ต่อยอด ชีวิตที่พอเพียง : ปิยวาจา ของ อ วิจารณ์ พานิช ย้ายมา 25 กพ 50


มีการตอบสนองที่น่าอัศจรรย์ใจ ขออะไร ก็ได้ แบบเต็มใจ และเต็มที่ เกินความคาดหมายบ่อยๆอาการหงุดหงิด หน้างอ หายไปเลย
: 176. ปิยวาจา

คนมักเข้าใจผิด ว่าผมเป็นคนมีปิยวาจา ซึ่งที่จริงก็ไม่ผิดทั้งหมด มีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่ในส่วนของภรรยา ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดที่สุด ผมเป็นคนที่บ่อยครั้งวาจาไม่ไพเราะ แต่วันนี้ผมฝึกตัวเองได้สำเร็จหนึ่งเรื่อง จึงนำมาบันทึกไว้สอนตนเอง ให้หมั่นปฏิบัติเช่นนี้อีก ที่บ้านผม ทุกคนมีกุญแจบ้านคนละชุด ตอนเช้ามืด ๔.๓๐ น. ผมออกไปวิ่งออกกำลัง ต้องเอากุญแจติดตัวไปด้วย เพราะต้อง ล็อกประตูบ้าน แต่วันนี้ (๑๓ พย. ๔๙) กุญแจชุดของผมหายไปจากตำแหน่งที่ผมวางไว้ตามปกติ ผมไปหาในลิ้นชัก และในกระเป๋าก็ไม่พบ ถามภรรยา เขาบอกว่า ไม่เคยเห็นตั้งแต่เย็นวันศุกร์แล้ว ระหว่างวิ่ง ผมทบทวนความจำ ว่าเมื่อวานผมใช้กุญแจและวางไว้ตรงตำแหน่งประจำแน่นอน แต่ตอน ๑๑ น. ออกจากบ้านไปด้วยกันภรรยาอาจหยิบติดไป เพราะเอาไปใช้ ผมรู้ว่าภรรยาขี้ลืม หยิบของใส่กระเป๋าแล้วลืมบ่อยๆ ผมตั้งสติเต็มที่ กลับมาจากวิ่งออกกำลัง ก็บอกภรรยาว่า ลองสำรวจในกระเป๋าได้ไหม เพราะเมื่อวานเขาออกไปธุระตั้งแต่เช้า ผมอยู่บ้านคนเดียว ผมยังใช้กุญแจอยู่ และวางไว้ตรงที่ปกติข้างประตู ตอนออกจากบ้านก่อนเที่ยงภรรยาอาจหยิบไปใช้ ผมพูดด้วยน้ำเสียงปกติ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีคำตำหนิ ไม่มีน้ำเสียงแสดงความไม่พอใจ ภรรยาตามผมเข้าไปในห้องนอน ค้นในกระเป๋าถือ แล้วส่งพวงกุญแจของผมให้และยิ้ม ผมกล่าวขอบคุณ วันนี้ทั้งผมและภรรยาจะอารมณ์แจ่มใสทั้งวัน ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่ผมไร้สติ ผมก็จะโวยวาย เมื่อพบผมก็จะตำหนิที่เขาขี้ลืม ซึ่งจะทำให้ภรรยาอารมณ์เสีย สมัยยังหนุ่มๆ เราเคยไม่พูดกันทั้งวัน ด้วยเรื่องเล็กๆ ทำนองนี้ น่าขันไหมครับ ผมเป็นคนมีโทสาคติเป็นเจ้าเรือน จึงต้องหมั่นฝึกสติ เพื่อควบคุมโทสะ ที่จะพลุ่งออกมาในรูปแบบต่างๆ รูปแบบหนึ่งคือวาจาที่ไม่เหมาะสม กับคนทั่วไป ผมฝึกตัวเองไว้อย่างดี แต่กับคนใกล้ตัว คนที่เรารักที่สุด ผมกลับเผลอปล่อยให้ตนเองขาดสติ แปลกแท้ๆ

วิจารณ์ พานิช

อ่านแล้วปิ้งแวป ว่า สะท้อนคืนตรงๆ ก็ช่วยค่ะ

 

นั่งอยู่ในรถวันหนึ่ง ประมาณ 1 เดือนก่อน พ่อขับรถอยู่ ลูกๆนั่งในรถ

แม่พูดนิ่มๆ ว่า "ขอพูดอะไร นิดหนึ่งได้ไหม" ทั้ง 4 คนในรถ นิ่งเงียบกันหมด เตรียม Deep listening

แม่พูดเรียบช้าๆ พยายามไม่ให้มีเสียงตำหนิ ไม่ใส่อารมณ์

"แม่รู้สึกว่า เวลาขออะไรให้ใครช่วยในบ้าน มักจะทำให้ แต่ไม่เต็มที่และไม่ค่อยเต็มใจเท่าขอจาก เพื่อนร่วมงานที่สนิท"

 

ทุกคนยังเงียบฟัง

"ทำไมคนนอกบ้านถึงช่วยเราเต็มที่ เต็มความสามารถมากกว่าที่เราคาด โดยไม่บ่น ไม่หน้างอ ทั้งที่เขาไม่ได้เป็นครอบครัวเดียวกันกับเรา"

 

ลูกสาวคนเล็กสบตาแม่ เอื้อมมือมากุมมือแม่ไว้ คนอื่นเงียบไปหลายอึดใจ

ไม่มีการตอบสนองที่เป็นคำพูดค่ะ แต่หลังจากวันนั้น(1 เดือนก่อน)จนถึง วันนี้มีการตอบสนองที่น่าอัศจรรย์ใจ ขออะไร ก็ได้ แบบเต็มใจ และเต็มที่ เกินความคาดหมายบ่อยๆอาการหงุดหงิด หน้างอ หายไปเลย

แม่ดีใจที่ได้พูดขอบคุณ ขอบใจโดยรู้สึกดีมากกว่าเดิมไปอีก

ตอนนี้จะเรียนรู้ต่อ โดยอาจลองสะท้อนว่า เดี๋ยวนี้ ขอคนนอกบ้านน้อยลงมาก เพราะขอได้ไม่เต็มที่เท่าคนในบ้าน เป็น Appreciative Inquiry ต่อเนื่อง

ขอบคุณ อวิจารณ์ ทีจับประเด็นได้ตลอดเวลา แม้แต่เรื่องราว ประจำวัน ทำให้คิดทบทวนเรื่องดีๆต่อได้อีก 

โดย พญ รวิวรรณ หาญสุทธิเวชกุล   บล็อก (สมุด) เวทีสัญจร รพเชียงรายฯ Moving theater Chiang Rai hospital
ลิงค์ที่อยู่ถาวร   ข้อคิดเห็น (0)   อ่าน: 29
สร้าง: อ. 24 ธ.ค. 2549 @ 08:24   แก้ไข: อ. 24 ธ.ค. 2549 @ 08:24
คำสำคัญ (Tags): #ai#feedback#ครอบครัว
หมายเลขบันทึก: 80505เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2007 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ก็รู้ๆอยู่  แต่ก็เป็น  รู้ แต่ไม่ทำ  พออ่านเรื่องนี้แล้วจะพยายามให้หนักขึ้นอีก  อ่านแล้ววิ่งไปหอมแก้มที่บ้าน 1 ทีเลย 555 
  • ยินดีกับการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านเวทีนี้  ครับ

สวัสดี พี่ท่าน

และท่านอาจารย์ เม็กดำ 1

สนใจโรงเรียน อาจารย์มากๆค่ะ

ชอบบรรยากาศน่ารัก ของเด็กๆ อ่านแล้วมีชีวิต ชีวาตาม

อยากไปเยี่ยมสักวัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท