การเรียนรู้ของชุมชน คือผลิตผลของ กศน.ด้วยใช่ไหม?


ผมว่า กศน.อาจจะได้กลายร่างเป็น กศน.อย่างที่หลายฝ่ายวาดฝันไว้ก็ได้ ไม่ใช่ กศน.ในคราบของการศึกษาในระบบโรงเรียน แต่จะเป็นจริงอย่างฝันได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจัยหลายฝ่าย ระดับโพลีซีส่งสัญญาณมาแล้วก็จริง แต่กลไกข้างล่างซึ่งเป็นระดับปฏิบัติยังไม่คลิ๊กก็สำเร็จได้ยากครับ
ผมได้อ่านข่าว จากข่าวปฏิรูปการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ‘ชินภัทร’ย้ำงาน กศน.สอนรากหญ้าให้รู้ทัน
http://db.onec.go.th/thaied_news/index1.php?id=34036   ข่าว"ชินภัทร"ชี้ทาง กศน.ฉุดรากหญ้าทันโลก http://db.onec.go.th/thaied_news/index1.php?id=34295 ข่าว ศนจ.สุพรรณฯ เปิดโรงเรียนชาวนา http://db.onec.go.th/thaied_news/index1.php?id=34163   และข่าว 25 กศน. ภาคอีสาน รวบรวมผลงานเด่น best practice จากเว็บไซต์ของ กศน. http://www.nfe.go.th/nfe_v2/frontend/theme/index.php#แล้วรู้สึกมีความพึงพอใจมากๆ
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ท่านเป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ดูแลรับผิดชอบงานสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน หรือ กศน. ครับ ผมเองยังไม่เคยได้เห็นตัวจริงท่าน แต่อ่านงานท่านแล้วรู้สึกประทับใจในตัวท่านครับ ท่านเข้าใจงาน กศน.อย่างถ่องแท้ และมีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันงาน กศน.นี้ให้กว้างขวางครอบคลุมผู้คนส่วนใหญ่ให้ได้ ท่านเห็นว่าถ้าเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้กับประชนคนรากหญ้า ใช้ กศน.เป็นเครื่องมือแล้ว จะทำให้ผู้คนในประเทศนี้มีศักดิ์ศรีเจริญรุดหน้าได้ สู่สังคมอุดมปัญญาได้
ผมว่า กศน.อาจจะได้กลายร่างเป็น กศน.อย่างที่หลายฝ่ายวาดฝันไว้ก็ได้ ไม่ใช่ กศน.ในคราบของการศึกษาในระบบโรงเรียน แต่จะเป็นจริงอย่างฝันได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจัยหลายฝ่าย ระดับโพลีซีส่งสัญญาณมาแล้วก็จริง แต่กลไกข้างล่างซึ่งเป็นระดับปฏิบัติยังไม่คลิ๊กก็สำเร็จได้ยากครับ
กศน.จังหวัดนครศรีรรมราชเราได้ผนึกกำลังกับภาคีเครือข่ายหลายหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายภาคประชาชน จัดการศึกษานอกโรงเรียนแบบบูรณาการทั้งจังหวัด ในโครงการจัดการความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน มีผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านวิชม ทองสงค์ เป็นประธานคุณเอื้อ เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้แบบการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งจังหวัด ท่านเรียกการศึกษาแบบนี้ว่าการศึกษาภาคประชาชน หรือการศึกษาแบบ KM ผมคิดว่าจังหวัดนครศรีธรรมราชของเรา เราเดินงาน กศน.มาถูกทางที่เป็นนโยบายของ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการท่านต้องการแล้ว เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆอีกมากมายที่คิดและทำแบบนี้แล้ว
ข่าวจากเว็บไซต์ของ กศน. http://www.nfe.go.th/nfe_v2/frontend/theme/index.php#
ได้อ้างถึงคำพูดของท่านรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการไว้น่าคิดอีกว่า "การเรียนรู้ของชุมชน คือผลิตผลของ กศน." คำกล่าวนี้ผมคิดว่าหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องคิดต่อกันว่าจะต้องทำกันอย่างไรต่อจากนี้ไป ผมคิดว่าท่านคงไม่ได้เคลมว่าการเรียนรู้ของชุมชนเป็นผลิตผลของ กศน.เท่านั้น แต่นัยยะที่ท่านกล่าวผมคิดว่าท่านคงจะส่งสัญญาณถึงหน่วยปฏิบัติมากกว่าว่าจะต้องเปลี่ยนสไตล์การทำงานแล้วหละ จะเป็นการศึกษานอกโรงเรียนในคราบของการศึกษาในโรงเรียนไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ใครที่คิดและทำอย่างนั้นอยู่อีกคงจะต้องปรับตัว 360 องศา เอ้ย.180 องศา ด่วน
คำกล่าวของท่านรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการท่านนี้ จากหลายแหล่งข่าว คงจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับผม ที่จะใช้อ้างอิงประกอบการเขียนบทความทางวิชาการ ให้กับทางสมาคมส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตไทย สคชท. ร่วมกับสำนักบริหารงานงานการศึกษานอกโรงเรียน ที่จะจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "การจัดการความรู้ : การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน" วันที่ 16 -17 มีนาคม 2550 ณ ห้องประชุมราชเทวี โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ ตามที่ ผอ.กศน.จังหวัดนครศรีฯ ผอ.วิมล วัฒนา ท่านร้องขอผมมาว่าขอบทความทางวิชาการสักหนึ่งบทความนำไปเผยแพร่ในงาน
แต่ เอ! ผมเองก็ชักจะลืมเลือนไปแล้วกับการเขียนบทความทางวิชาการ โจมตีการเขียนบทความประเภทนี้ไว้มากตั้งแต่มาเขียนบันทึกเรื่องเล่าแบบบล็อก ขอแรงชาวบล็อกเกอร์ทั้งหลายช่วยผมหน่อย ขอบคุณล่วงหน้าครับ

 

หมายเลขบันทึก: 80454เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 08:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นโยบายการทำงาน กศน.2550 โดย ดร.สมบัติ สุวรรณพิทักษ์http://gotoknow.org/blog/nfepadrew/80946 และ กศน.ในมุมมองรองปลัดกระทรวง ศธ. ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน http://gotoknow.org/blog/nfepadrew/81222
ppt ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เรื่องแนวคิดทิศทาง กศน. http://202.143.141.237/nernec/index.php
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท