  กิจกรรมในลักษณะเสริมสร้างจิตสำนึกเพื่อสังคมส่วนรวมโดยเน้นสังคมผู้ขาดโอกาส  จิตสำนึกด้าน    คุณธรรม  จริยธรรม  ความมีวินัย  และความมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ               
  •  2. กิจกรรมเสริมทักษะทางสังคม วิชาการหรือวิชาชีพ และเสริมสร้างสมรรถสากลบนพื้นฐานความเป็นไทย  ได้แก่  กิจกรรมในลักษณะส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพ  ความเป็นผู้นำ การเปิดโลกทัศน์สู่สากล   การแสดงออก  ทักษะทางภาษา/คอมพิวเตอร์ และส่งเสริมประสบการณ์ทางวิชาชีพ               
  • 3. กิจกรรมเสริมสร้างความภาคภูมิใจในสถาบัน ความเป็นลูกพระบิดา  เป็นหนึ่งเดียวไม่แยกวิทยาเขต/เขตการศึกษา  ได้แก่ กิจกรรมในลักษณะปลูกฝังการปฏิบัติตามแนวพระบรมราโชวาทพระบิดา และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ความภาคภูมิใจในสถาบัน  การแต่งกายที่ถูกระเบียบ และกิจกรรมการแสดงออกถึงความหนึ่งเดียวในลูกสงขลานครินทร์              
  •   4.  กิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจในพหุวัฒนธรรม และความเป็นประชาธิปไตยโดยมี       พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข  ได้แก่  กิจกรรมที่เสริมสร้างความเข้าใจในความแตกต่างทางศาสนา     เชื้อชาติ   เผ่าพันธุ์   ภาษาและวัฒนธรรม   กิจกรรมหลอมรวมพหุวัฒนธรรม และกิจกรรมส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย      
  •   5. กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาสุขภาพ  ได้แก่  กิจกรรมการออกกำลังกาย  สันทนาการ  การพัฒนาสมาธิ และพัฒนาจิต          กิจกรรมเสริมหลักสูตรแต่ละประเภท  นักศึกษาจะต้องเลือกเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 2 กิจกรรม  จำนวนชั่วโมงไม่น้อยกว่า 12 หน่วยชั่วโมง
  •  มติที่ประชุมวันนี้ ทุกวิทยาเขตขานรับในหลักการและพร้อมที่จะขับเคลื่อนและเจาะลึกในรายละเอียดครั้งต่อไปวันที่ 23 - 24 มีนาคม 2550 ที่อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หมายเลขบันทึก: 80858เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • ขอแสดงความยินดีกับ มอ. มากครับกับโครงสร้างกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เป็นรูปธรรม
  • ของ มมส  มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน  แต่ไม่นับชั่วโมง  หากแต่นับรายกิจกรรมเลย  โดยเพิ่งประกาศใช้ปี 2549  เป็นปีแรกและนิสิตก็ทยอยมารับสมุดบันทึกกิจกรรมนี้เป็นระยะ
  • และดูเหมือนบางกิจกรรมน่าสนใจมากครับ  โดยเฉพาะจุดแข็งเรื่องสถานศึกษา, สังคม, สถาบันพระมหากษัริย์, การปกครอง และวัฒนธรรม
  • แต่ที่นิสิตจะมีสมุดบันทึกกิจกรรมกันทุกคน  แต่ผู้ที่จะได้รับ  Transcript ต้องเข้าร่วมกิจกรรมครบตามหลักสูตรเท่านั้น  ถ้าไม่ครบก็จะได้แต่สมุดบันทึกกิจกรรมเท่านั้น
  • ที่ มอ. สมุดบันทึกกิจกรรมนั้น เป็นเล่ม หรือใช้ระบบสารสนเทศบันทึกเลยครับ
  • ที่ มอ. ของเดิมเป็นสมุดบันทึกกิจกรรมเป็นเล่ม ต่อไปนี้หากโครงการนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ครอบคลุมใช้ระบบสารสนเทศบันทึกกิจกรรมทั้ง 5 วิทยาเขต (วิทยาเขตหาดใหญ่ทำนำร่องมาแล้ว 2 ปี ตั้งแต่ปี 2548 ค่ะ)
    • ตอนนี้ที่ มมส ก็สร้างระบบสารสนเทศมาบันทึกแล้ว แต่ยังไม่เป็นผลชัดเจนนัก
    • ซึ่งผมนัดเจ้าหน้าที่คุยกันอีกครั้งวันศุกร์นี้  และจะได้นำมาแลกเปลี่ยนกับท่านอาจารย์อีกครั้ง

    สวัสดีครับ

        แวะเข้ามาทักทายครับ น่าสนใจครับ มีหลายๆ ประเด็นให้มองนะครับ จากปัญหาว่าทำไม นศ.ทำกิจกรรมน้อยลง ผมว่าคงประสบปัญหานี้กันทุกที่ครับ แต่เดี๋ยวนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นไงกันบ้าง ผมไม่ได้คลุกคลีกับ นศ. ที่ มอ. มานานพอสมควรครับ

        สิ่งหนึ่งที่ผมมองคือ กิจกรรม นศ. มีอยู่สององค์กรหลักๆ คือ องค์กรที่เป็นทางการ ได้แต่ องค์การบริหาร สโมสร นศ.  และชมรมต่างๆ

    และอีกองค์กรก็คือ องค์กรอิสระ ที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่กลุ่มจังหวัด กลุ่มพี่โรงเรียน กลุ่มอิสระอื่นๆ

    สิ่งที่เราหวังมากๆ หน่อยก็คือ กลุ่มองค์กรที่เป็นทางการ เพราะเป็นตัวแทนของ นศ.ในกลุ่มต่างๆ ระดับมหาวิทยาลัยหรือ ระดับคณะ หรือสาขาวิชาเอก หรือชมรม เพื่อให้น้อง นศ. หันมาสนใจทำกิจกรรมต่างๆ

    ผมมองในอีกทางคือ หากเราสามารถมีตัวตุ๊กตาให้เค้ามองแล้วคิดได้ว่าเค้าน่าจะรวมกลุ่มกันทำอะไรดีๆ ต่อสังคมได้ก็คงดีครับ จริงๆ แล้วกิจกรรม นศ.นั้น อาจจะไม่จำเป็นจะต้องใช้งบประมาณไรมากมาย อยู่ที่การประสานงานและการจัดการ

    อีกอย่างที่สำคัญคือ ต้องเปลี่ยนแนวคิดที่เคยคิดว่า ไปทำกิจกรรมแล้วกลัวการเรียนจะเสีย หรือว่าพวกทำกิจกรรมคือพวกที่เรียนอ่อน ไม่สนใจการเรียน ผมว่าอาจจะต้องหาตัวอย่างมาให้เค้าเห็น ผมเองก็เคยพยายามจะลบข้อครหาเรื่อง พวกทำกิจกรรมคือพวกเรียนอ่อนมาแล้วเหมือนกัน แต่ต้องยอมรับครับ ว่าทำกิจกรรมนั้นต้องแบ่งเวลากันสนุกครับ

    ที่แน่ๆ คือ การเรียน กับกิจกรรม  บางคนอาจจะมีสามอย่างคือ การเรียน กิจกรรมและ ความรัก อิๆๆ

    ไว้ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟังอีกครับ

    ขอบคุณครับ

    สมพร

     Smiley Grad 3 น่ายกย่องครับ กิจกรรมเสริมให้ "คน เป็น ฅน" นับเป็นแบบอย่างที่ดีครับ
    • ขอบคุณมากค่ะที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
    • ว่าไปแล้วนักศึกษาต้องได้พัฒนา 2 สิ่งหลัก ๆ คือวิชาการในวิชาชีพสาขาที่เรียนเป็นส่วน IQ และกิจกรรมนักศึกษาที่เสริมให้เขาเหล่านั้นมี EQ เป็นคนที่สมบูรณ์ (The Whole Person) มีร่างกาย อารมณ์  สังคม จิตใจ คุณธรรม จริยธรรมสำนึกสาธารณะและสิ่งแวดล้อม แต่หากได้ส่วนที่ 3 (ความรัก) ก็ดีนะจะได้ศึกษาซึ่งกันและกัน
    • ปัจจุบันหลายหน่วยงานต้องการนักศึกษาที่มีประสบการณ์ทำกิจกรรมพร้อมใบรับรองการทำกิจกรรม

     

    • ขอบคุณค่ะท่านอาจารย์ JJ
    • ทราบว่าอดีตท่านเป็นนักกิจกรรมเก่า ทำงานแล้วก็ยังเป็นนักกิจกรรม (เป็นตัวชี้วัดชัดเจนว่าหัวใจเป็นนักกิจกรรมตัวจริง ของจริง)
    • ขอชื่นชม พร้อมนำมาเป็นแบบอย่างค่ะ
    •  สวัสดีค่ะพี่อัมพร 
    • โครงการยอดเยี่ยมค่ะพี  ดีมากเลยค่ะพี่
    • ขอบคุณที่นำมาถ่ายทอดค่ะ
    • คิดถึงพี่อัมพรเสมอค่า  

     

     

    • ขอบคุณค่ะน้องอ้อ
    • ที่มมส.ก็คล้ายกันนะ แต่ที่มมส.เป็นสมุดบันทึกกิจกรรมนิสิตจากบันทึกน้องแผ่นดิน
    • ของ ม.อ หาดใหญ่ได้นำร่องบันทึกในสารสนเทศและเตรียมให้ทุกวิทยาเขตใช้ในปีการศึกษา 2550 หากทัน
    • อย่าลืมเอารูปเจ้าตัวเล็กมาหยิกแอบหน่อยนะ
    • กดเร็วไปหน่อยค่ะน้องอ้อ หยิกแก้ม ค่ะ

    สวัสดีคะพี่อัมพร

    ขออนุญาติแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยนะคะ คือตั๊กทำงานอยู่มที่สถาบันการพลศึกษา สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ ต้องดูแลนักศึกษาที่จะไปเป็นครู ตนจึงมีกิจกรรมเสริมในรายวิชาบ่อยมาก วันก่อน 26-27 มิ.ย. 52 ได้มีโอกาสไปเข้าร่วมอบรม กิจกรรมเสริมหลักสุตร ที่อ.อรัญญา เป็นผู้จัด ที่ บีพี สงขลา และมีนศ.คณะวิทย์ (ของอ.น้อย)ไปแสดงผลงานการรับน้อง ก้าวแรก ก็ชื่นชมผลงานของนศ.และมอ.หาดใหญ่ มาก ที่ที่ตนทำงานอยู่ การทำกิจกรรมของสถาบันฯยังไม่ชัด สมุดบันทึก หรือรายละเอียด กฏกติกา เงื่อนไข ต่างๆ ยังไม่ชัดเจน จึงอยากรบกวนปรึกษาพี่อีกหลายเรื่อง ไม่ทราบว่าจะรบกวนเวลาพี่มากไปหรือเปล่า ถ้ายินดี ตั๊กก็จะรอตามเมลที่ส่งมาให้นะ

    ไม่แน่ใจว่าวันก่อนก็เคยส่งมาทักทายด้วยพี่อัมพรได้รับหรือเปล่าคะ คือพยายามทำทุกอย่างเพื่อนักศึกษา และอนาคตที่ดีของคนในสังคมต่อไป

    ด้วยความยินดีมากเลยค่ะ พี่ตอบเมล์ไปแล้วนะคะ

    ดีแล้วค่ะ เราจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันนะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท