สัมมนานักส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอเดือนกุมภาพันธ์ 50 สายที่ 1


วันนี้ประเด็นหลักหรือตัวเดินเรื่องก็คือการประเมินกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

          วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2550  สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดการสัมมนานักส่งเสริมการเกษตร วันนี้เป็นการสัมมนาของสายที่ 1 ซึ่งประกอบไปด้วย สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร ,ไทรงาม,ลานกระบือ,พรานกระต่าย และกิ่งอำเภอโกสัมพีนคร

          การสัมมนานักส่งเสริมการเกษตร (DW) นี้ ปี 2550 นี้เรากำหนดจัดเดือนเว้นเดือน โดยปีนี้เริ่มครั้งที่ 1 ในเดือนนี้ สำหรับเดือนที่เว้นไป ก็จะจัดกิจกรรมการนิทศงานในทุกๆ อำเภอสลับกันไปตลอดปี

           ในครั้งที่ 1 นี้ กิจกรรมที่เราได้นำมาเข้าสู่การสัมมนาเพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกันก็คือ "การประเมินกลุ่มวิสาหกิจชุมชน"  ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่นักส่งเสริมการเกษตรทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอจะต้องดำเนินการ ดังนั้นจึงจำเป้นที่จะต้องมีความเข้าใจ และทุกคนต้องสามารถเข้าไปดำเนินการประเมินร่วมกับคณะรรมการประเมินในแต่ละอำเภอ

          ก่อนที่จะมีการดำเนินกิจกรรมในวันสัมมนาฯ นี้ ทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ก็ได้ลงสนามไปเรียนรู้กระบวนการประเมินร่วมกับทีมของสำนักงานเกษตรอำเภอมาแล้วในทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอ  เพื่อเรียนรู้กระบวนการ และกำหนดแนวทางการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและสามารถปฏิบัติงานได้จริงๆ 

กิจกรรมภาคเช้า 

          เริ่มด้วยการต้อนรับ และการชี้แจงข้อราชการจากกลุ่มฝ่ายต่างๆ จากนั้นกิจกรรมสัมมนาก็เริ่มต้นด้วยการฝึกปฏิบัติการประเมินกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตามแบบการประเมิน  คนนำกระบวนการในกิจกรรมนี้คือพี่กมลรัตน์ นาคคำ   หลังจากนั้นก็แบ่งกลุ่มให้แต่ละอำเภอทำการฝึกการคิดคะแนนโดยมีนักส่งเสริมการเกษตรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบงานกลุ่มฯ เป็นพี่เลี้ยง  ซึ่งทุกๆ คนต่างก็นำแบบประเมินของจริงมาลงมือฝึกปฏิบัติกัน

กิจกรรมช่วงบ่าย

  • เริ่มภาคบ่ายด้วยการศึกษาดูงานการผลิตเฉาก๊วยของโรงงานผลิตเฉาก๊วยชากังราว
  • จากนั้นผมและคุณสมเดช  สิทธิยศ ได้ร่วมกันนำเสนอขั้นตอนการประเมินที่สรุปจากการปฏิบัติงานในภาคสนาม แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ
  1. การทบทวนข้อมูลกลุ่ม
  2. การประเมินตนเองของกลุ่มสมาชิก 
  3. การกำหนดวิสัยทัศน์และแนวทางพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ และ
  4. การพิจารณาการสนับสนุนกลุ่ม

        หลังจากนั้นจึงเป็นกิจกรรมการแบ่งกลุ่มนักส่งเสริมฯ ตามอำเภอ (เป็น 5 กลุ่ม) เพื่อร่วมกันทบทวนขั้นตอนการประเมินแบบมีส่วนร่วม และเสนอแนะ  สำหรับทีมเกษตรอำเภอและหัวหน้ากลุ่มฯ ก็พิจารณากิจกรรมเสริมหนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ และพิจารณาการดำเนินการเกี่ยวกับการช่วยเหลือภิบัติ  และนำเสนอผลการศึกษาดูงาน"สายใยรัก" ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทีมเกษตรอำเภอได้ไปศึกษาดูงานเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป


         เชิญชมภาพและบรรยากาศของการจัดสัมมนานักส่งเสริมการเกษตรของสายที่ 1 นะครับ

  • วันนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากโรงงานทำเฉาก๊วยชากังราว  ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นสถานที่ในการสัมมนาและศึกษาดูงาน
  • สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นเจ้าภาพด้านสถานที่  เกษตรอำเภอคำปลิว  จันทร์ประทักษ์ กล่าวต้อนรับ
  • ก่อนการสัมมนาต่อในภาคบ่าย  ทีมนักส่งเสริมการเกษตรได้ศึกษาดูงานกิจการการทำเฉาก๊วยชากังราว  ซึ่งทุกคนต่างได้เรียนรู้การพัฒนาธุรกิจจนสามารถส่งจำหน่ายได้ทั่วประเทศ

 


นักส่งเสริมฯ ศึกษาดูงานการผลิตเฉาก๊วย


หน้าตาต้นเฉาก๊วยครับ

  • แบ่งกลุ่มการฝึกปฏิบัติ และการระดมความคิดเห็น


กลุ่มของเกษตรอำเภอ/หัวหน้ากลุ่มงานฯ

   
กลุ่มของนักส่งเสริมการเกษตรในแต่ละอำเภอ

  • การนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม (แยกตามอำเภอ)

          วันนี้ประเด็นหลักหรือตัวเดินเรื่องก็คือการประเมินกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  ซึ่งกิจกรรมการสัมมนาก็ดำเนินไปด้วยดี ทุกคนต่างได้ร่วม ลปรร. กันอย่างหลากหลาย  หวังว่างานส่งเสริมตาม พรบ.วิสาหกิจชุมชน ในส่วนที่นักส่งเสริมการเกษตรดูแล คงจะสามารถขับเคลื่อนงานไปได้ด้วยดีในระดับหนึ่ง

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 80657เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2007 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
          เห็นบรรยากาศการเรียนรู้ของนักส่งเสริมฯที่กำแพงเพชรแล้ว คงสร้างแรงจูงใจที่อื่นได้อักโขทีเดียว
  • หากทุกจังหวัดมีแรงจูงใจในการทำงานเหมือนกำแพงเพชร องค์กรเราก็คงจะเป็น LO ได้อย่างแน่นอนค่ะ

เรียน  ครูนงเมืองคอน

  • เป็นการ ลปรร.เพื่อพัฒนาการทำงานประจำ ซึ่งการใช้ KM เป็นเครื่องมือก็สามารถสร้างบรรยากาศของการ ลปรร.และยอมรับความคิดเห็นของทุกๆ คน ได้เป็นอย่างดี
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมา ลปรร. และให้กำลังใจ

วันนี้ขอร่วมคุยด้วยคนซึ่งได้ติดตามน้องวีรยุทธมานานแต่ไม่ได้ร่วมคุยด้วย เห็นการทำงานของจังหวัดกำแพงเพชรแล้วรู้สึกภาคภูมิใจแทนกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นที่สุดที่มีเจ้าหน้ามีศักยภาพและพลังในการทำงาน น่าที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้ที่กำลังสับสนในการทำงานขณะนี้ ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

เรียน พี่นันทา

  • การจัดการความรู้ คงต้องเริ่มที่การจัดการความสัมพันธ์ของคนทำงานในองค์กร ให้ได้มีโอกาส ลปรร. กัน  เพื่อพัฒนางาน ส่วนความรู้นั้นเมื่อคนได้พูดคุยกันก็จะค่อยๆ ขยายวงเรียนรู้กันไปได้เอง
  • แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างในองค์กร/นอกองค์กร ที่จะช่วยเสริมหนุนหรือเร่งให้เกิดกระบวนการเหล่านี้ได้  และถ้าจะให้ได้อย่างยั่งยืน ก็ยังต้องมีปัจจัยที่เสริมหนุนอื่นๆ อีกหลายปัจจัยนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ

เรียน  คุณพิชฎา

  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาทักทายและให้กำลังใจ   
  • ทีมงานทางกำแพงเพชรก็เรียนรู้ไปปรับกระบวนการกันไป   เพื่อพัฒนารูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์การทำงานส่งเสริมการเกษตรในปัจจุบันครับ
  • ยินดีที่ได้ ลปรร.นะครับ

แอบมาเอาความรู้ครับ

ขอบคุณครับ

  • ขอบพระคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียน และยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนครับ
  • ผมก็เข้าไปเรียนรู้จากทางทีมนครศรีฯ อยู่บ่อยๆ เช่นกันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท