มุมมองต่อปัญหาสุขภาพในเขตเทศบาลเมือง


"คณะทำงานแต่ละชุดจะดำเนินการอย่างไรที่จะทำใช้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการให้มากที่สุด จนนำไปสู่กระบวนการการสร้างหรือเพิ่ม Empowerment ให้แก่ชุมชน ในการดูแลสุขภาพตนเอง การพึ่งตนเอง จริง ๆ"

     จากสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะทำงานตามโครงการสร้างสุขภาพแบบบูรณาการในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ซึ่งผมได้รับสำเนาฯ มาจากพี่สวย พยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบโครงการฯ นี้ ก็ได้อ่านประเด็นวิเคราะห์ปัญหาด้านการจัดการสุขภาพของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองที่ได้ระบุไว้ คือ

          1. หน่วยงานยังขาดข้อมูลพื้นฐานที่ทันสมัยในการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อนำไปสู่การสร้างสุขภาพของประชาชน

          2. ปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เกิดจากประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจ การมีทัศนคติไม่ถูกต้อง และการปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมในการสร้างสุขภาพ

          3. ชุมชนและองค์กรชุมชนขาดความร่วมมือในการหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน

          4. การรณรงค์และการดูแลสุขภาพ บุคคล ครอบครัว และชุมชน จากระบบบริการสุขภาพยังไม่ครอบคลุมและต่อเนื่อง

     จากปัญหาทั้ง 4 ประเด็นจึงนำมาสู่วิธีการแก้ไขเชิงบูรณาการและมีความต่อเนื่อง ซึ่งในขั้นต้นนี้ก็ได้ดำเนินการโดยการแต้งตั้งคณะทำงานขึ้น

     ประเด็นที่จะกล่าวไว้ในบันทึกนี้ ซึ่งต่อเนื่องจากบันทึก การสร้างสุขภาพแบบบูรณาการในเขตเมืองพัทลุง คือเป็นการดีที่มีโครงสร้างคณะทำงานชัดเจนอย่างนี้ โดยแยกเป็น 4 ชุด 4 โซน เพียงแต่โจทย์สำคัญกลับมาอยู่ที่ "คณะทำงานแต่ละชุดจะดำเนินการอย่างไรที่จะทำใช้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการให้มากที่สุด จนนำไปสู่กระบวนการการสร้างหรือเพิ่ม Empowerment ให้แก่ชุมชน ในการดูแลสุขภาพตนเอง การพึ่งตนเอง จริง ๆ"

หมายเลขบันทึก: 8042เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2005 00:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท