วิธีอ่าน blog ที่ผมเขียน ( 3 )


ต้องปรับตัวให้พูดกับชาวบ้านรู้เรื่อง ไม่งั้นคงไม่ได้รับความร่วมมือ ใครจะร่วมมือล่ะครับ พูดกันยังไม่รู้เรื่องเลย ญี่ปุ่นเจริญและประสบความสำเร็จเพราะเขาทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย แต่พวกเราถนัดในการทำเรื่องง่ายๆให้เป็นเรื่องยาก

        

          ตอนเป็นหมอ (ตอนนี้เป็นรองนายกเทศมนตรี) โดยเฉพาะตอนอยู่โรงเรียนแพทย์  ก็จะคุ้นกับการพูดภาษาไทยปนอังกฤษ (โดยเฉพาะศัพท์เทคนิค) เวลาคุยกับชาวบ้านก็จะคุยไม่ค่อยรู้เรื่อง (คนละเรื่องกับพูดไม่เข้าหูคนนะครับ)

          พอมาทำงานที่เทศบาลนครพิษณุโลก  ต้องพาพนักงานเทศบาลออกทำงานร่วมกับประชาชน  ต้องปรับตัวให้พูดกับชาวบ้านรู้เรื่อง  ไม่งั้นคงไม่ได้รับความร่วมมือ  ใครจะร่วมมือล่ะครับ  พูดกันยังไม่รู้เรื่องเลย 
          คุณครูทางการบริหารสอนว่า  ที่ญี่ปุ่นเจริญและประสบความสำเร็จเพราะเขาทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย  เรื่องที่ซับซ้อนทำให้เป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเข้าใจได้โดยง่าย  แต่พวกเราถนัดในการทำเรื่องง่ายๆให้เป็นเรื่องยาก  เรื่องธรรมดาๆ  เวลาออกมาทำความเข้าใจกับประชาชน  ยิ่งสับสนกันไปใหญ่ 
          เคยมีประสบการณ์ร่วมในการทำแผนของหลายหน่วยงาน  วิทยากรมีความรู้ดี  ผ่านการอบรมเป็นวิทยากรในการทำแผนมาอย่างดี  พอมาทำจริงกับชาวบ้าน  ก็จะมาบรรยายละเอียดเหมือนกับจะให้ชาวบ้านหรือประชาคมไปเป็นวิทยากรได้  นั่งอธิบายและเถียงกันเรื่องคำนิยามของศัพท์ที่ใช้  เช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ  วัตถุประสงค์ เป้าประสงค์  ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์.......   เสียเวลาไปมาก  เหลือเวลาระดมสมองน้อยมาก  ไม่มีเวลาได้นำเสนอ  อภิปรายแสดงความคิดเห็น  แล้วก็ได้แผนที่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์  ดูเสมือนหนึ่งประชาชนมีส่วนร่วม
          ในการอบรมสัมนา เรื่องการป้องกันไข้เลือดออก  หรือการจัดการขยะมูลฝอย  ต้องการให้ชาวบ้านเข้าใจและมีส่วนร่วมในการทำงาน  วิทยากรทุกท่านมีความรู้ความสามารถดี  สอนปริญญาโท  ปริญญาเอกได้สบายๆ  แต่พอจบการอบรมสัมนาแล้ว  ทำไมประชาชนไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ  อาจเป็นเพราะพูดกันไม่รู้เรื่อง  วิทยากรพูดในเรื่องที่ชาวบ้านไม่อยากฟัง  ไม่อยากรู้  เรื่องที่ชาวบ้านควรรู้และปฏิบัติก็พูดน้อยหรือไม่ได้พูด

           blog ที่เขียนจะเขียนให้ชาวบ้านอ่านรู้เรื่อง  ไม่แน่ใจตรงกับที่อยากอ่านกันหรือเปล่า  แต่ที่แน่ๆ ตรงกับที่อยากเขียน  ค้องการให้เกิดการเรียนรู้  มีการเปลี่ยนแปลงทางความคิด  พฤติกรรม  สามารถนำไปปฏิบัติ  เกิดการพัฒนา  ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมก็หาอ่านเอาเอง

หมายเลขบันทึก: 80147เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2007 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาอ่านอีกครับ
  • เข้าใจแนวเขียนมากขึ้นครับ
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ที่ว่า "นักวิชาการบ้านเรา ชอบทำเรื่องง่าย ให้เป็นเรื่องยากครับ"
"นักวิชาการบ้านเรา ชอบทำเรื่องง่าย ให้เป็นเรื่องยากครับ"  อาจารย์ beeman ว่าเองนะครับ  ที่เขียนเขียนว่าพวกเราครับ  เดี๋ยว blog จะร้อนต้องย้ายบ้าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท