KM ธรรมชาติคนลีซู สู่กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น


กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือจุดประกายการจัดการความรู้ในระดับชุมชน

เสียงหมอผี(หนี่ผะ)ตะโกนตอนค่ำบนฟากดอย เสียงดังพอที่จะได้ยินทั่วดงดอยในช่วงเย็นย่ำ เป็นสัญญาณบอกถึง วันหยุดพิเศษของคนลีซู  

วันพรุ่งนี้เป็นวันศีล ให้ทุกคนหยุดไปไร่ไปสวน ห้ามใช้ของมีคม จอบ มีดถางไร่”  

(ขอบคุณน้องอะหมี่มะ สาวน้อยลีซูที่เคยแปลเป็นภาษาไทยให้ผม)

ทุกสิบห้าวันที่หมู่บ้านลีซูจะมีวันศีลและถือว่าวันนี้เป็นวันพักผ่อนหลังจากที่เหน็ดเหนื่อยจากไร่สวน

ในวันหยุดแบบนี้ ม่บ้านก็ถือโอกาสรวมกลุ่มกันตัดเย็บเสื้อผ้า  พูดคุยประสาแม่บ้านเรื่องของผู้หญิงซึ่งแยกจากกลุ่มผู้ชายเห็นได้ชัด กลุ่มพ่อบ้านจับกลุ่มกันตามศาลาเลี้ยงผีที่ปลูกไว้ระจายตามซอกซอยของหมู่บ้าน หัวข้อสนทนาก็เป็นเรื่อง การทำงานในไร่ ผลผลิตและเรื่องอื่นๆที่เป็นวิถีของผู้ชาย

หากเรามีโอกาสเข้าไปสังเกตการณ์เป็นส่วนหนึ่งของการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการนี้ความรู้ที่ฝังลึกของแต่ละคนได้ถ่ายทอดออกมาอย่างสนุกสนานและมีเวลาสำหรับการพูดคุยกันเต็มที่ ไม่แปลกที่จะได้ยินเสียงหัวเราะครื้นเครงดังจากกลุ่มเป็นระยะ

Kss

นอกจากพื้นที่ทางสังคมตรงนั้นยังมี ารประชุมประจำเดือนองหมู่บ้าน เมื่อผู้ใหญ่บ้านลงไปประชุมที่อำเภอก็ได้หอบเอาเรื่องราวจากข้างนอกที่เกี่ยวพันคนข้างในชุมชนมาพูดคุยแบบการแจ้งให้ทราบ ที่เห็นเสมอก็คือ หลังจากที่รับรู้เรื่องที่นำมาแจ้งให้ทราบแล้ว การพูดคุยเรื่อง    สัพเพเหระส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องปากท้อง การกินอยู่ แฝงด้วยความรู้เพื่อการดำเนินชีวิตของพวกเขาทั้งนั้น

เสียงฮือฮาของเด็กน้อยลีซูที่รายล้อมฟังพ่อเฒ่าเล่าความในวงผิงไฟในฤดูหนาว  ฟังพ่อเฒ่าเล่าเรื่องเก่าๆตำนานลีซู การผจญภัยบุกป่า ฝ่าดงในวัยหนุ่ม  บ่อยครั้งที่ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมฟังการเล่าเรื่องที่แฝงความตื่นเต้น และความศรัทธาของเด็กที่มีต่อผู้เฒ่าทำให้เรื่องราวดูจริงจังและน่าติดตามมากขึ้น วาทกรรมคนลีซู การแทรกสอดปลูกฝังจริยธรรมให้ลูกหลานลีซูก็ผ่านพื้นที่ตรงนี้

จากการศึกษาวิจัยเมื่อครั้งทำวิทยานิพนธ์บนดอยของผม เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า การถ่ายทอดความรู้ดั้งเดิมบางอย่างก็ซับซ้อนมากเกินกว่าจะเข้าใจ กรณีการถ่ายทอดความรู้สมุนไพร ที่ต้องแอบเรียนรู้ของลูกหลาน และเฝ้าติดตามผู้รู้สมุนไพรลีซูออกไปเก็บสมุนไพร โดยไม่ให้รู้ตัว นอกจากที่ผู้เฒ่าผู้แก่จะสอนโดยตรงตัวต่อตัวผ่านลูกหลานแล้ว หากมองว่าเป็นการจัดการความรู้ก็เป็นการจัดการความรู้ที่ซับซ้อนตามวิถีความเชื่อชาวบ้าน

มื่อศักยภาพกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติมารวมกับ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จึงเป็นจุดร่วมที่ลงตัวในการคิดประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ชัดเจนขึ้น

ลลัพธ์ที่ได้อยู่ในรูปของการได้ร่วมแลกเปลี่ยนของลูกหลาน ความอบอุ่นของการอยู่ใกล้ชิดฟังเรื่องเล่าของผู้เฒ่าที่เป็นผู้ที่เคารพในหมู่บ้าน การรวบรวมประเด็นภูมิปัญญาที่เป็นความรู้ที่ฝังลึก(Tacit knowledge) ผ่านการลิขิตเป็นอักษรเพื่อให้ลูกหลานได้เรียนรู้ในโอกาสต่อไป

กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือจุดประกายการจัดการความรู้ในระดับชุมชน ในเวทีที่เป็นธรรมชาติไม่แปลกแยก การกำหนดประเด็นในการแลกเปลี่ยนแล้วเรายังได้รวบรวมผู้รู้ชุมชนมาถ่ายทอดในกระบวนการที่เป็นธรรมชาติแบบที่กล่าวมาข้างต้น ภาพของการแลกเปลี่ยนที่ชัดเจนทั้งเนื้อหาและกระบวนการเริ่มมีการรวมกลุ่มกันบ่อยครั้งขึ้น เกิดความสุขของชุมชนขึ้นเป็นผลลัพธ์ของสังคมที่อบอุ่น เนื้อหาที่เป็นความรู้แฝงที่เรียกได้ว่าเป็น  “ภูมิปัญญาท้องถิ่น”  อันมีคุณค่าของชุมชน

เช่นเดียวกับคำพูดของ ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ  วะสี ที่อ่านเจอในหนังสือเล่มหนึ่ง ว่า

 “ความเป็นสุขของชุมชน จะเกิดขึ้นๆได้

จึงต้องมีการเข้าไปส่งเสริมให้ชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกัน

ากการปฏิบัติให้เกิดความเข้มแข็ง และสามารถดูแลตนเองได้

ซึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้นี้อาจเป็นความรู้เก่าที่มีอยู่ในชุมชนหรือเป็นการสร้างความรู้ใหม่ๆ ให้กับชุมชนก็ได้

เพราะฉะนั้น จึงต้องเน้นการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติและต้องพัฒนาอย่างมีบูรณาการ

เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันและมีผลกระทบถึงกันทั้งหมดซึ่งก็เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ”

 

 


 

บางส่วนของหนังสือที่วันนี้ก็ยังไม่เสร็จ (เกือบเสร็จ)

หนังสือ “กระบวนการเรียนรู้ สู่เส้นทางสีขาว”

ประสบการณ์วิจัยจากพื้นที่ชุดโครงการวิจัย “เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดจังหวัดแม่ฮ่องสอน"  

สนับสนุนโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)สำนักงานภาค

 

หมายเลขบันทึก: 80739เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2007 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)
  • องค์กร/ชุมชนใดที่เข้มแข็งแล้ว หรือมีองค์ความรู้แล้ว ก็ย่อมไปช่วยองค์กรอื่น ๆ
  • โดยหลักการการคงอยู่ของบริบท วัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆต้องคงอยู่ และยั่งยืนต่อไปด้วยครับ

เป็นกระบวนการที่น่าสนใจครับ...การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องธรรมชาติการเรียนรู้หรือวิถีชีวิตของชุมชน...ซึ่งถ้าไม่ใช่คนที่ฝังตัวอยู่ในชุมชนเป็นเวลานานและต่อเนื่องคงยากที่จะเข้าใจเงื่อนไขและประยุกต์ใช้ให้เข้ากับวิถีชุมชนได้ดี...

น้อง กัมปนาท อาชา (แจ๊ค)

ในความคิดเห็นของน้อง น่าจะหมายถึง "การสร้างเครือข่าย"  นะครับ

จุดเริ่มต้นที่เป็น Best pactice น่าจะเป็นแบบอย่างที่นำไปสู่การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง

"การคงอยู่" ที่ว่า ก็อาจหมายถึง "การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม" ที่คงอยู่แต่ก็มีภาพของการเปลี่ยนแปลงอยู่ด้วย 

ขอบคุณมากครับ

คุณ

P

นักพัฒนาที่เข้าใจชุมชนได้ดีก็อยู่ที่เงื่อนไขเวลาจริงๆครับ ยิ่งเป็นคนนอก ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน การด่วนสรุปและนำมาวิพากษ์ด้วยทฤษฏีอาจไม่ค่อยเป็นธรรมกับคนท้องถิ่นได้

ช่วงที่ผมทำ Thesis (ช่วงเรียน ป.โท) ผมเองคลุกคลีกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ (ลีซู) เกือบ ๑๐ ปีครับ

ขอบคุณครับ ที่มา ลปรร.

กระบวนการทำงานของ ชอลิ้วเฮียง  ก็น่าสนใจมากครับผมติดตามอ่านอยู่เสมอ

พี่ชอบสังคมชาวไทยภูเขาอย่างหนึ่ง คือ เป็นสังคมที่บริสุทธิ์มากกว่าสังคมเมืองที่เรามีชีวิตอยู่ นักมานุษยวิทยาจึงชอบที่จะไปศึกษาชนเผ่าต่างๆ  พี่เคยไปกับพี่แดง (เตือนใจ ดีเทศน์) เพื่อเฝ้าดูพิธีกรรมการแต่งตั้งหัวหน้าชนเผ่าอาข่าคนใหม่เพราะคนเดิมไปนับถือศาสนาคริสต์แล้ว ประทับใจมาก กรรมวิธีทางประเพณีของเขามีความหมายมากต่อวิถีการอยู่ร่วมกันของเขา พี่จึงชอบอ่านงานของนักสังคมวิทยา-มานุษยวิทยาที่ทำงานกับชนเผ่าต่างๆนี้ เพราะส่วนหนึ่งมันเอามามองย้องเข้าสู่สังคมเมืองที่ซับซ้อนมากขึ้นได้  

พี่ไพศาล 

กระบวนการที่ถ่ายทอดผ่านประเพณี วิถีวัฒนธรรม เป็นการแสดงที่เป็นอัตลักษณ์ และเป็นอยู่เพื่อการอยู่รอดของกลุ่มชาติพันธุ์

บางทีการมองเข้าไปในสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ ก็จะเข้าใจเบื้องลึก ไม่ยากนักหากเราเปิดใจให้กว้างที่จะเรียนรู้วิถีของคนที่ต่างออกไปจากเราครับ

ผมอยู่บนดอย ผมได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ เป็นความบริสุทธิ์อย่างที่พี่ว่า...นึกย้อนไปแล้วผมรู้สึกเสียดายช่วงเวลานั้นมากครับ

ผมอ่านหนังสือที่ท่านอดีต สว. เตือนใจ เล่มหนึ่ง ผมประทับใจและเป็นชีวิตคนบนดอยที่ผมกำลังสัมผัสในขณะนั้น ...เป็นแรงบรรดาลใจของผมด้วยครับ

 

  • วันนี้ขออนุญาตงดการแลกเปลี่ยนนะครับ
  • แต่นำบทกวีของนักเขียนท่านหนึ่งมาฝากคุณเอก

ชีวิตมีส่วนตัวอันแตกต่าง

อาจจะเหมือนกันบ้างในบางสิ่ง

อาจผูกพันมั่นใจไม่ทอดทิ้ง

รักกันยิ่งเหมือนญาติผู้รู้ใจกัน

...

เคยหลับตาหลายครั้งอย่างเหนื่อยอ่อน

เพื่อนก็สอนให้ต่อสู้กับความเศร้า

เคยคับข้องอยู่ในห้องอันทึมเทา

เพื่อนก็เข้ามาเปิดประตูใจ

....

เมื่อเพื่อนพูด เราได้ฟังที่เพื่อนพูด

เมื่อเพื่อนฝัน ได้พิสูจน์ความใฝ่ฝัน

เมื่อเพื่อนเดิน  เราได้เดินไปด้วยกัน

เมื่อเพื่อนหิว ได้แบ่งปันเสมอมา

..

ยินดี, และขอบคุณในมิตรภาพที่เป็นยิ่งกว่ามิตรผู้คุ้นหน้าระหว่างผมกับคุณเอก นะครับ

 

...

 

 

 

 

  • แวะมาเก็บเกี่ยวความรู้ และอ่านบันทึกที่มีสีสัน และเนื้อหาดีๆ ของน้องจตุพร
  • ขอบพระคุณมากครับ

ผมมองว่า...

การเข้าไปสัมผัสท้องถิ่นเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองการดำเนินชีวิตที่แตกต่าง...

เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสังคมเมืองกับสังคมท้องถิ่น...

และที่สำคัญมีหลาย ๆ สิ่งที่คนเมืองต้องเรียนรู้จากคนชนบท...

สวัสดีค่ะ...คุณจตุพร

  • แวะมาทักทายค่ะ...คิดถึงเพื่อนน่ะค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกค่ะ

คุณพนัสแผ่นดิน

ขอบคุณมากๆครับ สำหรับบทกวีที่มีความหมาย ผมอ่านแล้วรู้สึกดีมากครับ

 

ยกประโยคนี้มาครับ(เปลี่ยนแปลงคำเพื่อให้สม บริบท)

"ยินดี, และขอบคุณในมิตรภาพที่เป็นยิ่งกว่ามิตรผู้คุ้นหน้าระหว่างผมกับคุณพนัสนะครับ"

 

พี่
P

ขอบคุณมากครับ...ที่พี่เข้ามาแลกเปลี่ยน ผมเองก็เข้าไปเยี่ยมพี่บ่อยๆครับ

รักษาสุขภาพด้วยครับ

คุณ

P

มีหลายอย่างที่คนท้องถิ่นต้องเรียนรู้กับคนเมืองด้วยครับ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน

แต่วิถีแบบคนบนดอย มีเสน่ห์มากนะครับ หากมองในแง่ของ รูปแบบการกินอยู่ น่าสนใจและน่าศึกษา

พี่กฤษณา
P
"คิดถึง" เช่นกันครับ
ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนและหอบเอาคำดีๆมาฝากครับ
  • เผ่าลีซูมีเฉพาะแถวแม่ฮ่องสอนหรือเปล่าคะ
  • หว้าไม่เคยได้ยินเลยค่ะ   ว่าแต่ลีซูมีจุดเด่นอะไรเป็นพิเศษมั้ยคะ  ที่พอเห็นแล้วเราจะรู้ทันทีว่าคือพวกเขา...

อาจารย์ ลูกหว้า  ครับ

"ลีซู" หรือ ราชินีแห่งขุนเขา

ที่ใกล้ๆบ้าน อ.ลูกหว้า ก็มีครับ เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร ตาก

และจังหวัดที่มี "ลีซู" อยู่เยอะได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ครับ

อ่านเพิ่มเติมในบันทึกผมก็ได้ครับโดยใช้ tag คำว่า "ลีซู"

หรือ http://www.hilltribe.org/thai/lisu/

http://www.geocities.com/dekchonnabot/leesao_0.htm

 

  • ขอบคุณมากค่ะคุณเอก...เดี๋ยวตามไปอ่านค่ะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะพี่เอก ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างไม่เห็นกันเลย สบายดีไหมคะ ตอนนี้น้องนุ่นยังทำงานที่เดิมยังไงแวะมาเที่ยวบ้างเด้อคะ รักษาสุขภาพด้วย

น้องนุ่น

ขอบคุณครับคุณอ.ลูกหว้า

และ คิดถึงนะครับ น้องนุ่น

สวัสดีเจ้า...อ้ายเอก...

เมื่อวานมีปวดท้องหรือจามบ้างไหมคะ อิอิ...มีคนนินทาพี่ด้วยค่ะ

อยากคุยกับพี่นานๆ แต่พี่งานยุ่งเหลือเกิน ไม่ค่อยได้ dialogue กับน้องเลยนะคะ เอิ๊กซ์ พี่ว่างก็มาหาน้องสาวได้นะคะ รออยู่ค่ะ ... ไม่มาขอให้เป็นโสดตลอดกาล..อิอิ

สวัสดีค่ะ เทียนน้อยมาร่วมเรียนรู้เรื่องราวของคนชนเผ่าด้วยคนค่ะ

เอารูปสาววๆลีซูแห่งบ้านดอยล้าน แม่สรวย เชียงราย มาฝากค่ะ

คนที่ 2 ทางซ้ายมือ  เพื่อนสนิทเทียนน้อยเองค่ะ สวยไหมค่ะ

สวัสดีครับ น้อง♥.·° ♥paula ที่ปรึกษา~natadee·° ..✿

ช่วงนี้งานเยอะพอสมควร ยังบริหารเวลาไม่ได้เลย ต้องขออภัยด้วยครับ สำหรับความไม่สะดวก

สวัสดีครับ ครูเทียนน้อย

หากหมายถึง น้องอาซามะ เคยได้พูดคุยกันบ้างในกิจกรรมที่ได้พบเจอ ตอนนี้ยังอยู่เชียงรายหรือเปล่า?? ก็ไม่ทราบนะครับ

 

ขอบคุณทั้งสองท่านครับ  น้องพอลล่า และ ครูเทียนน้อย

ชอบอ่าน.เรื่องราวเกี่ยวธรรมชาติ วิถีชีวิต คนดอย

มีความสุข มีสิ่งดีๆทุกก้าวย่าง..บนทางชีวิตนะคะ

ปลอดภัยในทุกๆที่ นะคะ :)

เก็บรูปพักแรมลูกเสือ  มาฝากค่ะ

ขอบคุณครับ คุณครู @..สายธาร..@  ช่วงหลังไม่มีงานแถบทางเหนือเท่าไหร่ครับ ...ลงใต้อย่างเดียว :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท