Palliative Care ด้วยใจที่ใคร่ครวญ


การทำ palliative care นั้น เป็นการทำทานชนิดอิสระสูงสุด คือไม่หวังผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้น และเนื่องจาก output ประการหนึ่งคือ ตาย 100% ที่ทำนั้น มีแต่จะ ให้ ให้ ให้ เท่านั้น ทั้งกายและใจ เป็น utmost concept ของ Altruism ซึ่งเป็น หัวใจของ medical professionalism หรือ ปรัชญาวิชาชีพแพทย์ นั่นทีเดียว

การทำ palliative care ด้วยใจที่ใคร่ครวญ (Contemplative Palliative Care)

ผมพูดอยู่เสมอว่าถ้าใครที่คิดจะเริ่มทำ palliative care ขอให้ทราบเถิดว่าคนที่จะได้รับประโยชน์คนแรกนั้น คือตัวเราเอง

เพราะอะไร?

การทำ palliative care นั้น เป็นการทำทานชนิดอิสระสูงสุด คือไม่หวังผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้น และเนื่องจาก output ประการหนึ่งคือ ตาย 100% (หน่วยชีวันตาภิบาลของ รพ. สงขลานครินทร์เป็นหน่วยงานเดียวในโรงพยาบาลที่ประกาศว่าเรามีอัตราการตาย 100% โดยท่าน ผอ.และท่านคณบดี ไม่ว่าอะไร) สิ่งที่ทำนั้น มีแต่จะ ให้ ให้ ให้ เท่านั้น ทั้งกายและใจ เป็น utmost concept ของ Altruism ซึ่งเป็น หัวใจของ medical professionalism หรือ ปรัชญาวิชาชีพแพทย์ นั่นทีเดียว

ของบางอย่าง ยิ่งให้ ยิ่งกลับคืนเป็นทวีคูณ เช่น น้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความปราถนาดี ความเมตตากรุณา ยิ้ม หัวเราะ มุทิตา เพียงแต่ตอนเราทำ เราอาจจะ ไม่ได้ตั้งใจจะรับ ซึ่งบางทีก็น่าเสียดาย

ผมไม่ขอวิจารณ์อาชีพอื่นๆ แต่อาชีพทางการบริการสุขภาพ ได้แก่ หมอ พยาบาล เภสัช ทันตะ ฯลฯ เป็นอาชีพที่สัมฤทธิ์ผลคือ คุณภาพชีวิตของประชาชน พูดง่ายๆก็คือ ถ้าอาชีพอย่างเราฉลองความสำเร็จเมื่อไร แปลว่าได้เฮกันหมดบาง เพราะความสำเร็จของอาชีพเรานั้น ต้องสามารถ shared ได้โดยประชาชน

หมายความว่าอย่างไร?

ถ้า รพ. ฉลองความสำเร็จบางอย่าง แต่ไม่มีคนเฮร่วมด้วย มีด้วยหรือ?

มีครับ เช่น ปีนี้กำไรมากขึ้น 300% ปันผลให้คนถือหุ้นโรงพยาบาลมากขึ้น อย่างนี้คนเฮ คือคนถือหุ้น ไม่ใช่ชาวบ้าน ไม่ใช่คนไข้ หรือญาติคนไข้แน่ๆ เพราะผลกำไรเชิงธุกิจของ รพ. จะมาจากไหน ถ้าไม่ใช่เป้น กำไร ที่มากกว่าการลงทุนของการรักษาพยาบาล

กรณีตัวอย่างศึกษา

วันก่อนราวน์ HDP (holistic doctor programme) ที่แผนกสูตินรีเวช Extern เราก็นำเสนอ case ตามปกติ มีอยู่ case หนึ่ง น้องก็เล่าว่า "คนไข้หญิงหม้าย อายุ 65 ปี เป้นมะเร็งกระจายเต็มทั่วท้อง มาด้วยเรื่อง gut obstruction (ลำไส้อุดตัน) หมอผ่าตัดเปิดช่องท้องเข้าไป ปรากฏว่ามะเร็งเต็มไปหมดแล้ว ไม่รู้จะทำอะไรต่อ ก็ยกลำไส้ขึ้นมาวางที่หน้าท้อง และ decompress bowel (คือการรัดน้ำ รีดลมออกทางปาก ทางสายจมูก) ก่อนจะปิดท้อง ตอนนี้ ผป.มีอาการปวดมาก หลังผ่าตัดได้ 2 อาทิตย์ ก็ยังมีอาการปวดอยู่"

เราก็คุยกันต่อในกลุ่ม แล้วก็มีคนถามน้องว่า ที่น้องไปราวน์ หรือไปถามคนไข้ คนไข้เขาบอกไหมว่าอยากจะให้เราช่วยยังไง

น้องก็บอกว่า "คนไข้อยากหาย ค่ะ"

แล้วน้องรู้สึกยังไงล่ะ ที่คนไข้เขาบอกอย่างนั้น

"หนูคิดว่า คนไข้เขายังไม่ยอมรับความจริง ที่จริงพี่ๆก็บอกคนไข้ไปแล้วนะคะว่า เป็นมะเร็ง และเป็นแบบแพร่กระจายด้วย ไม่มีทางรักษาให้หายได้"

น้องรู้สึกว่าคนไข้ยังทำใจไม่ได้ หรืออะไรทำนองนั้นหรือครับ?

"ก็คงคล้ายๆอย่างนั้นค่ะ คนไข้อยากจะให้ผ่าตัดเอาลำไส้ลงไปในท้องใหม่ อยากให้ให้ยา"

เราก็รับรู้ว่าเป้นอย่างไร แล้วก้พากันไปราวน์คนไข้ที่เตียง ไปถามแกใหม่

ป้าจ๊ะ มาอยู่ รพ. หลายวันแล้ว เป็นยังไงมา เป็นยังไงบ้างจ๊ะ?

"ป้าเป็นมะเร็งจ้ะ ผ่าตัดไปเพราะไส้มันตัน มันทำให้ปวดท้อง ทำให้อ้วก"

เหรอ ป้ารู้ว่าเป็นมะเร็งเหรอ แล้ว มะเร็งนี่มันเป็นยังไงนะจ๊ะป้า?

"มะเร็งมันทำให้ตายจ้ะ รักษาไม่ค่อยหาย"

แล้วป้าอยากให้หมอช่วยยังไงบ้างจ๊ะ?

"ก็ช่วยให้ไม่ต้องใช้สาย ให้หายปวดจ้ะ จะกลับไปขายผลไม้ที่บ้านจ้ะ"

เอาแค่นั้นพอเหรอจ๊ะ แค่รักาอาการปวดท้อง เอาสายจมูกออก แล้วมะเร็งในท้องล่ะจ๊ะ?

"ก็ถ้าไม่หายก้ไม่เป็นไร เอาแค่หายปวด เอาสายพะรุงพรังนี้ออก จะได้กลับบ้านไปขายผลไม้ได้จ้ะ"

ปรากฏว่า "อยากจะหาย" ของป้า ก็คือ อาการดีขึ้นเพื่อกลับไปขายผลไม้ที่บ้านได้ ไม่ใช่หายจากโรค case นี้เราทราบทีหลังว่าป้ามีลูก 7 คน คนโต ติดยาเสพติด ยังเทียวไปเทียวมาขอเงิน คนอื่นๆโตหมดแล้ว คนเล็กอายุ 15 ปี เป้นวัยรุ่นไม่ค่อยเอาไหน ปรากฏว่าป้าขายผลไม้อยู่โกลก ฐานะก็ไม่ได้ดีอะไร ป้สแกยังอุตส่าห์ไปรับเด็กบุญธรรมมาเลี้ยงอีกคน เพราะไม่มีพ่อแม่ อายุแค่ 8 ขวบ ตามมาเฝ้าป้าที่ รพ.ด้วย อาศัยอยู่ที่วัดโคกนาว หน้า รพ. และเดินข้ามถนนมาเยี่ยมทุกวัน

ถามว่าอยากจะทำอะไรตอนนี้เพื่อตนเองบ้าง ป้านิ่งคิดอยู่นาน คิดไม่ออก คิดได้อย่างเดียวคือ อยากจะไปขายผลไม้ หาเงินมาเลี้ยงดูลูกหลานเหมือนเดิม ชีวิตป้าตลอดมา มีแต่เลี้ยงดูคนอื่นเท่านั้น ไม่เคยทำอะไรเพื่อตนเองเลย ถามว่าตนเองต้องการอะไรก็ยังคิดไม่ออก

สามีป้าถูกลูกหลงตายในเขตสามจังหวัด ป้ากทำงานอยูคนเดียว ขายผลไม้ก้ไม่ค่อยดีเท่าไร ป้าบอก "ก็คนมันขยาด ก็ลบบ้านมด" (คนมันกลัว ก็กลับบ้านกันหมด) ไม่ได้ออกมาเดินเที่ยวซื้อผลไม้ไปกินอย่างแต่ก่อน แต่ป้าก้ไม่รู้ว่าจะย้ายอะไรไปไหน

case นี้ตอนแรก ทุกข์ทั้งหมอ ทั้งคนไข้ หมอทุกข์เพราะคิดว่าคนไข้อยากจะหาย แต่โรคมันไม่หาย ก็เห็นๆอยู่ ทำไงดีหว่า คนไข้ก้ทุกข์เพราะหมอยังไม่กล้ามาบอกแผน เพราะแผนที่ผมอวางนั้น มันจะไม่ตรงกับที่ป้าอยากจะได้ ทั้งหมดนี้เพราะ ความหมายของคำว่า "หาย" ไม่เหมือนกัน พอเราทำความเข้าใจได้ ปัญหาก็ลุล่วงไปด้วยดี

การทำ palliative care ด้วยใจที่ใคร่ครวญ นั้น ต้อง เปิดจิต เปิดใจ เปิดการรับรู้ ให้เข้าถึงคนไข้ ถึงญาติให้ได้ หรือให้มากที่สุด ถ้าหมอมี self-oriented มากเกินไป เราจะพกพามาแต่ meaning of illness ของหมอ มาใช้ในการวางแผนการรักษาทั้งหมด แต่คิดไปว่าเรากำลังทำเพื่อคนไข้ บางทีดีที่สุดนั้น เป็นดีที่สุดสำหรับ Doctor's meaning of illness และ case นี้เป้นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดที่แสดงว่า meaning of illness ของหมอและคนไข้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

หมอที่สามารถเข้าถึงจิตใจคนไข้ได้ จะมีความ "ง่าย" และ "มั่นใจ" ในการรักามากยิ่งขึ้น เพราะเราเปิดใจ และมีการ share view กับผู้ป่วยโดยตลอด ที่จริงคำๆว่า communication มาจาก commun คือ common และ nie มีความหมายเหมือน fie คือ "ทำให้เกิด" เมื่อไหร่ก็ตามที่มี communication ต้องมี shared หรือ common meaning เกิดขึ้นระหว่างคนสื่อ คนรับ เราเอามาแปลว่า "การสื่อสาร" นั้น ไม่ได้ความหมาย เน้นแค่กระบวนการ ไม่ได้หวังผล ซึ่งผิดจากรากศัพท์ในภาษาอังกฤษอย่างสิ้นเชิง

หัวใจของ palliative care ก็อยู่ที่ หัวใจ ถูกต้องแล้ว

หมายเลขบันทึก: 80485เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • มาอ่านบันทึกคุณหมอและขอฝากกำลังใจไปให้คุณป้าท่านนั้นด้วยครับ
  • การเปิดใจคุยกันทุกฝ่ายมีผลดีต่อทุกสาขาอาชีพจริง ๆ ครับ
  • ขอ add blog ใน planet ครับ

ยินดีที่ได้รู้จักครับ อ. Aj Kae

เน้นว่า ทุกสาขาอาชีพจริงๆ ครับ

ทุกวันนี้ เราด่วนกิน ด่วนทำงาน ด่วนเดินทาง แล้วก็ด่วนตัดสิน ตัดสินหมดทุกอย่าง ตัดสินโน่น ตัดสินนี่ว่าดีไม่ดี รายการโทรทัศน์มีแต่เรียกร้องให้คนตัดสินโน่น ตัดสินนี่ ยิ่งมาคนยิ่งคุ้นเคยกับการตัดสิน

นี่เป็นระบบตะวันตก ตัดสินจากภายนอก จากสิ่งที่มองเห็น หล่อ สวย แต่งตัว พูด เสื้อผ้า รองเท้า ทำผมร้านไหน ฯลฯ แค่นี้สำหรับเขาแล้ว เพียงพอในการตัดสิน

ระบบตะวันออกเรา เคยเจริญกว่านั้นมาก แต่เรากำลังอยากจะเป็นแบบเขา

น่าเศร้าใจครับ และน่าเป็นห่วงมาก

นอกจากหมอกับคนไข้จะต้องเปิดใจ แล้วการทำงานร่วมกันของคนอยู่ในองค์กรเดียวกันก็ต้องเปิดใจ แต่บางทีเปิดใจไม่ได้ค่ะ.............ทำไงดีค่ะอาจารย์.....ไม่อยากโทษเค้าว่าเค้าไม่.....ขณะที่เราเปิด...........
อ้อ คุณหมอค่ะ แล้วสรุปคุณป้าคนป่วยเป็นไงบ้างค่ะ
ตอนนี้ทีมรักษาได้จูนความเข้าใจกันแล้ว ก็จะจัดการปัญหาเฉพาะหน้าคือ deep vein thrombosis (บวก lymphatic obstruction เพราะมี frozen pelvis จาก tumor) เรื่อง pain แล้วก็คงจะคุยเรื่องการ discharge ว่าจะอยู่ยังไง เดินได้มากน้อยแค่ไหน ตอนนี้ยังไม่ได้กลับบ้านครับ

ขอบคุณอาจารย์ครับ

สำหรับแรงบันดาลใจ __/][\__

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท