จิตตปัญญาเวชศึกษา 3: การเรียนแพทย์ด้วยใจที่ใคร่ครวญ


ถ้าในทุกๆกิจกรรม เรามีวัตถุประสงค์ในนักศึกษา เห็นคุณค่าของตนเอง จากการร่วมกิจกรรมนั้นๆ (self searching) ได้สะท้อนตนเองว่ากำลังรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร มีชีวิตชีวา ณ ขณะนั้น (experiencing) และสุดท้ายเชื่อมโยงกับสังคมว่า สิ่งที่ทำนั้นมีผลกระทบอย่างไรต่อตนเอง ครอบครัว คนรอบข้าง และสังคม (interconnectedness)

เป็นตอนที่สาม ต่อจาก จิตตปัญญาเวชศึกษา และ จิตตปัญญาเวชศึกษา และการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ครับ

จิตตปัญญาเวชศึกษา การเรียนแพทย์ด้วยใจที่ใคร่ครวญ

ได้พูดถึงแผนที่ วิธี การเรียนแพทยศาสตรศึกษาในเชิงจิตตปัญญาศึกษาไปพอสมควร บทความนี้จะขอลงเรื่องที่สำคัญที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง ที่จะเป็น กระดูกสันหลัง (หรือเป็น ประทีปนำทาง มากกว่า) ของการเรียนรู้ด้วยใจที่ใคร่ครวญ คือ สภาพจิตแห่งการเรียนรู้

Self searching / experiencing / interconnectedness อย่างที่กล่าวมานั้น เป็น "วิธี" แต่ลำพังวิธีอย่างเดียว ไม่ได้สาวเส้นป่านไปถึงไหน ก็เหมือนพายเรืออยู่ในอ่าง ตลอดเวลาของการมีชีวิตนั้น ถ้าเรามีตระหนักรู้ (awareness) ของสิ่งที่เราเป็น อยู่ คือ ณ ขณะนี้ว่า เพราะเรามีชีวิต และเพราะเราอยู่ในสังคม จึงเป็นการพายเรือด้วยมีแผนที่ มีการสังเกตไม่เรื่อยเปื่อย ตื่นเต้นแต่สงบ จากวินาทีหนึ่งไปสู่อีกวินาทีหนึ่งนั้นมี cause effect มี genesis มี results

ตอนเรียนแพทย์คือตอนไหน?

เอาหลักการที่ว่านี้ไปใช้ตอนไหน วิชาไหน  block ไหนดี? หรือว่าใส่เป็นกิจกรรมนักศึกษา หรือว่าแทรกไปตาม block ต่างๆสักสองสามชั่วโมงดี?

เราใช้กระดูกสันหลังตอนไหน และเราใช้ประทีปตอนไหนล่ะครับ?

ก็นำมาใช้ตอนนั้น

การเรียนรู้ขณะที่ใจใคร่ครวญนั้น เป็นจิตที่เปิดกว้าง รับได้หมด รับได้ทุกอย่าง ไม่ตัดสิน รับรู้และเรียนรู้ด้วยจิตใจแบบเด็กทารกที่ตื่นรู้ แต่เสริมด้วยพลังความคิดของผู้ใหญ่ที่สามารถสานประสบการณ์ การที่เราต้อง เปิดกว้าง ขนาดนั้น เพราะเรากำลังศึกษาเรื่องของ ชีวิต อยู่ ซึ่งชีวิตนั้น ไม่ได้มีอยู่ form เดียว แต่เป็น complex life-form

นักศึกษาพึงทำความเข้าใจในหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนจบ ดีที่สุดคือภายในอาทิตย์แรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย ผมนึกถึงการจัด workshop ปฐมนิเทศสักอาทิตย์ ที่มีรับน้อง มีการแนะนำ campus มีการแนะนำอาจารย์ แนะนำสถาบัน และแนะนำปรัชญาของวิชาที่เข้ามาเรียนกัน เป็นช่วงที่มีค่า มีความหมาย มีความ ศักดิ์สิทธิ์ ในตัวมันเอง (น่าเสียดายที่บางที่ใช้เวลาที่น้องใหม่กำลังอยู่ในสภาวะที่ จิตเปิดรับ เช่นนี้ ไปปลูกฝังเรื่องลามกจกเปรตแทน) ถ้าในทุกๆกิจกรรม เรามีวัตถุประสงค์ในนักศึกษา เห็นคุณค่าของตนเอง จากการร่วมกิจกรรมนั้นๆ (self searching) ได้สะท้อนตนเองว่ากำลังรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร มีชีวิตชีวา ณ ขณะนั้น (experiencing) และสุดท้ายเชื่อมโยงกับสังคมว่า สิ่งที่ทำนั้นมีผลกระทบอย่างไรต่อตนเอง ครอบครัว คนรอบข้าง และสังคม (interconnectedness) ไม่ใช่ให้เกิดแบบ random นะครับ แต่ต้องจัดให้เกิด 3 อย่างนี้ให้มากที่สุด หรือทุกๆครั้งไป

วิธีที่สำคัญที่จะช่วยวัตถุประสงค์ทั้งสามประการคือ

  • การเรียนที่มีอิสระ ผ่อนคลาย ปราศจากความกลัว กังวล
  • มีเวลาสะท้อนบทเรียน
  • facilitator ที่รู้จักฉวยโอกาส ใส่ catalyst ของความคิด การรับรู้
  • ใช้ประสบการณ์จริงๆมาเรียน รวมทั้งประสบการณ์อดีตของแต่ละคนในกลุ่ม มา share มาแปลความหมายซึ่งกันและกัน
  • ดึงเอา humanistic aspect ออกมาให้สะท้อนให้มากที่สุด เช่น เรื่องราวของผู้ป่วย เรื่องราวของญาติผู้ป่วย

ยกตัวอย่าง

Clinical Immersion ที่นักศึกษาแพทย์ออกไปอยู่ รพ.อำเภอเป็นเวลาสามอาทิตย์ กลุ่มละ 3-4 คน ให้มีการทำ dialogue กัน ทุกคืน หรือ ทุกอาทิตย์ แลกเปลี่ยนมุมมองของตนเอง เล่ามุมมองของคนไข้ ของประชาชน ที่ได้จากการสัมภาษณ์ตรง (ไม่ใช่คิดเอาเอง) มุมมองของหมอ ของพยาบาล สรุปเป็น collective consicousness หรือ perception ของชุมชน

การเรียนวิชา Social Sciences ให้มีการอภิปรายเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ การเมือง หาความเชื่อมโยง เหตุผล และการรับรู้

การเรียนวิชา Ethics ชนิดต่อเนื่อง ใช้ scenario หรือ เหตุการณ์บ้านเมือง เป็นหัวข้ออภิปรายทุกๆอาทิตย์ อาจจะเป็นกลุ่มเล็กๆ ไม่ต้องมาก หรืออาจจะมี session ของชั้นปี เดือนละครั้ง หรือสองเดือนครั้ง

Psychosocial conferences สำหรับชั้นคลินิก ผลกระทบเชิง psychosocial จากความเจ็บป่วยต่อตัวคนไข้ ต่อครอบครัว ต่อผู้ดูแล ต่อสังคม และต่อชุมชน ร่วมกับวิชาชีพอื่นๆในระบบสุขภาพ เช่น ร่วมกับพยาบาล นักสิทธิประโยชน์ อาสาสมัคร เป็นต้น

กิจกรรม bedside เช่น การราวน์ ward หรือ case discussion เพิ่มมิติอื่นๆนอกเหนือจาก bio aspects การฝึก communication ใน theme ต่างๆ เช่น breaking the bad news, telling the truth

กิจกรรมร่วมทำงาน ร่วมสังสรรค์ ทำความเข้าใจ และสร้างความเป็นทีมกับบุคลากรสุขภาพสาขาอื่นๆ ได้แก่ พยาบาล ทันตะ เภสัช นักโภชนากร

การที่นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมการเรียนรู้ เข้ากับคุณค่าที่ตนเองได้ตั้งเป้าหมายไว้ตลอดเวลานั้น เป็นการสร้างเสริมฉันทาคติในการคิด การพูด การแสดงออก การทำงาน การที่เชื่อมโยงคุณค่าเข้ากับการรับรู้ของคนอื่น การรับรู้ของสังคมนั้น เป็น direct mechanism ไปสู่การเกิดจริยธรรม เพราะจริยศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มีขึ้นเพราะการที่มนุษย์อยู่กับคนอื่น อยู่กับสังคม (ถ้ามีเราอยู่คนเดียว ก็ไม่ต้องมีจริยศาสตร์)

จากการที่พยายามเชื่อมโยง นักศึกษาควรจะมี self-directed learning ไปหา extra-curriculum ที่จะเสริมความรู้ ความเข้าใจ ความ appreciation of LIFE ให้มากขึ้น เพื่อความต่อเนื่อง ดังนั้น selective and elective activities ก็จะมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า main curriculum ในแง่การเกิด sustainability ที่จะมีการ boost ตลอดเวลา วิชาเลือกเช่น Art Appreciation, History, Religious Comparison, Social sciences, Bioethics, Philosophy, Politics, etc ล้วนแล้วแต่สามารถ เติมมิติให้เต็ม ให้รอบด้าน มากยิ่งขึ้น การมีวิชาเลือกเป็นความจำเป็น เพราะเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ "ใครๆเขาสนใจกัน" การเป็นแพทย์ และเป็นคนด้วยนั้น ตามหลักที่สมเด็จพระราชบิดาทรงมีพระบรมราโชวาทไว้นั้น จะต่องเป็นคนที่เต็ม เป็นคนที่รอบด้านด้วย น่าจะเป็นวิชา บังคับเลือก อะไรทำนองนี้

ดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นเยอะ จะมีเวลาพอเรียนหรือ? เราอาจจะต้องมีการปรับการเรียน และจัด ลำดับความสำคัญ ของหลักสูตรใหม่ ว่าอะไรสำคัญมากน้อย อะไรที่ใช้ "เวลา" อะไรที่เรากำลัง waste time (ไม่ใช่เพราะไม่มีประโยชน์ แต่ได้ประโยชน์น้อยกว่าเวลาที่ใช้ไป) เพราะเรามีเวลาไม่มาก และต้องการใช้อย่าง most effective ทั้งด้านเวลา resource management, staff management ทุกอย่าง

หมายเลขบันทึก: 80215เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2007 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

การเรียนด้วยใจที่ใคร่ครวญนั้น เป็นอย่างไร และทำไปทำไม?

การเรียนรู้แต่เพียง ผิวเผิน ที่เรายังไม่เกิดอารมณ์ร่วม ยังไม่เห็นคุณค่านั้น ความรู้ยังเกาะอยู่แค่เปลือกของการเรียนรู้เท่านั้น หลักการของจิตตปัญญาศึกษานั้น สิ่งที่เราเรียน เราเรียนเพราะเป็นสิ่งที่มี ความหมาย มีความหมายต่อตัวเรา ครอบครัว และสังคมที่เราอยู่ สิ่งที่เราเรียนจึงจะถูกจัดแจงโดยสมองให้ พร้อมที่จะนำมาใช้ พร้อมที่จะนำมาบูรณาการ กับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในภายหลัง

สิ่งจำเป้นที่จะนำมาใคร่ครวญประกอบก็คือ ประสบการณ์เก่า ของเราในเรื่องนั้นๆครับ ถ้าเราเรียนเรื่อง myocardial infarction (กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด) เฉยๆ ตอนแรกยังไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าเราเอา บริบท ใส่เข้าไป เช่น คุณพ่อเคยบ่นๆเจ็บหน้าอก คุณแม่เคยบ่นๆเหนื่อยเวลาทำงาน องค์ความรู้เบื้องหน้าพอใส่บริบท ใส่ ความหมาย จากที่เป็นแค่ "บทเรียนบทหนึ่ง" กลายเป็นเรื่องราวที่ meaningful และทำให้น่าสนใจ เป็นเพราะสมองเปิดส่วน alpha และล้วงไปถึง theta เอาความสัมพันธ์ ความผูกพันของตนเอง ของครอบครัว และของสังคม เข้ามาเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่เรียนนั้นเอง

ที่เคยเล่าให้หลายๆคนฟัง ครั้งหนึ่งพา extern ไปราวน์ข้างเตียงคนไข้ ถามไปถามมา ตอนนหนึ่งเราก็ถามคนไข้ว่าจำหมอคนนี้ได้ไหม (ปกติ อาจารย์จะเรียนนักเรียนแพทย์ว่าหมอครับ) ชี้ไปที่ extern คนไข้ก็ยิ้มบอกจำได้ค่ะ เราสังเกตเห็น mood คนไข้ ก็เลยถามต่อ เป็นยังไงบ้างครับ คุณหมอเขามาทำอะไรให้บ้าง คนไข้ก้บอกเลยว่า สองอาทิตย์นี้ คุณหมอหนุ่มนี่แหละมาทำแผลแต่เช้าทุกวัน มือนุ้มนุ่ม พอป้าสะดุ้งเพราะเจ็บ คุณหมอก็จะหยุดถามว่าเจ็บเหรอ เดี๋ยวจะทำค่อยๆนะจ๊ะป้า แป๊บเดียว ไม่เคยเจอหมอคนไหนเมตตากรุณาขนาดนี้เลย ถ้ามีลูกสาวจะยกให้แล้ว น้อง extern เจอเข้าไปหลายดอกเต็มๆ ก็น่าแดง ยิ้มน้อย ยิ้มใหญ่ น่าเสียดายที่จะลงกองซะแล้ว ทำแผลมาตั้งสองอาทิตย์ พึ่งรู้ว่าคนไข้ชื่นชมตนเองขนาดไหน

ก็เป็นที่น่าสนใจว่า เอ... นักเรียนเราเรียนหมอไปทุกวันๆนี่ เขารู้สึกว่า ได้อะไรตอนไหนกันหนอ เขาเคยรู้สึกว่าได้ตอนที่คนไข้ได้หรือไม่? รู้ไหมว่างานที่บ่นๆกันว่าหนัก ทุกครั้งที่หมอมาทำหัตถการที่ routineๆ นั้น คนไข้เขารู้สึกซาบซึ้งผูกพันกับงาน routine ของเราขนาดไหน

การเรียนด้วยใจที่ใคร่ครวญ จะทำให้จิตเราเปิด จิตเรารับรู้ และเชื่อมโยง เมื่อคุณค่าของจิตวิญญาณแห่งวิชาชีพ สามารถจะรับรู้ได้ทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น บางทีเราอาจจะไม่ต้องสอนจริยศาสตร์กันเลยก้ได้ เพราะมี class ที่เป็น reality-based (ดีกว่า context-based อีกขั้นนึง) อยู่เต็มไปหมดแล้ว

โห อาจารย์คะ สุดยอดๆๆ  มาให้กำลังใจอาจารย์นะคะ  ดีจังค่ะ ถ้าเรียนแบบนี้เหมือนใกล้ชิดกับคนไข้มากเลยค่ะ
ข้อสำคัญคือ ไม่เพียงเฉพาะนักเรียนแพทย์ที่จะทำแล้วได้ประโยชน์นะครับ ผมคิดว่าทุกๆอาชีพถ้าเราทำอะไรด้วยใจที่ใคร่ครวญตลอดเวลา มองเห็น self-study, experiencing และ interconnectedness จริยธรรมก็จะก่อกำเนิดโดยตัวของมันเอง ไม่ต้องมีวิชานี้แยกออกมา เพระผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกๆวิชา ทุกๆเหตุผล ที่เราต่าง "มี" หรือ "คงอยู่" เพียงเพราะ 1) เรามีชีวิต และ 2) เราอยู่เป็นสังคม ดังนั้นทุกๆอาชีพ ถ้าทำเพราะเราเป็นคนมีเลือดเนื้อมีจิตใจ และทำเพราะเราอยู่ในสังคม ก็จะหมดปัญหาการตีความกฏหมาย ตึความจริยธรรมให้เมื่อยตุ้มไปเอง

I want doctorมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

อยากเป็นหมอมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆทำยังไงถึงจะได้เป็นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท