การวิจัยและพัฒนาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการใช้ประโยชน์อย่าง ยั่งยืน และการจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำ หนองหาน กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี


สันติภาพ ศิริวัฒนาไพบูลย์, ช่วยชูศรี ศรีภูมั่น, วัลยา อุตโรกุล และ กฤษฎา นามบุญเรือง
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ถนนทหาร อ.เมือง จ.อุดรธานี

การ วิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและชุมชนในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหาน กุมภวาปี และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน จัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐาน สถานการณ์ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ชุ่มหนองหานโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ได้แหล่งเรียนรู้และบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น

การดำเนินการวิจัย ใช้วิธีทบทวนองค์ความรู้ทางวิชาการ การวิจัยเชิงปริมาณ และคุณภาพโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เช่นการสำรวจข้อมูล การสัมภาษณ์ การจัดเวทีชาวบ้าน การระดมความคิดเห็นในการจัดทำแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม และการจัดทำฐานข้อมูลระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และสร้างบทเรียนท้องถิ่น

ผล การศึกษาพบว่า พบปลาทั้งสิ้น 9 ออดอร์ 20 แฟมิลี่ 37 ชนิด พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 90 ชนิด สัตว์หน้าดินในพื้นที่ชุ่มหนองหาน จำแนกได้ 3 ชั้น 7 อันดับ และ 13 วงศ์ คุณภาพน้ำในหนองหานฯ ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในปลา หอยขม หอยโข่ง และหอยเชอรี่ เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ทองแดง พบว่า ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ ส่วนใหญ่ที่นิยมแปรรูปกันเพื่อการค้ามากที่สุด คือ ปลาร้า รองลงมาคือ แหนมปลา และปลาส้ม ตามลำดับ ส่วนสัตว์น้ำอื่นๆที่จับได้ จะนำมาทำปลาแดดเดียว ทำปลาร้าบอง ลาบ ก้อย ผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านส่วนใหญ่ พบว่า มีการปนเปื้อนของเชื้อ E.coli น้อย หรือไม่มี และเมื่อนำกระบวนการผลิตที่ถูกสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (GHP) มาใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานมากขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถนำสิ่งที่มีอยู่โดยรอบหนองหานมาใช้ทำประโยชน์ได้อย่าง มีคุณภาพ เช่น การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากหอยเชอรี่ การผลิตถ่านอัดแท่งจากสวะ (สนม) ไม้ไมยราบยักษ์ การนำสวะมาทำปุ๋ยหมัก การนำดินตะกอนจากหนองหานฯ ไปทดลองปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้ง ได้ชุดการเรียนรู้ระดับชุมชน จำนวน 4 เรื่อง ได้ฐานข้อมูล 1 ชุด คือ ฐานข้อมูลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมหนองหานกุมภวาปี มีแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น 4 แหล่ง ได้แนวทางการจัดการทรัพยากรคือแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6 ด้าน


จาก การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ครั้งที่ 1
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การศึกษา และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

1-3 พฤศจิกายน 2549
ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

The 1st Conference Science, Technology, Education and Local Wisdom for Sustainable Development

1-3 November 2006
Udonthani Rajabhat University



หมายเลขบันทึก: 80387เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท