ตั้งวงหารือสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาฉบับกระเป๋าเราทำเอง


เหมือนว่า จะสร้างสถานีโทรทัศน์ที่มีผังรายการต้นแบบ มีการประเมินคุณภาพรายการ ให้เป็นพื้นที่ของการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยเฉพาะ นักศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์เพื่อเป็นเวทีแบบฝึกหัดด้านสื่อเพื่อสังคม ฟังดูแล้ว สร้างความสนใจให้กับตัวเองอย่างมาก

 

          วันนี้เป็นวันที่โชคดีอีกวันหนึ่ง ได้เรียนรู้เทคโนโลยีจากนักศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์แหวว ตอนดึก พี่ลัดดา จากกระทรวงวัฒนธรรมโทรหารือด้วยเกี่ยวกับ ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสถานีวัฒนธรรมทั้งในรูปของ สถานีโทรทัศน์และวิทยุ

         เท่าที่ฟังดู เหมือนว่า จะสร้างสถานีโทรทัศน์ที่มีผังรายการต้นแบบ มีการประเมินคุณภาพรายการ ให้เป็นพื้นที่ของการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยเฉพาะ นักศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์เพื่อเป็นเวทีแบบฝึกหัดด้านสื่อเพื่อสังคม ฟังดูแล้ว สร้างความสนใจให้กับตัวเองอย่างมาก

        เบื้องต้น พอคิดออกอยู่สองประเด็น ประเด็นแรก ความเป็นไปได้ในเทคโนโลยีและกฎหมายในการจัดตั้งสถานี จะเอาอย่างไร ทำอย่างไร เพื่อตั้งสถานีที่ตอบโจทย์ข้างบนได้

        ประเด็นสุดท้าย ต้องหาวิธีบริหารจัดการสถานีที่ตั้งขึ้น เพื่อให้เป็นพื้นที่ของการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชนและครอบครัวอย่างแท้จริง ทั้งในส่วนของผังรายการ การประเมินคุณภาพเนื้อหารายการ และ การผลิตรายการ

        ผมกับพี่ลัดดาก็ตกลงกันว่า ตั้งวงคุยกันดีไหม เอาประเด็นแรกก่อน ความเป็นไปได้ในทางเทคโนโลยีและกฎหมาย ก็เสนอให้เป็นวงเล็ก มี คุณหมอพรรณ อาจารย์สายฤดี อาจารย์แหวว พี่สมา พี่หริ่งด้วยดีไหมครับ

หมายเลขบันทึก: 80804เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 01:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่กล้าขับรถขึ้น parking กระทรวงวัฒนธรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท