อ่านอย่าเต็มใจ


การอ่านมิใช่ทักษะที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้องเรียนรู้และฝึกฝนจนเกิดเป็นนิสัย

          การอ่าน  นอกจากมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของทุกคนในโลกยุคปัจจุบันแล้ว  การอ่านยังสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมได้ แต่การอ่านมิใช่ทักษะที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้องเรียนรู้และฝึกฝนจนเกิดเป็นนิสัย  ดังนั้นการสร้างนิสัยรักการอ่านจึงเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นหน้าที่ของครูทุกคนที่จะช่วยกันส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนเห็นความสำคัญและมีนิสัยรักการอ่านที่ยั่งยืน  การอ่านจึงเป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและไม่มีวันสิ้นสุด

          โรงเรียนตะคร้อพิทยาเล็งเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนการดำเนินการส่งเสริมการอ่านอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดมา  ผู้บริหารสนับสนุนให้ครูทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนานิสัยรักการอ่าน  ข้าพเจ้าเป็นครูที่ปรึกษาชั้นม.4/1 ได้พยายามหาวิธีการที่จะทำให้นักเรียนชั้นม.4/1 รักการอ่านให้มากยิ่งขึ้นและรักการอ่านด้วยใจ ไม่ใช่เพราะถูกบังคับ  ข้าพเจ้าได้พูดคุยกับนักเรียนทั้งห้อง โดยใช้เวลาในช่วงการโฮมรูมตอนเช้า จึงได้ทราบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาในการเข้าห้องสมุด จะมีเวลาว่างบ้างเล็กน้อยหลังจากรับประทานอาหารกลางวัน และหลังเลิกเรียนนักเรียนก็มีกิจกรรมอย่างอื่นต้องทำอีก  ข้าพเจ้าก็เลยเสนอว่าถ้าอย่างนั้นเรามีหนังสือพิมพ์ประจำห้องดีไหม๊  ปรากฎว่านักเรียนทุกคนยกมือให้การยอมรับอย่างเต็มที่  และตกลงร่วมกันว่านักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการซื้อหนังสือพิมพ์ โดยหมุนเวียนไปตามเลขที่ โดยเริ่มตั้งแต่เลขที่ 1 ถึงเลขที่ 34  และได้มีเลือกกันว่าจะซื้อหนังสือพิมพ์อะไร  และได้ข้อตกลงร่วมกันว่าเป็นหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก และฝากคุณครูบุบผาซื้อให้

          หลังจากที่นักเรียนรับหนังสือพิมพ์ประจำห้องแล้ว  ข้าพเจ้าสังเกตพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนในห้อง ปรากฏว่านักเรียนจะรอคอยครูบุบผาด้วยใจจดจ่อ และมีความกระตือรือร้นที่จะอ่านหนังสือพิมพ์ทุกวันและนักเรียนจะใช้เวลาว่าอ่านหนังสือพิมพ์มากขึ้น  บางคนไปรับประทานอาหารกลางวันแล้วรีบกลับมาอ่าน ด้วยกลัวว่าเพื่อนจะแย่งอ่านซะก่อน

          ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่านักเรียนรู้ทันข่าวสารบ้านเมืองมากขึ้น   มีการพูดคุยและวิพากษ์วิจารณ์ข่าวและเหตุการณ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ รวมทั้งข่าวบันเทิง ดารานักร้องต่างและข้าพเจ้าได้ทำแบบสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนกับการรับหนังสือพิมพ์ประจำห้องเรียน ผลปรากฏว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ถึงร้อยละ 55.29  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 38.83  และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 5.88

          นอกจากนี้นักเรียนยังมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า  อยากให้มีนิตยสารประจำห้องอีก  1  ฉบับ  ซึ่งนับว่าการรับหนังสือพิมพ์ประจำห้องในครั้งนี้  ทำให้นักเรียนอยากอ่านหนังสือด้วยใจจริงๆ เอาไว้ได้ผลเป็นอย่างไร  จะนำมาเล่าต่อในโอกาสต่อไปนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 80731เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2007 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ ค่ะ

หากมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานสอบถามได้นะค่ะ

เบื้องต้นลองศึกษาการใช้งานจากบันทึก FAQs คำแนะนำแก้ไขปัญหาการใช้งาน Gotoknow ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท