Dialogue: Thinking Together (บันทึกที่ ๓ : ความคิดเห็นที่หลากหลาย)


KM เป็นแนวคิด หลักการ และเครื่องมือ เราต้องตีความ KM ให้กว้างที่สุด เพราะคนเรามักคิดว่า รูปแบบ KM ที่มีอยู่ ที่เห็นอยู่ ที่นำเสนออยู่ ของคนๆ หนึ่ง หรือ องค์กรหนึ่งๆ ที่เค้าคิดมาให้นั้น คือ รูปแบบ KM ทั้งหมดแล้ว แต่ในความจริงมันยังมีมากกว่าที่เสนอกันอยู่

                (อ่านเรื่องเล่าเดิมจาก Dialogue: Thinking Together (บันทึกที่ ๑) และ Dialogue: Thinking Together (บันทึกที่ ๒) )

              หลังจากที่ อ.ประพนธ์ โยนคำถามให้กับวงประชุม  จากการที่นั่งแยกเป็นกลุ่มย่อย ๓ กลุ่ม ก็หันเกาอี้ล้อมวงเป็นวงใหญ่ ๑ วง (ที่ไม่ค่อยจะกลมนัก)  เพราะการคุยกันโดยที่มองไม่เห็นหน้ากันมันคุยไม่สนุก ไม่ถึงรสถึงชาติเท่าไรนัก  
 

            ต่างคนต่างแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย  แต่มีบางช่วง บางตอน ที่ดิฉันจับประเด็นได้และทำให้ได้คิด มีดังนี้
 

คุณทรงพล
             : ถ้าถามคน สคส. ว่า  งานที่ทำอยู่นั้นทำให้ตัวเองมีพลังมากขึ้นหรือน้อยลง  แล้วตัวเองได้รับประโยชน์อะไรจากการทำงานนั้น     
          : ทำอย่างไรเมื่อใช้ KM แล้วทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น โดยที่ประโยชน์เกิดขึ้นกับตัวเองและคนอื่นพร้อมกัน      ให้ตรวจดู KM ในตัวเอง เป็นการตรวจดูพลังภายในตัวเองตลอดเวลา
           : KM ไม่สามารถแยกออกมาเดี่ยวๆ จากตัวเรา, องค์กร และสังคมได้ เพราะ KM เป็นกระบวนการที่เรามีศรัทธาต่องานของเราและเมื่อทำแล้วจะเกื้อหนุนกัน .... ขอให้คิดแบบเชื่อมโยง
           : KM เป็นแนวคิด หลักการ และเครื่องมือ  เราต้องตีความ KM ให้กว้างที่สุด เพราะคนเรามักคิดว่า รูปแบบ KM ที่มีอยู่ ที่เห็นอยู่ ที่นำเสนออยู่ ของคนๆ หนึ่ง หรือ องค์กรหนึ่งๆ ที่เค้าคิดมาให้นั้น คือ รูปแบบ KM ทั้งหมดแล้ว แต่ในความจริงมันยังมีมากกว่าที่เสนอกันอยู่
          : โดยส่วนตัวแล้วมีแนวคิดว่า ทำอย่างไร เราเองจึงสนุกกับการเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งเมื่อเครื่องมือหรือ เทคนิค ต่างๆ เราใช้จนหมด จนชำนาญแล้ว   สิ่งที่จะท้าทายความสามารถของเราต่อไปคือ การเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย หรือ กลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนไป  ซึ่งการใช้ คำพูดหรือการสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจมีความสำคัญมาก

อ.ประพนธ์
          : กลุ่มเป้าหมายของ สคส. เรา คือ อะไร  หรือ สคส. เองที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของหน่วยงานต่างๆ ให้ช่วยเรื่อง KM

คุณทรงพล
         : ขอเปลี่ยนคำถาม  สคส. ควรทำอะไร? กับใคร? เพื่ออะไร?

คุณปรียาภรณ์ ซึ่งมีความเห็นแตกต่างออกไปคือ
        : อยากให้มองภาพใหญ่ก่อนแล้วมาดูว่า สคส. จะทำอะไร ส่วนไหนบ้าง

          นี่เป็นข้อคิดเห็นเพียงบางส่วน...... เนื่องด้วยทุกคนมีความคิดเห็นที่หลากหลายและบรรยากาศค่อนไปทางตรึงเครียด... อ.ประพนธ์ จึงเห็นว่าหากร่วมกันเสนอในวงใหญ่เช่นนี้...วันนี้คงไม่ได้ข้อสรุปเป็นแน่  จึงเสนอให้แยกเป็นกลุ่มย่อย ๓ กลุ่มกันดีกว่า แล้วให้แต่ละกลุ่มคิดว่าภาพใหญ่ของสังคมไทยเป็นอย่างไร แล้ว KMI อยู่ตรงไหน  โดยให้แต่ละกลุ่มสื่อออกมาโดย.....การวาดภาพ......

uraiMan
๒๕ ก.พ.๕๐

คำสำคัญ (Tags): #dialogue_thinking_together3 kmi
หมายเลขบันทึก: 80716เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2007 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท