เทคนิคการแพทย์
เทคนิคการแพทย์ สถาบันบำราศนราดูร

การผจญภัยของเลือดHIV-positive_1(การขนส่ง)


ใครจะรู้บ้างว่า ความผิดพลาดที่เกิดช่วงก่อนการตรวจ เกิดได้ถึงร้อยละ 46-68

 เรื่องราวการเดินทางของหลอดเลือดหลอดน้อยๆ ที่บรรจุเชื้อไวรัส HIV ที่เดินทางไกลข้ามจังหวัดโดยญาติของผู้ป่วย ชื่อเรื่องอาจจะดูเหมือนเป็นนิทานแนวผจญภัย แต่ทั้งหมดก็เป็นเรื่อง จริง! และได้สอดแทรกความรู้เล็กๆน้อยที่ใช้ได้ จริง!!!

ตอนที่ 1   เจาะเลือดตอนไหนกันแน่ !?!” 

     

       กาลครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ หลัง

 วันแห่งความรักY  ของปีพ.ศ. 2550 ผ่านไปได้สองวัน     

ณ ห้องรับสิ่งส่งตรวจ กลุ่มงานเทคนิคฯ ประมาณ 9.00 น.  

      ได้ปรากฏญาติของผู้ป่วยที่เดินทางมาจากโรงพยาบาลหนึ่งในเมือง ดอกบัว ยื่นใบส่งตรวจ CD4 และใบส่งตัว

      พร้อมกับมอบสิ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความประหลาดใจก็คือ ถุงซิปพลาสติกใสใบหนึ่ง ภายในมี หลอดเลือด แช่น้ำแข็งที่ตอนนี้ที่ละลายเป็นน้ำแล้ว  

      จึงรีบนำหลอดเลือดออก เพราะกลัวว่าชื่อสกุลของผู้ป่วยจะลบเลือนไป หลังจากซักถามญาติแล้วว่า ผู้ป่วยเป็นใคร?  มาจากโรงพยาบาลไหน? ตรวจอะไร?

จึงถามต่ออีกว่า

เลือดเจาะมาตั้งแต่เมื่อไหร่   

ญาติตอบว่า

เจาะเมื่อ 1 ชั่วโมงที่แล้ว หลังเจาะเสร็จแล้วก็รีบมาทันที

      งานภูมิคุ้มกันฯ ที่รับผิดชอบการตรวจนี้ ได้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล ตอนแรกเจ้าหน้าก็ไม่รู้ที่มาของเลือดหลอดนี้ จึงต้องสอบถามจากพยาบาล พบว่า ผู้ป่วยรายนี้ได้เจาะเลือดเพื่อตรวจ CD4 ตั้งแต่ ก่อนเที่ยงวันของเมื่อวาน  

     ตอนนี้รู้แล้วว่า เวลา ที่เจาะไม่ตรงกัน เลือดหลอดนี้น่าจะมี ปัญหา แน่นอน ต่อไปที่ต้องทำคือตัดสินใจว่าจะ แก้ ปัญหา อย่างไร  

      ถ้าดูจากข้อมูลทั้งสภาพหลอดเลือดที่แช่น้ำมา และเวลาที่เจาะไม่แน่นอน หนึ่งในสองเหตุผลนี้ก็เพียงพอที่จะ

ขอ ปฏิเสธเลือด หลอดนี้

   เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุณหภูมิการขนส่งเลือดในการตรวจ CD4 ซึ่ง ห้ามแช่เย็น ต้องอยู่ในอุณหภูมิห้องปรับอากาศ (18˚-22˚C ) และต้องตรวจ CBC ให้ทันภายใน 6 ชั่วโมงหลังเจาะ 

       ใครจะรู้บ้างว่า ได้มีผู้รายงานว่า ความผิดพลาดที่เกิดจากช่วงก่อนการตรวจ อาจเกิดได้ถึงร้อยละ 46-68  ซึ่งสาเหตุก็มีมากมาย อย่างเช่นกรณีนี้

     พราะว่าถ้าเริ่มต้น ผิด ต่อให้เทคนิคการตรวจที่ว่าดีเพียงใด หรือใช้เครื่องมือที่ราคาเป็นสิบๆล้าน ก็จะให้ผลการตรวจที่ ผิด และสุดท้ายก็จะให้การรักษาที่ ผิด

        แต่สิ่งที่สำคัญกว่าหรืออาจจะสำคัญที่สุดก็คือ จะ อธิบายกับญาติให้เข้าใจได้ยังไง  เพราะสิ่งนี้เองจึงทำให้ คุณศิริรัตน์ หัวหน้างานภูมิคุ้มกันฯ จะต้องพูดคุยกับญาติด้วยตนเอง.... 

            

................................................................................................................

อยากรู้กันแล้วใช่มั๊ยว่า เรื่อง เกิด ขึ้นได้อย่างไร   ทำไมเลือดถึง มาไกลได้ขนาดนี้ การ ผจญภัย ของหลอดเลือดจะเป็นอย่างไรยังมีเรื่องราวอีก มากมาย      

            ขอให้ท่านผู้อ่านโปรดติดตามตอนต่อไป 

บันทึกโดย .... Sunny .... เด็กใหม่ (5 วัน) ต.8/5

หมายเลขบันทึก: 80123เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2007 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • บันทึกสนุกดีครับ ขอตามอ่านนะครับ :>
ขอตามไปอ่านต่อด้วยคนค่ะ อิอิ
เพิ่งมีเวลาเข้ามาชม   รัตน์อย่าลืมให้น้องๆมาเล่าให้แฟนๆอ่านค่ะ

                             ขอบคุณมากค่ะ

ต่อไปคงมีเรื่องราวต่างๆ มาเล่าให้ฟังอีกมากมาย  

                                                  ช่วยติดตามด้วยนะคะ

                .... Sunny .... เด็กใหม่ (5 วัน) ต.8/5

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท