สม.4


 

 วันไหนๆ พี่ไทยก็เมา ถ้อยคำนี้อาจคุ้น ๆ หู คนไทยหลายคนก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ วันนี้จะนำรายละเอียดปริมาณแอลกอฮอล์ที่มีผลต่อร่างกายเรา

ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์
ในเลือด (มิลลิกรัม/100 มิลลิกรัม)
ผลต่อร่างกายและจิตใจ
20 –30
ไม่ปรากฏอาการผิดปกติใดๆนอกจากผู้ดื่มมีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง เพิ่มขึ้น
50 – 60
มีความรู้ผ่อนคลายทางอารมณ์ ประสาทและกล้ามเนื้อลดความว่องไวลง ระยะเวลาในการตอบสนองยาวขึ้น การตัดสินใจช้าลงความสามารถในการขับขี่ยานยนต์ลดลง เป็นระดับความเข้มข้นที่ถือว่าผู้ขับขี่ตกอยู่ในอาการมึนเมา
80 – 100
เริ่มเสียการทรงตัวพูดไม่ชัด สายตาแย่ลง มองเห็นไม่ชัดเจนเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน รู้สึกเคลิบเคลิ้ม มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ก่อให้เกิดความลำบากยุ่งยากในการบังคับยานพาหนะ
110 – 120
การเคลื่อนไหวและการทรงตัวทำได้ด้วยความลำบาก ความสามารถทางความคิดการตัดสินใจและการใช้วิจารณญาณเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
140 - 150
การควบคุมร่างกายและจิตใจส่วนใหญ่เสียไป พูดไม่ชัด มองภาพเลือนลางไม่ชัดเจน มีอุปสรรคในการใช้มือ แขนและขา
200
สูญเสียการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อต้องการความช่วยเหลือเมื่อเคลื่อนไหว จิตใจสับสนอย่างเห็นได้ชัด
300
มีอาการมึนเมาอย่างหนัก มึนงง ไม่รู้เรื่อง มีสติสัมปชัญญะเหลืออยู่น้อยมาก
400
สลบ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
500
สลบลึก
600
ตายเนื่องจากหัวใจล้มเหลว
หมายเลขบันทึก: 80427เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท