ดูแลใกล้บ้านดีเกินคาด


การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่คลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลหนองคายที่เชื่อมโยงสู่สถานบริการใกล้บ้านใกล้ใจ ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจจริงๆ ศักยภาพของบุคลากรประจำ PCU/สถานีอนามัยสามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้ไม่ต่างจากโรงพยาบาล

   ผลควบคุมน้ำตาลไม่แตกต่างกัน การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่คลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลหนองคายและPCU/สถานีอนามัย ผลน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่างกัน ระดับน้ำตาลจะเพิ่มสูงขึ้นตาม Progress ของโรค ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนและมีกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

   โรงพยาบาลหนองคายให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี  อัตรากำลังแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ต่อผู้ป่วยนอกจากเดิม 1:102 เพิ่มขึ้น 1:402 อีกทั้งเป็นโรค Top ฮิต 1 ใน 5 อันดับต้นๆของกลุ่มโรคที่เป็นสาเหตุการเจ็บป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยในทุกปี ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยแต่ละรายลดลง ข้อจำกัดที่ตามมามากมาย เช่น ระยะทางในการเดินทางมาพบแพทย์จากทั่วทุกสารทิศ เสียเวลา สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ผู้พิการพึ่งตนเองไม่ได้ ขาดยาไป โรงพยาบาลแบกรับภาระไม่ไหว ผู้ป่วยและญาติไม่พึงพอใจ มีข้อร้องเรียนการบริการล่าช้าตามมา

    PCT อายุรกรรมจึงจัดบริการผู้ป่วยที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนไปรับการดูแลที่ PCU/สถานีอนามัยใกล้บ้าน 10 PCU/20 สถานีอนามัย พัฒนาศักยภาพบุคลากรและบริการเชิงรุกในชุมชนโดยทีมสหสาขาวิชาชีพลงเยี่ยมผู้ป่วยที่ส่งต่อเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธาในระบบส่งต่อใกล้บ้านใกล้ใจ บูรณาการคลินิกเบาหวานเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลหนองคาย รวมคลินิกโรคเบาหวานกับคลินิกโรคความดันโลหิตสูงเป็นวันเดียวกัน เปิดบริการ 2 วันเนื่องจาก 2 โรคนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงซึ่งกันและกัน สะดวกต่อผู้ป่วยเองที่ไม่ต้องมารับบริการซ้ำซ้อน 2 ครั้ง หมุนเวียนอายุรแพทย์ร่วมรับผิดชอบดูแลผู้ป่วย สร้างเครือข่ายการบริหารเพื่อดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายโดยอาศัยโครงสร้างเครือข่ายการบริการที่มีอยู่เดิม ประสานระบบส่งต่อ สามารถโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ได้ตลอดเวลา กำหนดข้อบ่งชี้และแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานร่วมกัน

   ผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ส่งออกแยกตามพื้นที่อยู่อาศัยทุกสถานีอนามัย ปี พ.ศ.2548 พบว่าร้อยละ  79.9 เข้าสู่กระบวนการดูแลรักษาที่สถานีอนามัยแล้ว แบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลได้ส่วนหนึ่ง ลดความคับคั่งของผู้ป่วยในโรงพยาบาล สุ่มเยี่ยมผู้ป่วยที่ดูแลใกล้บ้าน ร้อยละ 30  ผลน้ำตาล FBS ก่อนและหลังส่งต่อที่สถานีอนามัยไม่แตกต่างกันกับการมารับบริการที่โรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นั้นคือ FBS< 120 mg% ร้อยละ 15.50 ,FBS 120-180 mg% ร้อยละ 72.09, FBS > 180 mg% ร้อยละ 12.40 ความสามารถในการควบคุม FBS ไม่ต่างกันระหว่างระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่สถานีอนามัยกับโรงพยาบาล อัตราการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน 0.57 สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการมารับบริการที่โรงพยาบาล  44.73  บาทต่อคนต่อครั้ง ผู้ป่วยมีความพึงพอใจร้อยละ 100  เจ้าหน้าที่PCU/สถานีอนามัยเห็นดีด้วยกับระบบส่งต่อ เมื่อผู้ป่วยมารับบริการตามนัดที่โรงพยาบาลทุก  6 เดือน ต้องการกลับไปดูแลใกล้บ้านเช่นเดิม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 8065เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2005 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยมากครับ การรักษาที่Pcu และมีการ monitor ต่อเนื่องจากทีมโรงพยาบาลและแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยพึงพอใจมาก

เห็นด้วยกับคุณชายโขงค่ะ ทีมหนองคายมีเรื่องที่น่าสนใจอีกหลายเรื่อง อย่าลืมเขียนบันทึกบ่อยๆ นะคะ
น่าสนใจมากครับ โดยเฉพาะเรื่องความพึงพอใจ และระบบที่ใช้แนวร่วมในศูนย์สุขภาพชุมชนร่วมบริการ เรื่องค่าใช้จ่ายที่ลดลงก็น่าสนใจ ผมเชื่อว่า ทางทีมหนองคาย คงศึกษาประเมินเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยอยู่แล้ว ถ้ามีรายละเอียดวิธีการศึกษานี้ เมล์ให้ผมได้เรียนรู้หน่อยจะเป็นพระคุณครับ คิดว่าเราใช้วิธี "เพื่อนช่วยเพื่อน" ทาง blog นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท