R2R ศิริราช เยือน Patho-OTOP มอ. เกินคาดจริงๆครับ


ถ้าใครถามผมว่าทำ R2R ทำอย่างไร Step 1-2-3 ผมจะตอบว่า ก็อย่าทำ R2R สิแต่ทำงานให้ดีที่สุดและคิดปรับปรุงงั้นนั้นๆอยู่เสมอ(มีการทบทวนองค์ความรู้ด้วยนะครับ) เมื่อคิดได้และอยากวัดผลจึงเริ่มทำเป็นวิจัยครับ

คืนนี้ผมขอเล่าเรื่องที่ R2R ศิริราชลงไปขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ Patho-OTOP ที่ม.อ. ครับ จริงๆตั้งใจว่าจะเขียนหลายวันแล้วแต่ติดที่ภาระกิจหลายอย่าง วันนี้ก็เช่นกันกว่าจะประชุมกับทีมทำวิจัยเสร็จก็เกือบสองทุ่มแล้วครับ ต้องรีบเคลียร์งานต่อ ถึงบ้านทานข้าวเกือบห้าทุ่มแล้วครับ (ทานข้าวดึกทำให้น้ำหนักขึ้นได้ง่ายใช่ไหมครับคุณหมอลัดดา J)  แต่ยังไงก็ต้องเขียนคืนนี้ครับเพราะรับปากกับท่านอาจารย์วิจารณ์ไว้ครับ J ต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์ปารมีเป็นอย่างสูงจากใจจริงที่นำทีมพยาธิม.อ.ต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดีครับ  พวกเราที่ไปได้แก่ อาจารย์กุลธร คุณฝน คุณก้อย คุณอินและผม เสียดายครับที่อาจารย์ดาราวรรณ ไม่สามารถไปด้วยได้เนื่องจากไม่สบายกระทันหัน ตอนนี้อาจารย์ยังไม่หายดีเลยครับ ขอให้อาจารย์หายโดยเร็วนะครับ (จะได้มาประชุมกันต่อได้พรุ่งนี้ด้วย :P ) ขอแบบสรุปๆนะครับ ก่อนไปเราทำ BAR=Before Action Review กันอย่างเข้มข้น โดยตัวผมเองมีหลายอย่างมากที่อยากทราบจะเขียนแบบ AAR นะครับ

1. สิ่งที่ผมคาดหวังไว้: ขออนุญาตเอาบางส่วนของ e-mail ที่ติดต่อกับอาจารย์ปารมีให้ดูเลยนะครับ

Re that schedule, I love your draft very much krub. Just to provide you some detail, initially we would like to see
1.  How do you create the research environment for the busy staff? The rewarding system?
2. How do you manage to use KM (explicitly and/or implicitly) as a tool to promote research conduction?
3. How do you/your staff create the research question (inspiration) based on the routine service?
4. The genuine environment of your staff, therefore, visiting to the lab
would be highly preferable.
5. It would be very good, if we could get the chance to talk to คุณกิจ และ คุณอำนวย too krub.
 6. Obstacles & Tips and Tricks to overcome them.
 7. Etc.
or anything else you would like to share/learn. Basically, it is more or
less like the success story telling krub.
ซึ่งผมคิดว่าผมสมหวังทุกข้อเลยครับ ต้องขอบพระคุณทีมงาน Patho-OTOP เป็นอย่างสูงครับที่ได้เจอตัวเป็นๆของทุกท่านครับ ทีมงานทำให้เรารู้สึกอบอุ่นมากๆและผมสามารถสัมผัสได้ถึงพลังในตัวทีมงานแต่ละท่านที่มีอยู่มากมายครับ  

2. สิ่งที่ได้เกินความคาดหมาย:

  • เพียบครับ ตั้งแต่ที่มาที่ไป โดยเฉพาะการเอา KM มาประยุกต์ใช้โดยไม่ให้คนที่ทำรู้สึกว่าเป็นงานใหม่ หรือรู้สึกแสลงอารมณ์ครับ
  • ผลขอลองสรุป Key success factor สั้นๆของโครงการ Patho-OTOP นะครั
    • ไม่ทำโครงการ “3 ย”  (ใหญ่ ยาว ยาก) ในเบื้องต้น ซึ่งก็จะสามารถเติบใหญ่ได้เอง โดยในระยะแรกกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน                                                          
    •  Not aiming for research   ซึ่งคล้ายโครงการติดดาวและนวัตกรรมของที่ศิริราชเราดำเนินการมาแล้วหลายปีอย่างต่อเนื่องแต่เป็นการทำในระดับโรงพยาบาลเลยครับ ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องยาก ซับซ้อน หรือกลัวครับ ซึ่งตรงนี้ที่ R2R ศิริราชเราก็เคยมีปัญหานี้ในตอนเริ่มต้น ซึ่งปัจจุบันผมได้พยายามเปลี่ยน Attitude นี้ครับ ถ้าใครถามผมว่าทำ R2R ทำอย่างไร Step 1-2-3 ผมจะตอบว่า ก็อย่าทำ R2R สิแต่ทำงานให้ดีที่สุดและคิดปรับปรุงงั้นนั้นๆอยู่เสมอ(มีการทบทวนองค์ความรู้ด้วยนะครับ) เมื่อคิดได้และอยากวัดผลจึงเริ่มทำเป็นวิจัยครับ จากประสบการณ์ผมถ้าเราเริ่มที่งานวิจัยจะทำให้ติดกรอบหลายๆอย่างโดยเฉพาะถ้าคิดเอา Methodology มาก่อนนะครับ ซึ่งไม่น่าจะถูกจุดประสงค์ของ R2R ที่ต้องการใช้งานวิจัยและ KM เป็นรากฐาน เสริมและเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาต่างๆ                                                          
    • iii.      พี่เลี้ยง (facilitator) และ ที่ปรึกษาข้ามกลุ่ม (consultant) คล้ายกับ Model ของศิริราชที่มี CF แต่ที่เราไม่ได้ assign ที่ปรึกษาข้ามกลุ่มหากแต่ R2R เป็นตัวกลางเป็น match maker สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องครับ ผมว่าประเด็นที่ปรึกษาข้ามกลุ่มนี้สำคัญมากๆครับและนำมาซึ่งความสำเร็จหลายอย่าง โดยเฉพาะการทำให้คนทำงานหันหน้าเข้าหากัน                                                         
    • iv.      Continuity & การสร้างแนวร่วม & ให้เห็นว่าเป็นศักดิ์ศรีของหน่วยงานที่ต้องมี สามารถสัมผัสได้ในพลังของทีมงานจริงๆ ตอนนี้ที่ศิริราชเราเริ่มทำได้บางงานแล้วครับ ต้องพยายามกันต่อไป                                                           
    •  v.      Leadership ตรงนี้สำคัญมากๆครับ ต้องเป็นคนที่มี vision และมีกุศโลบายที่ดีจริงๆครับ                                                         
    •  vi.      ทำในหน่วยงาน ซึ่งโจทย์นี้ต่างกับ setting ของศิริราชครับที่เราเริ่ม Centralized ก่อนโดยการตั้งหน่วยงาน แต่ขณะนี้เรามี Demand มาจากทุก Model เลยครับ ไม่ว่า R2R เข้าไปกระตุ้น หรือว่าเดินเข้ามาหาเราเอง หรือว่ามาเป็นระดับภาควิชาเลยครับ ซึ่งหลังๆนี้สองอย่างหลังมามากขึ้นเรื่อยๆจนเราทำงานหนักขึ้นมากครับ ซึ่งจริงๆตรงจุดนี้หล่ะที่ผมต้องการเรียนรู้จาก Patho-OTOPและปรับModel การทำงานเพื่อให้งาน R2R กระจายได้เร็วขึ้น กว้างขึ้น และทำให้เป็น Decentralized ที่แต่ละหน่วยงานสามารถ run ได้เองในที่สุด

3. สิ่งที่ไม่ได้ตามคาดหมาย: เรียนได้เต็มปากเต็มคำเลยครับว่า “ไม่มีครับ”

4. สิ่งที่จะทำต่อ: ผมเริ่มเขียนแผนที่จะนำ KM มาใช้เดินเรื่องงานของ R2R ที่ศิริราชแล้วครับ ที่ผ่านมาเราใช้เป็นตัวเสริมแต่คราวนี้ผมจะลองใช้เป็นตัวหลักเลยครับ โดยเริ่มเลยครับพฤหัสฯนี้เราจะเดินเรื่องด้วย Success story telling จากทีมที่ทำงานวิจัยไปได้อย่างดีถ่ายทอดให้ผู้อื่น (ตรงนี้คุณฝนเป็นหัวแรงใหญ่ ต้องขอบคุณมากๆ โดยเฉพาะที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมเข้าร่วมแบบ Active ด้วย) ตรงนี้ต้องเรียนครับว่ากิจกรรมนี้ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจนเราไม่สามารถรับได้หมดและต้องจัดเพิ่มอีกครั้งครับ เรื่องการใช้ KM นี้ต้องขอเรียนปรึกษาท่านอาจารย์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องด้วยนะครับ

 

อ้อแล้วที่อดไม่ได้ที่จะบอกอีกสองเรื่องที่ได้เกินความคาดหมาย คือ น้ำใจ ของทีมงาน Patho-OTOP ครับ ต้องขอบพระคุณเป็นอย่างสูงจริงๆพวกเราอบอุ่นมากๆครับ และที่เกินความคาดหมายอีกอย่างคือ ติ่มซำ ตอนเย็นที่ทานกับอาจารย์ปารมีก่อนที่อาจารย์จะไปส่งพวกเราที่สนามบิน ต้องบอกว่า อร่อยอย่างแรง ครับและตอนคิดเงินผมนึกว่าเค้าคิดผิดด้วยว่าราคาย่อมเยาว์มากๆ ถ้าผมอยู่หาดใหญ่สงสัยไม่ต้องใช้ขาแล้วครับเพราะคงตัวกลมกลิ้งแทนเดินได้แน่ๆครับ J ขอตัวไปนอนแล้วครับ …

หมายเลขบันทึก: 80805เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 01:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พวกเราทุกคนในวันนั้น ก็ประทับใจทีม R2R ศิริราชมาก (มาก มาก ๆๆ)  พวกเรารู้สึกตรงกันว่า เราเรียนจากอาจารย์เสียมากกว่า  โดยเฉพาะวิธีคิดที่เป็นระบบ 

เท่าที่ฟัง R2R ศิริราช ตอนนี้เป็นดาวกระจายไปแล้ว มี demand เข้ามาทุกหน่วยงาน 

ขอบคุณทีม R2R ศิริราชอีกครั้ง เป็นการดูงานที่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันทั้งทีมเหย้า และ ทีมเยือน ที่ประทับใจที่สุดเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ...แวะมาร่วมชื่นชมค่ะ

หัวใจคนรัก R2R เท่าที่กะปุ๋มสังเกตนี่..มักจะเป็นคนที่ค่อยๆ ก้าวเดิน แต่มั่นคงนะคะ...นี่น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่ความยั่งยืนได้ ...

ตอนนี้ทาง รพ.ยโสธร...กะปุ๋มกำลังเขียน Report วิเคราะห์การทำ R2R ในบริบทของโรงพยาบาลยโสธรอยู่ค่ะ...ว่ามี factor อะไรบ้างที่ส่งผลต่อการเกิดกระบวนการและเครือข่ายการทำ R2R เพราะเท่าที่ดำเนินมานั้น ทัศนะส่วนตน...เราเหมือนคนกำลังสร้างบ้านหลังเล็กๆ ...ที่สร้างขึ้นด้วยความรักอย่างจริงๆ..และสร้างอย่างเงียบๆ ไม่กระโตกกระตาก...เดี๋ยวคนร่วมสร้างจะตื่นกลัว...และไม่สนุกในการร่วมสร้าง...

แต่ในบริบทของ รพ.ศิริราช และ ภาควิชาพยาธินี่..ก็เป็นบ้านอีกหนึ่งหลังที่มีคนร่วมสร้าง...ที่ชำนาญ...และเป็น Role Model ให้ศึกษาได้ดีทีเดียวนะคะ...

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้นะคะ

(^______^)

กะปุ๋ม

ขอบคุณสำหรับบันทึกที่สื่อสารได้ดีเยี่ยมค่ะ ได้เนื้อความครบถ้วน แล้วยังมีบทสรุปที่ยอดเยี่ยมมาฝากพวกเราด้วย สมแล้วที่อาจารย์ได้รับเลือกให้เป็นหัวหอกทางด้านนี้ของศิริราชค่ะ

พวกเราประทับใจทีมงานและตัวตนของอาจารย์มากค่ะ (ต้องใส่วงเล็บ หลายๆมาก อย่างที่อ.ปารมีใส่ด้วยค่ะ)

ดีใจอีกอย่างที่ อาจารย์ได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวสิ่งที่ชอบข้อ 3 ตามบันทึก blog tag ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท