ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

เกษตรประณีต...ฤาจะพอเพียง ..ตอนที่ 3


เกษตรกรรมแบบประณีตเป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคนสู่ความเป็นมืออาชีพ

เพื่อนผมฟังแล้วซึม หลังจากที่ผมได้เล่าถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมเกษตรกรรมไทยว่ามันได้ล่มสลายไปหมดแล้ว เพราะทุนต่างๆ มันถูกทำลายโดยกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่านักวิชาการ ซึ่งไปทำลายอย่างสิ้นเชิง ไม่เหลือไว้ซึ่งเชิงตะกอน ไม่ว่าจะเป็นทุนความรู้ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสิ่งแวดล้อม หรือระบบนิเวศน์ และทุนทางเศรษฐกิจ จากสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยประการทั้งปวง จึงเรียกว่าเรียกว่า "การพัฒนาแบบล่มสลาย"

เพื่อนผมผงกหัวอีกรอบ เสมือนว่าเขาเริ่มสำนึกผิดจากการที่เขาได้กระทำมาทั้งหมด แล้วเขาก็ชี้มาที่ผมแล้วเปล่งเสียงออกมาอย่างแรงว่า "แล้วนายด้วยใช่ไหม" ซึ่งเขาหาว่าผมเป็นคนร่วมขบวนการด้วย สุดท้ายผมก็ต้องยอมรับด้วยดี แต่ก็มีข้อแก้ตัวนิดๆ ครับว่า เออ....ใช่ก็ใช่ แต่ว่า....อยู่ปลายๆ แถวนะ

แล้วเพื่อนผมก็ถามต่อว่าชุดความรู้หายไปได้อย่างไร ? ก็แน่นอนสินะ...เมื่อนักวิชาการทั้งหลายไปร่ำเรียนมาจากเมืองนอกรวมทั้งอาจารย์ของเราด้วย (ต้องกราบขอโทษอาจารย์นะครับเพราะอาจารย์ก็รับจากอาจารย์ของอาจารย์มาอีกทีหนึ่ง) ก็รับเอาวิชาการเขามา รับเอาวัฒนธรรมเขามาแล้วนำไปถ่ายทอดให้พี่น้องเกษตรกรทำ มิหนำซ้ำกลัวเขาไม่ทำตาม กลัวว่าจะไม่ได้ผลงานก็ทุ่มเงินงบประมาณ หรือปัจจัยการผลิตอื่นๆ ลงไป แถมบอกว่าสิ่งที่ชาวบ้านทำอยู่นั้นมันไม่ดี บ้างก็บอกว่าให้ผลผลิตน้อยบ้าง

เมื่อนานเข้า นานเข้าวิถีชีวิตต้องเปลี่ยนไป หรือความรู้เดิมที่เคยทำมาเลยต้องถูกกลืนโดยเทคนิคสมัยใหม่ จนกระทั่งไม่หลงเหลือร่องลอยเดิมจนกระทั่งทุกวันนี้ ซึ่งมันสายไปเสียแล้วที่จะแก้ไข

อะไรบ้างที่ถูกกลืน เป็นคำถามย้ำเตือนเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าตนเองจะได้หาแนวทางในการไถ่บาปทีได้หาแนวทางช่วยเหลือชาวบ้านอย่างแท้จริง จะไปยากอะไรล่ะ ให้เรานึกในเรื่องใกล้ตัวเช่นการจัดการเรื่องดิน ที่ผ่านมาเกษตรกรพึ่งตนเองในการปรับปรุงบำรุงดินโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี แต่พอมาตอนนี้ ไม่ใส่ปุ๋ยบอกว่าจะไม่ได้ผลผลิต การใช้สารเคมี การจัดการเรื่องน้ำ แสง ซึ่งเมื่อก่อนชาวบ้านรู้ว่าจะปลูกอะไร คู่กับอะไรเพื่อเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน แต่ตอนนี้หมดแล้วใช่ไหมครับ

ดังนั้น ...เพื่อเป็นการไถ่บาป ก็คงไม่สายเกินไปใช่ไหมครับในการที่จะหันมาศึกษาในเรื่องของการจัดการความรู้ในการทำเกษตรกรรมแบบประณีตเพื่อให้ได้ชุดความรู้ใหม่ที่สามารถตอบคำถามในการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

ขอบคุณครับ

อุทัย อันพิมพ์

23 ก.พ.50

หมายเลขบันทึก: 80243เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2007 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คิดว่าจะจบออกแขกตอนไหนครับเนี่ย

การศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ ถ้าไม่ได้มาจาก real need ของชุมชนก็ยากที่จะประสบความสำเร็จครับ...น่าจะให้ความสำคัญกับการค้นหา real need...ในยุคกระแสทุนนิยมที่มาแรง แม้กระทั่งชาวบ้านยังมองตัวเองไม่ออก...แต่มีตัวอย่างปราชญ์ชาวบ้านหลายท่านที่รู้เท่าทันกระแสทุนนิยม...และดูตัวเองออก...บอกตัวเองได้...ได้หันกลับมาพึ่งตนเอง...โดยการทำเกษตรปราณีต...เกษตรทฤษฎีใหม่...เกษตรผสมผสาน...วนเกษตร...ฯลฯ...และประสบความสำเร็จกลายเป็นแหล่งเรียนรู้...ระดับประเทศ...ผมคิดว่า...วิชาการจะจำเป็นก็ต่อเมื่อสังคม ชุมชนหรือชาวบ้านต้องการ...ถ้าวิชาการไม่ได้มาจากปัญหา ความต้องการ หรือความจำเป็นของชุมชน...ก็คงจะเป็นวิชาการตามความสนใจของนักวิชาการเอง...ซึ่งก็จะกลับมาสู่วงจรเดิมอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นชุมชนในระยะยาว

เราต้องเร่งฟื้นฟูชุดความรู้ใหม่ให้ได้นะคะ

  • ตามมาอ่านอีก
  • รอดูผลงานชุดความรู้ความรู้ครับผม
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท