ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

เกษตรประณีต...ฤาจะพอเพียง ..ตอนที่ 2


เกษตรกรรมแบบประณีตเป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคนสู่ความเป็นมืออาชีพ

แล้วทำไมต้องมาจัดการความรู้เรื่องเกษตรประณีตล่ะ  "เป็นคำถามของเพื่อนที่ถามผมต่อจากเมื่อวานครับ" ก่อนที่จะตอบตรงนี้ผมต้องจ้องหน้าเพื่อน แล้วย้อนถามเพื่อนว่า เอ้า?...ในฐานะที่นายเรียนเกษตรมาใช้เวลาร่วม 7 ปี ถามว่า? มีชุดความรู้ด้านการเกษตรที่จะสามารถทำแล้วเลี้ยงครอบครัวให้อยู่ได้อย่างมีความสุขเหมือนกับเกษตรกรที่ไม่ได้เรียนหนังสือเหมือนอย่างพวกเราไหม? สุดท้ายเพื่อนผมก็อ้ำๆ อึ้งๆ หน้าแดงเหมือนจะโมโหเชียว... 

ผมเห็นท่าไม่ดีก็เลยไม่ทนรอเอาคำตอบ  ก็เลยบอกกับเพื่อนเพื่อความสบายใจว่า เอาหละคงไม่คาดคั้นอะไรมาก สาเหตุที่ต้องมาจัดการความรู้เรื่องเกษตรกรรมแบบประณีตนี้ เพื่อเป็นการย้อนกลับมาทบทวน มาเรียน ในสิ่งที่บรรพบุรุษของเราเคยประกอบอาชีพ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ในครั้งก่อนนั่นแสดงให้เห็นว่าครั้งก่อนนั้นพี่น้องเกษตรกรมีชุดความรู้ในการที่จะพึ่งพาตนเองได้ (ในยุคสมัยนั้น)  แต่มาตอนนี้หลังจากที่ได้มีการพัฒนาอาชีพการเกษตรมาเกือบ 50 ปี ก็ยิ่งพบว่ายิ่งพัฒนายิ่งทำให้พี่น้องเกษตรกรมีปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้าน

1. ทุนแห่งภูมิรู้ (ชุดของความรู้ ) คือชุดของความรู้ด้านต่างๆ ของการผลิตแบบพึ่งตนเองหายหมด เหลือแต่ทุนพึ่งคนอื่นเข้ามาแทนที่

2. ทุนทางสังคม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่หายไปไหน เป็นสังคมที่เห็นแก่ตัวเข้ามาครอบงำ (Dominate) ไม่มีกัลยาณมิตรต่อกันในสังคมปัจจุบัน สังคมจึงอ่อนแอ นั่นใช่เหตุที่มาจากการพัฒนาหรือไม่

3. ทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมประเพณี เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม เมื่อสังคมอ่อนแอแน่นอนครับ วัฒนธรรมย่อมจะล่มสลาย

4. ทุนทางสิ่งแวดล้อม หรือระบบนิเวศน์  การผลิตที่เน้นในเรื่องของเงิน เป้นที่ตั้งจึงทำให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งเห็นผลได้ชัดเจนในเรื่องของฤดูกาลที่เปลี่ยนไป และแม้กระทั่งการแล้ง เป็นความแห้งแล้งที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ท่านเคยสังเกตไหมครับว่าการแล้งเมื่อประมาณ 10 ปีก่อนภาวะการแล้งไม่เหือดแห้งเหมือนทุกวันนี้  เมื่อก่อนครั้นในตอนเช้าตรู่ยังพอมีไอหมอก หรือน้ำค้างอยู่บ้าง ครั้นแต่บัดนี้ไซร้มีแต่ความแห้งแล้งที่ไม่เคยมีร่องรอยของความชื้นหลงเหลืออยู่เลย

5. ทุนทางเศรษฐกิจ จากสิ่งที่เกิดขึ้นพี่น้องเกษตรกรไม่สามารถจะยืนหยัดในอาชีพของตนได้ จึงต้องอพยพไปหาอาชีพอื่นทำ มิหนำซ้ำยังมีภาวะหนี้สินมากมาย และส่งผลกระทบต่อภาวะของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

นี่แหละครับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับสังคมเกษตรกรรมไทย  เพื่อนผมเริ่มผงกหัวตอบรับอย่างช้าๆ เพราะที่เรียนมานั้นดีแต่บอกคนอื่นให้ทำ แต่ตัวเองไม่เคยทำอย่างจริงจังและไม่ประสบผลสำเร็จเสียที สุดท้ายผลกรรมจึงต้องตกอยู่ที่พี่น้องเกษตรกรซึ่งตกอยู่ภายใต้ภาวะ "เชื่อคนง่าย จึงจน แล้วเจ็บใจ" 

จากปรากฏการณ์ที่เห็นสภาพการเกิดของสังคมไทย จึงเป็นแนวคิดของผมว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเร่งฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรรมให้สามารถเป็นอาชีพที่ยืนหยัดได้ของพี่น้องเกษตรกร โดยเรามาเริ่มต้นเรียนรู้ ฟื้นฟู ฟูมฟัก จากจุดเล็กๆ ก่อน ครั้นเมื่อมีความมั่นใจ จึงขยายผลเพื่อให้เกิดความพอเพียงต่อไป

 ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

22 กุมภาพันธ์ 2550

หมายเลขบันทึก: 80141เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2007 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 08:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียนท่านอาจารย์อุทัย

 ดูจาก VCD ที่อาจารย์หมออภิสิทธิ์ ฉาย เรื่องเกษตรปราณีต และ ไปเยี่ยมที่บ้าน พ่อใหญ่ มาร์ติน บ้านคำปลาหลาย ก็เห็นว่าอยู่ได้เนาะ

ขอบคุณสำหรับการออกแขกโหมโรงอีกครั้งหนึ่ง (แซว)
  • ตามมาอ่าน
  • ชอบทุนทางสังคมและวัฒนธรรม
  • อยากให้เกษตรกรทำจุดเล็กๆๆแล้วขยายไปจุดใหญ่ๆๆครับ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ JJ อาจารย์ดร.แสวง และท่านอาจารย์ขจิต มากครับ

  • เกษตรกรรมแบบประณีตนั้นเริ่มต้นจากการสะท้อนปัญหาของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน แล้วร่วมแรงประสานอย่างอบอุ่นจากท่านหมออภิสิทธิ์ เพื่อร่วมกันหาทางออก ในการที่จะแก้ปัญหาของตนเองและสร้างชุดความรู้ให้เกิดขึ้นกับตนเองและเครือข่าย สำหรับการขยาออกไปในวงกว้าง
  • แต่จากผลการดำเนินการที่ผ่านมา (จากการศึกษาเอกสาร สัมผัสด้วยตนเอง) พบคิดว่าว่าน่าจะยังต้องจัดกระบวนการในการจัดการความรู้อีกหลายประเด็น จึงจะสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้
  • เพื่อหาช่องทางในการขยายผล ผมจึงต้องทำการศึกษาอย่างเข้มข้น แต่อย่างไรก็ตามคงต้องรบกวนท่านผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยผลักดัน อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาอาชีพการเกษตรให้ยั่งยืนอย่างแท้จริง

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

 

ผมลืมบอกไปว่าถ้า Notebook ทำงานช้ากว่าสมองและความคิดของเราก็เก็บใส่กระเป๋าไว้ซะ แล้วมาสื่อสารกันทางอื่นดีกว่า

ผมกำลังจะพูดว่า ให้ดูตัวเองให้ออกก่อนบ่น ว่าขีดจำกัดของงานอยู่ที่ไหน ก็แก้ตรงนั้น แก้ตรงอื่นได้ผลน้อย หรือไม่ได้เลยครับ

ตามหลัก Law of limiting factor ครับ

คงไม่ต้องท้าวความลึกกว่านี้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท