ให้คำปรึกษา กับ การคุ้มครองเด็ก ระดับอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย(ต่อ)


บทบาทของทีมสหวิชาชีพ ระดับอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

            (ต่อ) ผู้นำกระบวนการ คือ ดิฉันเอง  โดยการทบทวนความรู้เดิมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม   ว่าได้เข้าใจกระบวนการให้คำปรึกษาอย่างไร เพื่อที่จะให้สมาชิกได้ทบทวนความรู้ของตัวเอง  และอะไรที่ไม่รู้ จากนั้นพยายามที่จะเติมความรู้ หรือสิ่งที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อที่จะปรับระดับพื้นฐานให้เข้าใจตรงกันก่อน

             ทบทวนความหมายว่าของ Counseling  เมื่อผู้นำกระบวนการพูดถึงคำนี้หมายถึงเรื่องอะไร  และได้ให้ทักษะกระบวนการในการให้คำปรึกษาแก่เด็กและสตรี เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานด้านนี้

           สิ่งหนึ่งที่เห็นได้จากการทำงานของทีม สหวิชาชีพของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  คือ " ใจ"  และความตั้งใจจริง  ในการทำงานตรงนี้

            ใครคนใดคนหนึ่ง ที่จะทำงานช่วยเหลือเด็กเพียงลำพังคนเดียวไม่ได้ จะต้องทำแบบทีมสหวิชาชีพ  โดยวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง หลากหลายของแต่ละวิชาชีพ ทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง 

           ดังกรณีที่เกิดขึ้นในชุมชน  คือ เด็ก หญิงวัย  6 ขวบ  พ่อแม่ปล่อยให้อยู่บ้านกับคุณยาย  ในแต่ละวันเด็กมักจะวิ่งเล่น บริเวณละแวกหมู่บ้าน ตามปกติ  วันนั้นมีกะเทยวัยรุ่นเป็นคนบ้านเดียวกัน  เพราะคุ้นเคยกันมากกับเด็ก   ผู้ปกครองไม่ได้ระแวดระไว  ไว้วางใจ   ในการที่จะให้หลานเล่นด้วยกับผู้ชายคนนี้  ปัญหาที่เกิดขึ้น กะเทยคนนี้ หลอกให้เด็กไปที่ข้างวัดในหมู่บ้าน บอกว่าจะพาไปซื้อขนม  เมื่อลับตาคน จึงได้ทำอนาจารเด็กทางทวารหนัก และข่มขู่ว่า  ถ้านำเรื่องที่เกิดขึ้นไปบอกยาย หรือพ่อแม่ จะต้องฆ่าพ่อแม่ให้ตายหมด   เด็กกลัวมาก ร้องไห้  แต่ด้วยไร้เดียงสาและความกล้าหาญของเด็ก  เมื่อกลับไปถึงบ้านได้นำเรื่องราวที่เกิดขึ้นบอกยายว่า "อ้ายกะเทยเอาตัวหนอนใส่ตูดหนู"

             เมื่อเกิดเรื่องนี้ขึ้น  แม่ของเด็กนำเด็กไปร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวนที่สภอ.ที่เกิดเหตุ จากนั้นแต่ละฝ่าย  ทำบทบาทหน้าที่ของตนเอง 

            เริ่มจากนักสังคมสงเคราะห์ คือ เก็บข้อมูลของเด็กและครอบครัวโดยการเยี่ยมบ้าน  ให้ความปลอดภัยกับเด็ก

            นักจิตวิทยา  หน้าที่ ให้คำปรึกษา เยียวยา บำบัดฟื้นฟู  เตรียมเด็กขึ้นสู่ศาล

             แพทย์นิติเวช หน้าที่ ตรวจร่างกายของผู้เสียหาย ผลของการตรวจจะทำงานประสานกับตำรวจ

             ตำรวจ มีหน้าที่รับคดี  จัดให้มีการสอบปากคำ  รวบรวมสำนวนส่งให้อัยการสั่งฟ้องศาล

            พนักงานอัยการ   ได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวน สรุปรวบรวมส่งฟ้องศาล

             เมื่อได้ดำเนินไปแต่ละขั้นตอน ทีมสหวิชาชีพจะต้องจัดประชุมกันเพื่อประเมินการทำงาน  และการประเมินเด็ก และร่วมกันวางแผนในการช่วยเหลือเด็กในขั้นต่อไป

           การทำงานแต่ละฝ่ายต้องยอมรับบทบาทของแต่ละวิชาชีพ ซึ่งกันและกัน หาแนวทางในการทำงานร่วมกัน เพื่อประโยชน์สุงสุด ของผู้เสียหาย ที่ตกเป็นเหยื่อ คือเด็ก

            การได้บอกเล่าประสบการณ์ การทำงานช่วยเหลือเด็ก ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  เกิดแนวทางในการทำงานที่ชัดเจน  และกระบวนการให้คำปรึกษา  จึงเป็นกระบวนการหนึ่ง เพื่อที่เติมเต็มในการทำงานของทีมให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  เพียงเพราะเรามีใจในการทำงานร่วมกัน 

หมายเลขบันทึก: 80315เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2007 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ผมก็เคยเปรยบ้างแล้วใช่ไหมครับว่า  การทำงานกับนิสิต  ก็ควรทำแบบสหวิชาชีพ
  • การดูแลนิสิตและเสริมสร้างพวกเขาก็ควรทำงานแบบมีส่วนร่วมทั้งงานจิตวิทยา, แนะแนว, กิจกรรม,  หรือแม้แต่วินัย...(ส่งต่อกันและกันอย่างมีระบบ.)รวมถึงการสร้างเครือข่ายในระดับจังหวัดด็เป็นเรื่องสำคัญ..
  • ผมเป็นกำลังใจให้นะครับ...
  • การมีบุคลากรเพียงคนเดียว ก็คงมิได้หมายถึงการขับเคลื่อนอย่างเดียวดาย กระมัง,
  • ปัจจุบันเป็นการริเริ่มที่ดี แล้วนะคุณพนัส  ของการทำงานร่วมกันในการพัฒนานิสิต กองกิจการนิสิต ของมมส.  ซึ่งได้มีการทำงานแบบหลากหลายแล้วนะ จะเห็นได้จากการพิจารณาของคณะกรรมการ  เพื่อที่จะให้ทุนแก่นิสิต อย่างน้อยต้องขอบคุณหัวหน้ากลุ่มงานกิจกรรม งานทุน ในการเชิญนักจิตวิทยาข้าไปร่วมพิจารณาทุนทุกครั้ง เพื่อที่จะได้มิติมุมมองที่หลากหลาย
  • คงจะต้องขับเคลื่อนงานไปด้วยกันอย่างต่อเนื่อง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท