เท้านั้นสำคัญไฉน"ตกผลึกอุดมการณ์บริการปฐมภูมิ สู่ปฏิบัติการ...สู่งานสุขภาพชุมชน"


คิดว่าน่าจะมีการขยายผลถึงการตรวจคัดกรองเท้า การดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานในหน่วยงานที่ยังไม่มีในจุดนี้ด้วยอย่างน้อยก็เพิ่มความตระหนักให้เกิดในเจ้าหน้าที่ของเราแล้วรู้สึกว่าอยากจะทำแล้วล่ะค่ะ คาดว่าน่าจะเป็นชนวนในการจุดประกายให้ผู้ป่วยเบาหวานหันมาสนใจเท้ากันมากขึ้นค่ะ...
  •  เท้านั้นสำคัญไฉน"ตกผลึกอุดมการณ์บริการปฐมภูมิ สู่ปฏิบัติการ...สู่งานสุขภาพชุมชน"  

  •       เมื่อวันที่ 22-23กุมภาพันธ์ 2550 ที่ผ่านมา ทางกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว นำทีมโดยมีหัวหน้ากลุ่มงานอาจารย์นพ.นิพัธ  พี่โต้ง(คุณลัดดาวัลย์)  น้องอ้อ(รัชดา) น้องอ้อย(สุนันทา) น้องชมพู่(ปฏิพิมพ์) น้องปุ๊(วาสนา) น้องนาฏ(สินีนาฏ) และดิฉันนู๋ทิม(ทับทิม)..ได้ไปร่วมงานการประชุมวิชาการ Primary Care ระดับประเทศครั้งที่ 2 "ตกผลึกอุดมการณ์บริการปฐมภูมิ สู่ปฏิบัติการ....งานสุขภาพชุมชน" ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยมี พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร และทีมงานของ สพช. เป็นผู้จัดงานครั้งนี้ ร่วมกับ สวรส., สปสช. และกระทรวงสาธารณสุข  ซึ่งเป็นการจัดที่ยิ่งใหญ่ที่เดียว ในส่วนของกลุ่มงานของเราที่ไปในครั้งนี้ได้รับเชิญให้ไปเป็นผู้เล่าเรื่องในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่เราทำอยู่ในบริการปฐมภูมิ ในครั้งนี้ดิฉัน(ทับทิม)ได้รับมอบหมายให้เล่าเรื่องเกี่ยวกับการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน "เท้านั้นสำคัญไฉน" โดยมีประเด็นอยู่ที่ว่า เท้านั้นเป็นเรื่องที่สำคัญของผู้ป่วยเบาหวาน แต่มักจะมองข้ามทั้งที่การตรวจนั้นไม่ยากเลย และทำอย่างไรถึงจะให้ผู้ป่วยเบาหวานได้มองเห็นว่าการดูแลเท้าเป็นเรื่องที่สำคัญในผู้ป่วยเบาหวาน

ทีมงานเวชศาสตร์ครอบครัวของเรา และอาจารย์วัลลา  ตันตโยทัย

  •     โดยกำหนดไว้ว่าผู้ที่เล่าร่วมนั้นประกอบด้วยคุณพิรานันท์ อำภา จาก PCU หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ และคุณขวัญยืน แผ่นคำ โรงพยาบาลครบุรี อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา (ซึ่งปรากฎว่าคุณขวัญยืนไม่ได้มางานนี้ สร้างความเสียดายให้กับดิฉันมาก เพราะอยากแลกเปลี่ยน แนวทางการดูแลเท้า กองทุนรองเท้า จากรพ.ครบุรีมากเพราะได้ข่าว(อ่านบล็อก)มาว่าเป็นทีมที่เวิร์ค เรื่องเท้ามากค่ะ)

        การเล่าเรื่องในวันแรก มีคุณอำนวยจากสปสช.มาเป็นผู้ชวนคุย (ต้องขออภัยที่จำชื่อไม่ได้ค่ะ) พอวันที่สองไม่มีคุณอำนวยแต่เราก็คุยแรกเปลี่ยนกันเองค่ะ โดยมีกลุ่มของการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในเบาหวานมาร่วมทีมด้วยค่ะ กลุ่มที่เราแลกเปลี่ยนกันเป็นกลุ่มเล็กๆ(ทำไมไม่ค่อยสนใจเท้ากันเลยนะ..) 8-10 คน ดิฉันได้เล่าเรื่องการดำเนินการของคลินิกสุขภาพเท้าถึงความเป็นมาคร่าวๆที่ได้ดำเนินการมาถึงทุกวันนี้ ตลอดจนแรงบันดาลใจที่ทำให้มีความตั้งใจในการทำงานนี้เพราะเห็นความก้าวหน้า และความตระหนักในการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน  ความสำเร็จในการที่สามารถให้ผู้ป่วยมองเห็นความสำคัญของเท้า การให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปดูแลตนเองได้จริงในชีวิตประจำวันในลักษณะตัวต่อตัว และเน้นการมีส่วนร่วมของญาติเป็นสำคัญ ยกกรณีตัวอย่างให้ฟัง(ติดตามได้ ที่นี่ค่ะ ) รูปแบบการดำเนินการการให้บริการในคลินิก การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองในจุดนี้ได้  การขยายเครือข่ายลง PCU การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานเพื่อขยายและเปิดรับองค์ความรู้ต่างๆจากต่างหน่วยงานในการที่จะนำมาพัฒนาระบบบริการของเรา รู้สึกว่าจะเป็นที่สนใจของหลายๆท่านค่ะ เช่นพี่สาวที่มาจากพัทลุง น้องสาวจากสกลนคร  ลำปาง และหนองบัวลำภู บอกว่าอยากไปดูงาน(นึกในใจจะดีใจหรือเสียใจดีเนี่ย)   ส่วนของคุณพิรานันท์ อำภา จาก PCU หนองหาร ก็ได้เล่าประสบการณ์การตรวจประเมินเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน(ปรากฎว่าเป็นศิษย์ อาจารย์เดียวกันจากเทพธารินทร์ค่ะ)รูปแบบการดำเนินการก็จะคล้ายๆกันแต่ไม่มีคลินิกเท้า จะนัดผู้ป่วยในแต่ละหมู่บ้านมารับการตรวจประเมินกันและให้ความรู้เป็นกลุ่มๆ และขยายผลให้อสม.ช่วยในการตรวจคัดกรองด้วย...ซึ่งน้องเขาบอกว่าก็ได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจเช่นกันค่ะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีค่ะ  ส่วนบางที่เช่นพี่สาวที่มาจากพิจิตร พอได้ฟังพวกเราคุยก็เกิดความกังวล กึ่งท้อเล็กๆ ว่าที่ PCU ของตนเองไม่สามารถดำเนินการตรวจคัดกรองประเมินเท้าได้เนื่องจากมีพยาบาลคนเดียว และรับผิดชอบประชากรทั้งหมด 12 หมู่ พวกเราก็ให้กำลังใจว่า เริ่มแรกพี่ก็ใช้วิธีการแนะนำเรื่องการดูแลเท้าแก่ผู้ป่วยเป็นรายกลุ่มไปก่อน แล้วค่อยๆเริ่มทำการตรวจคัดกรอง อาจจะหาแนวร่วมเช่น อสม.  Care giver มาช่วยในการดูแล ส่วนเรื่ององค์ความรู้เราสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างผู้ที่ดำเนินการอยู่แล้วค่ะ  (แนวคิดเรื่องการให้อสม.ดูแลเท้าและตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน เดือนละครั้งนี้ ได้ฟังคุณวัลภา เฟือยงาราชจากสถานีอนามัยบ้านกุดจาน อ.คำตากล้า จ.สกลนคร แล้วดิฉันคิดว่าก็ดีเหมือนกันนะให้เจ้าหน้าที่ตรวจให้ปีละครั้ง 6 เดือนครั้ง ผู้ป่วยอาจจะลืมหรือละเลยการดูแลเท้าตัวเองไปแล้วก็ได้ แต่มีผู้มาคอยเตือนและร่วมดูแลเดือนละครั้งก็จะยิ่งเพิ่มความตระหนักให้ได้เป็นอย่างมากทีเดียว แถม อสม.ยังมีความสามารถในการผลิต ที่ตรวจเท้า Monofilament ได้เองด้วยซึ่งเป็นนวัตกรรมที่น่าชื่นชมจริงๆค่ะ) ส่วนท่านอื่นๆที่เขาร่วมฟังต่างก็ซักถามในประเด็นที่ตนเองสนใจกันอย่างละเอียดทีเดียวค่ะ

        เล่าเรื่องประสบการณ์ทำงาน แลกเปลี่ยนกันด้วยความสนใจ

จากเรื่องเล่าใน สองวันในช่วงระยะเวลาสั้นๆนี้ก็ทำให้เราได้แนวคิดที่จะนำมาพัฒนาการงานของเราบางส่วนเช่นการขยายผลให้อสม.ช่วยตรวจเท้า(เป็นการเฝ้าระวังให้เราได้เป็นอย่างดีทีเดียวค่ะ)  ตลอดจนคิดว่าน่าจะมีการขยายผลถึงการตรวจคัดกรองเท้า การดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานในหน่วยงานที่ยังไม่มีในจุดนี้ด้วยอย่างน้อยก็เพิ่มความตระหนักให้เกิดในเจ้าหน้าที่ของเราแล้วรู้สึกว่าอยากจะทำแล้วล่ะค่ะ คาดว่าน่าจะเป็นชนวนในการจุดประกายให้ผู้ป่วยเบาหวานหันมาสนใจเท้ากันมากขึ้นค่ะ...

นู๋ทิมเล่าเรื่อง

  • จะนำภาพการเล่าเรื่องมาให้ชมวันหลังค่ะ
หมายเลขบันทึก: 80460เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
หนูจ้ะ! วันนี้มาดึกไปหน่อยอย่าว่าพี่โต้งเป็นคนนอนดึกนะ เปล่าเลย อิอิอิ ไปแข่งกอล์ฟมาจ้ะ...เรื่องการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานถือเป็นเรื่องที่สำคัญและคลินิคเท้าของเราก็พัฒนาไปได้ด้วยดีรวมทั้งการคัดกรองเท้าใน พีซียู เครือข่ายเราด้วย และอีกอย่างก็จะเห็นว่าหน่วยงานต่างๆที่ทำเรื่องของเบาหวานก็จะคำนึงการดูแลเท้าในผู้ป่วยด้วย ซึ่งในเดือนหน้า ทีมงานดูแลผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลศรีสังวร สุโขทัยก็จะยกทีมมาศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรื่องการจัดตั้งคลินิคเท้าเบาหวานของเรา เราคงได้จัดการศึกษาดูงานโดยใช้รูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)กันอีกครั้งนะคะน้อง
  • ฮั่นแน่...กลับมาแล้ว...ดีจังมีกลุ่มผู้ดูแลเท้าให้ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาอีกแล้ว...ผู้ป่วยจะได้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนกันเสียที...
  • อย่าลืมเก็บและติดตามสถิติด้วยน่ะ...จะได้เห็นแนวโน้ม..หลังจากที่มีกลุ่มที่ทุ่มเทดูแลลงไป

     อ้อ กับ หนู ทำงานแบบนี้ดีนะ รับผิดชอบงานคลินิกเท้าแล้วก็หมั่นเปิดหูเปิดตา รับรู้ รับฟัง ประสบการณ์ของคนที่ทำงานด้านเดียวกับเรา มีคิดและทำเพื่อเพิ่มคุณค่าของงานที่เราทำอยู่ เราว่าจะทำงานอย่างมีความสุขนะ หมั่นพัฒนาต่อไปนะน้องนะ

  • ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจ  ดูแลห่วงใยกันและกันเสมอมาค่ะ ...ทีมงานเบาหวานค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท