ทุนทางสังคม (Social capital) เพื่อการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านนาฝาย มหาสารคาม


ถ้ามีข้อหนึ่งข้อใดขาดไปก็จะทำให้งานมีโอกาสล้มเหลวสูงมาก เพียงแต่บางข้อไม่เต็มร้อยก็เริ่มลำบากแล้วครับ

วันนี้ (๒๖ กพ ๕๐) ผมมีเพื่อนต่างชาติชาวอังกฤษมาติดตามดูงานที่ผมทำร่วมกับชุมชนในอีสาน

  

ผมได้พาเขาไปคุยกับ เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำที่เป็นภาคีการเรียนรู้ ที่จังหวัดขอนแก่น ไปชมศูนย์เรียนรู้ของครูบาสุทธินันท์ ชมแปลงสาธิตเกษตรประณีตของพ่อสำเริง เย็นรัมย์ ที่บุรีรัมย์ และหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านนาฝาย มหาสารคาม

  

ที่บ้านาฝายได้คุยกันนานพอสมควร เพราะบังเอิญได้เข้าร่วมงานเลี้ยงงานแต่งงานของลูกชายผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผมเลยถือโอกาสพาเพื่อนเข้าร่วมงานเลี้ยงดังกล่าว แต่เนื่องจากหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านปลอดอบายมุข ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่มีเสียงเครื่องขยายเสียง จึงทำให้พูดคุยกันได้อย่างมีสาระ

  

จากการพูดคุยกับกลุ่มผู้นำชุมชน ได้พบว่าทุนทางสังคม (Social capital) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างรวดเร็ว ภายในเวลา เพียง ๒ ปี หมู่บ้านนี้ก็ได้รับรางวัลของกระทรวงมหาดไทย ประจำปี ๒๕๔๙

  

ทุนทางสังคมต่างๆนั้น ซึ่งต้องมีอย่างครบถ้วนพร้อมๆกัน ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย

  

1.    ความสามัคคีในชุมชน  (Solidarity )ไม่แบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายต่างๆ พร้อมใจกันทำงานเพื่อพัฒนาตนเอง และชุมชนโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ

 

2.    ความเป็นผู้นำ (Leadership) ของผู้นำและสมาชิกในชุมชนที่

 

a.    กล้านำในสิ่งที่ถูกต้อง เสียสละ ไม่กังวลว่าใครจะได้ประโยชน์บ้างจากทำงานของตนเอง ขอให้ชุมชนได้ประโยชน์ก็พอ

 

b.    เป็นต้นแบบ (Model )ให้ผู้อื่นได้ แบบไม่มีข้อสงสัยใดๆ

 

c.     โปร่งใส (Transparency) หวังดี ตรวจสอบได้ อธิบายกับใครก็ได้ทั้งหมด ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานการณ์

 

d.    ทำงานได้อย่างคุ้มค่า (Accountability) มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นที่ยอมรับของสมาชิกชุมชน

  ถ้ามีข้อหนึ่งข้อใดขาดไปก็จะทำให้งานมีโอกาสล้มเหลวสูงมาก เพียงแต่บางข้อไม่เต็มร้อยก็เริ่มลำบากแล้วครับ  

นี่เป็นผลจากการสัมภาษณ์ ผู้ใหญ่พิกุล ขันทัพไทย ผู้ใหญ่บ้านนาฝาย เมื่อตอนหัวค่ำวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ครับ

  และท่านยังพูดถึงชุมชนอื่นที่ทำไม่ได้เต็มที่ หรือเชื่องช้าก็มาจากข้อด้อยข้อใดข้อหนึ่งนั้นแหละครับ 

แต่สามัคคี ดูเหมือนจะเป็นหลักนะครับ ทั้งระดับครัวเรือน กลุ่ม เครือข่าย และชุมชน ที่อาจมีเงื่อนไขอื่นๆ แตกต่างจากระดับหมู่บ้านครับ

"สามัคคี คือ พลังสร้างชาติครับ" 

หมายเลขบันทึก: 80799เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สะหวัดดีคะ อาจารย์

นุชขอโอกาสเข้ามาทักทายและเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

นุชขอนำสิ่งที่อาจารย์สื่อสารวันนี้ไปคุยกับพี่น้องปกาเกอญอ หัวหิน จ.ประจวบฯนะคะ

อืม  ถ้าได้มีโอกาส  นุชจะขอไปรบกวนอาจารย์ถึงถิ่นขอนแก่นได้ไหมคะ

สวัสดีครับ ดร.แสวง

     ผมอยากเห็นว่าวันหนึ่ง เมืองไทยจะมีหมู่บ้านดังที่อาจารย์กล่าวมาอยู่ทั่วประเทศไทยครับ ขอเป็นกำลังใจในการทำกิจกรรม และโครงการดีๆ ต่อไปนะครับ

สมพร

หวัดดีครับ อาจารย์

บ้านเมืองเราสับสนวุ่นวายทุกวันนี้ก็เพราะขาดความสามัคคีนี่แหละครับอาจารย์

 

ยังยืนยันครับ สามัคคี คือ พลังสร้างชาติครับ
     ขอชื่นชมอาจารย์ครับ โดยเฉพาะในฐานะคนมหาสารคาม เพราะแนวคิดนี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในทุกมิติของสังคม ไม่ว่าจะเป็นความยากจน สุขภาพ การศึกษา ฯลฯ และที่สำคัญ คือ การพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืนครับ
ด้วยความยินดีจาก อดีตลูกชาวนาจนๆคนหนึ่ง ที่สู้ชีวิตมาจนรอด และกำลังช่วยงานพัฒนาชุมชนยากจนในทุกมิติครับ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์

โดนใจผมมากครับ และเป็นเรื่องที่ผมสนใจมากครับ ผมกำลังทำวิจัยเรื่องนี้ครับ(ในแนว รปศ.) อยากให้อาจารย์แนะนำและขอความรู้

 การชับเคลื่อนทุนทางสังคมไปสู่การปฏิบัติในชุมชน อยากศึกษาพื้นที่เปรียบเทียบครับ

ชุ่มชนที่ไหนดีควรศึกษาภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ตะวันออก ตะวันตก

ขอบพระคุณมาก

 

ด้วยความยินดีครับ

กำหนดแนวทางมาได้ครับ

ผมมีข้อมูลเชิงลึกเกือบทุกแห่งครับ

มีตั้งแต่จริงแบบแท้ๆ จนถึงปลอมแบบแท้ๆเลยครับ

แต่ทุกอย่างเป็นอนิจจังครับ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดครับ

ทำงานแบบนี้ต้องเตรียมใจให้พร้อมครับ

ไม่งั้น "อกหัก" ง่ายๆเลยครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท