Stress Management and Biofeedback ตอน 4


การจัดการความเครียดและการฝึกไปโอฟีดแบค

วันนี้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดการความเครียดต่อเพราะว่าอ่านทบทวนบทเรียนและอยากให้ผู้อื่นได้รับความรู้ไปด้วย โดยเนื้อหาที่เขียนลงมาได้จากการสรุปในบทเรียนของ ผศ.ดร.มรรยาท รุจิวิทย์ที่สอนในห้องเรียนนะครับ โดยวันนี้จะพูดถึงการส่งเสริมทักษะควบคุมความเครียดโดยวิธีการฝึกไบโอฟีดแบค Biofeedback training นะครับ ในความหมายของการฝึกไบโอฟีดแบคนั้นคือการฝึกทักษะในการควบคุมความเครียดด้วยตนเองโดยใช้อุปกรณ์ช่วยฝึกในระยะแรก เพื่อให้ผู้ฝึกเข้าใจ รู้สึกคุ้นเคย และรับรู้ว่าจะควบคุมความเครียดของตนเองอย่างไร เป้าหมายสูงสุดอยู่ที่ผู้ฝึกสามารถควบคุมความเครียดด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึงพาเครื่องมืออีกต่อไปนะครับ

การฝึกไบโอฟีดแบค มีการใช้อุปกรณ์ในการช่วยฝึกอยู่ 3 ประเภท ดังนี้
1.Electromyogram (EMG) Biofeedback Training เป็นการใช้อุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารให้ผู้ฝึกรับรู้ถึงการทำงานของกล้ามเนื้อลายว่าอยู่ในภาวะตึงเครียดหรือคลายตัวช่วยให้ผู้ฝึกเรียนรู้การควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ถูกต้องสม่ำเสมอ
ตำแหน่งกล้ามเนื้อลายที่ใช้กับEMGได้แก่
1. Frontalisกล้ามเนื้อบริเวณหน้าฝาก มักเกิดความตึงตัวเมื่อมีอาการปวดศีรษะจากความเครียด
2. Masseterd กล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร เกิดความตึงตัวเมื่อมีความคับข้องใจหรือความโกรธ
3. Trapezius กล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ เกิดความตึงตัวเมื่อมีความตกใจหรือวิตกกังวลแบบเรื้อรัง
2.  Skin Temperature(ST) Biofeedback Training
                เป็นการใช้อุปกรณ์ในการช่วยฝึกควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ ตำแหน่งที่ใช้กับ ST ได้แก่ นิ้วกลางของมือข้างที่ตนถนัด
                เหตุผล เมื่อผู้ฝึกเกิดความเครียด ความวิตกกังวล จะเกิดการหดตัวของเส้นเลือดส่วนปลายโดยเฉพาะปลายมือ และปลายเท้า ทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง ถ้าหากผู้ฝึก ควบคุมการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย ซึ่งสามารถควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะส่งผ่านไปยังกล้ามเนื้อลาย ซึ่งวัดได้อย่างชัดเจนในตำแหน่งดังกล่าว
3.       Skin Conductance(SC)Biofeedback Training เป็นการใช้อุปกรณ์ในการช่วยฝึกควบคุมให้ร่างกายผ่อนคลายความเครียด โดยวัดการทำงานของต่อมเหงื่อ
เหตุผล เมื่อผู้ฝึกเกิดความเครียด/ความวิตกกังวล ต่อมเหงื่อจะขับเหงื่อออกมามากกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือ และฝ่าเท้า ในทางตรงกันข้าม ถ้าร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลายความเครียดผิวหนังจะแห้ง เนื่องจากการทำงานของต่อมเหงื่อลดลง
SCนิยมใช้คู่กับ EMG เนื่องจากค่าที่วัดได้จาก SC มักแปรผันตามความชื้นของสภาพอากาศ การล้างมือก่อนวัดหรือการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอร์ของผู้ฝึก มีผลทำให้ค่าที่วัดได้เปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน
จุดมุ่งหมายของการฝึกไบโอฟีแบค
ความสำเร็จสูงสุดของการฝึกอยู่ที่ผู้ฝึกมีทักษะในการควบคุมความเครียดด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึงพาเครื่องมือหรืออุปกรณ์อีกต่อไป ผู้ฝึกสามารถปรับตัวได้ตามความมุ่งหมาย หมายถึง เข้าใจ รู้สึกคุ้นเคย เกิดทักษะและความชำนาญในการควบคุมความเครียดตามที่ต้องการ โดยสิ่งเหล่านี้จะเป็นfeedback ที่จะยุติความเครียด และกระบวนการตอบสนอง
ตอนที่ 1 http://gotoknow.org/archive/2005/11/18/01/00/15/e7467

ตอนที่ 2 http://gotoknow.org/archive/2005/11/18/01/23/20/e7468

ตอนที่ 3 http://gotoknow.org/archive/2005/11/18/02/25/28/e7470

หมายเลขบันทึก: 8037เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2005 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท